เส้นทางเศศรษฐีออนไลน์
ม.รังสิต เปิดโอกาสสู่อาชีพ แพทย์แผนไทย โดยไม่จำกัดอายุ-การศึกษา อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นวิสัยทัศน์ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันได้รับการสานต่อมาถึง ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีคนปัจจุบัน โดยนับตั้งแต่การเกิดโรคระบาดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ได้มีความชัดเจนมากว่าภูมิปัญญาของโลกตะวันออกได้มีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการพึ่งพาตัวเองด้วยสมุนไพรได้มาก โดยการแพทย์แผนตะวันออกที่ได้รับความสนใจและมีงานวิจัยที่พัฒนาเพิ่มขึ้นในเวทีโลกทั้งการแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวทอินเดีย โดยเฉพาะในประเทศไทย ทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้าน รวมถึงการพึ่งพาตัวเองของชาวบ้านด้วยสมุนไพรได้มีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลของ Euromonitor พบว่า การค้าปลีกผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 54,960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท) โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่าการค้าปลีกผลิตภัณฑ์สมุนไพรสูงที่สุด
“แกงกะหรี่” ไม่ใช่ “แกงโสเภณี” เป็นแค่คำพ้อง และมีที่มาคนละทิศละทางกัน ด้วยเหตุที่เป็นคำพ้อง พอพูดถึงแกงกะหรี่ คนไทยต้องพานไปคิดถึงคำว่า “กะหรี่” ที่เข้าใจกันดีว่าหมายถึง “โสเภณี” ทั้งๆ ที่ศัพท์สองคำนี้มีที่มาคนละทางกัน อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตเสนอไว้ “กะหรี่” แผลงมาจาก “ช็อกกะรี” ของภาษาฮินดี แผลงมาจาก “โฉกกฬี” (Chokari) อีกทีแปลว่าเด็กผู้หญิง ส่วนเด็กผู้ชายเรียกว่า “ช็อกกะรา” หรือ “โฉกกฬา” (Chokara) คนที่เคยไปอินเดียมาเขาบอกว่าศัพท์สองคำนี้มีนัยหมายถึงเด็กจรจัด ไทยเรารับคำอินเดียมาเยอะ คงจะเรียกเด็กผู้หญิงที่ทำอาชีพนี้ตามแขกว่า “ช็อกกะรี” ค่อยกร่อนคำตามนิสัยคนไทยเหลือสั้นๆว่า “กะรี” จนออกเสียงให้สะเด็ดเผ็ดมันขึ้นว่า “กะหรี่” ทีนี้มันดันไปพ้องกับคำว่า “กะหรี่” ที่ไทยถอดศัพท์มาจาก “Kari” ของแขกหมายถึง แกงเผ็ดทุกชนิดที่ใส่เครื่องเทศ เช่น ขมิ้น กระวาน อบเชย กานพลู ซึ่งอังกฤษครองเมืองแขกอยู่นานถึง 89 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1858-1947 เลยรับของแขกๆ ไปหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือคำเรียกแกงเผ็ด จากคำว่า Kari ฝรั่งออกเสียงเป็น เคอรี่ (Curry) ไทยเรา รับวัฒนธรรมการกินจากแขกมาเช่นกัน เครื่องแก