เหี้ย
แชร์-ไลก์ กันกระจาย สำหรับเพจ here 666 ที่เสนอขายหมอนข้างยาวเมตรกว่า รูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองไม่มีขา ที่เจ้าของสินค้าเรียกขานตัวเองว่า “หมอนเหี้ย” พร้อมตั้งสโลแกน “ ไม่เหี้ยจริงขายไม่ได้ หมอนเหี้ย เหี้ยแท้ๆไม่มีแย้ผสม” “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” สอบถามเรื่องนี้ไปยัง คุณซิน-สุพล คำใจ ชายหนุ่มวัย 32 ปี เจ้าของไอเดียผู้ผลิต “หมอนเหี้ย” ได้ความเริ่มต้นมาว่า “ทุกวันนี้ทำธุรกิจขายของออนไลน์ ร่วมกับเพื่อนๆพี่ๆ ตอนขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดกัน แฟนผมเขาเห็น คนอุ้ม ตุ๊กตาหมีออกมาจากร้าน เลยพูด อุ๊ย !ตุ๊กตาหมี น่ารักจัง พี่ซิน ซื้อให้หนูบ้าง ผมบอก เหรอจะเอาเหรอ จะเอาตัวอะไร แฟนบอก พี่ว่าตัวอะไรเหมาะกับหนูอ่ะ ซื้อให้หนูหน่อย ผมเลยบอก ตัวเหี้ยมั๊ย ตุ๊กตาตัวเหี้ยไง ก็เฮกันทั้งรถเลย”คุณซิน เล่าน้ำเสียงอารมณ์ดี หลังจากนั้นรุ่นพี่ ที่ทำธุรกิจด้วยกัน เกิดความคิดน่าจะลองผลิต ตุ๊กตารูปตัวเงินตัวทอง ออกมาขายดู ก่อนจะทำการสำรวจตลาดดูว่ามีใครทำขายแล้วบ้าง ปรากฏไม่พบแม้แต่เจ้าเดียว พวกเราเลยตัดสินใจเดินหน้าทำหมอนข้างรูปร่างดังว่านี้ออกมา เริ่มต้นจากการออกแบบลวดลายกราฟฟิกใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่พิมพ์ออกมาจากภาพถ่า
2-3 วันมานี้ เหี้ย ที่สวนลุมพินี นับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนให้ความสนใจ โดยมีความเห็นในเรื่องนี้ต่างๆ กันไป วันนี้ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ขอเกาะกระแสในเรื่องนี้ ในอีกแง่มุมหนึ่ง แม้ เหี้ย จะเป็นสัตว์ที่นำมาเลี้ยงไม่ได้ ครอบครองไม่ได้ เนื่องจากเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ปัจจุบัน ก็มีผู้ที่ขออนุญาตเลี้ยงเพื่อศึกษา ในเชิงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการค้า ในการนำหนัง ไปทำกระเป๋า และรองเท้า ดังเช่นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ถึงกระนั้น แม้จะมีผู้ที่ชื่นชอบสัตว์เลื้อยคลาน อย่างตะกวด เหี้ย แต่ไม่กล้านำมาเลี้ยง เพราะไม่รู้จะเลี้ยงยังไง อีกทั้งกลัวมันกัด วันนี้มีทางเลือกมากขึ้น ด้วยสัตว์นำเข้าตัวนี้ ทีมีชื่อว่า “เตกู” โดยมีผู้นำเข้าอย่างถูกต้อง ในลักษณะสัตว์ที่เรียกว่า “เอ็กซ์โซติกเพ็ท” เตกู เป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีถิ่นกำเนิดในทะเลทราย แถบอเมริกาใต้ มีทั้ง เตกูทอง เตกูแดง เตกูขาวดำ และบลูเตกู ปัจจุบันมีพ่อค้านำมาค้าขาย ทั้งที่ตลาดนัดจตุจักร และขายผ่านเว็บไซต์ ราคาตัวละ
นายวินันท์ วิระนะ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เปิดเผยถึงการเตรียมพื้นที่รองรับตัวเหี้ย ที่จะขนย้ายมาจากสวนลุมพินี กรุงเทพมหานครในวันที่ 21 กันยายน นี้ว่า ขณะนี้ที่สถานีฯ มีตัวเหี้ยจำนวน 197 ตัว จากของที่สวนลุมพินีนำมาชุดแรกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม จำนวน 55 ตัว ชุดที่ 2 วันที่ 17 สิงหาคม จำนวน 32 ตัว รวมจากของสวนลุมพินีจำนวน 87 ตัว ส่วนของเก่าเป็นของกลาง และเป็นของที่นำมาจาก จ.สมุทรสงครามและ จ.สมุทรสาคร ที่ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์นำมามอบให้ รวมทั้งหมดแล้วจำนวน 197 ตัว ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ที่ได้เลี้ยงไว้ ปลูกสร้างด้วยกำแพงปูนซีเมนต์ มีการต่อสังกะสี เพื่อเพิ่มความสูงป้องกันตัวเหี้ยปีนหนี ด้านในจะมีการสร้างบ่อน้ำปูนซีเมนต์เพื่อให้ตัวเหี้ยได้กินและอยู่อาศัยหลายจุด โดยตัวเหี้ยจะชอบอาศัยอยู่ในพงหญ้าใต้ต้นไม้ และขุดรูอยู่อาศัย ท่ามกลางพงษ์หญ้าและป่าไม้เบญจพรรณ สำหรับด้านความเป็นอยู่ในความเป็นจริงตัวเหี้ยจะมีความอดทนอยู่ได้ทุกสภาวะ เพราะว่าเคยเห็นบนเขา ตามแหล่งน้ำจะอาศัยอยู่ได้หมด แต่ส่วนเรื่องอาหารถ้ามาอยู่ตรงนี้จะมีอาหารในช่วงที่ปริมาณที่จำกัด เน