แก๊งคอลเซ็นเตอร์
เตือนภัยไซเบอร์! 4 กลโกงเหล่ามิจฉาชีพ เกี่ยวกับ บัตรเครดิต – รหัส OTP ปัจจุบัน ภัยคุกคามในภาคการเงิน เหล่ามิจฉาชีพเปลี่ยนบทสร้างสถานการณ์หลอกลวงให้เราตกเป็นเหยื่อมากมาย และถ้าหลวมตัวตกหลุมพรางของมิจฉาชีพ ความสูญเสียอาจไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เงินในบัญชีของเหยื่อ แต่อาจถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้สร้างบัญชีแฝง ซึ่งจะทำให้เหยื่อตกเป็นแพะรับบาปที่ยากต่อการจำกัดขอบเขตความเสียหายได้ เคทีซี ได้เผยกลโกงเกี่ยวกับบัตรเครดิต-รหัส OTP ที่เหล่ามิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ ไว้ดังนี้ 1. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ มีข้อมูลบัตรเครดิตของเหยื่อ : มักจะมาหลอกขอรหัส OTP เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ และอ้างการคืนเงินประกัน เป็นต้น 2. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิต แต่ใช้วิธีการ สุ่มโทรเข้ามา : โดยมักหลอกว่า ตรวจพบสิ่งของต้องสงสัย และโอนสายหลอกๆ เพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ / DSI / ปปง. ปลอมๆ ให้เหยื่อโอนเงินในบัญชี ไปตรวจสอบ เป็นต้น 3. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิต แต่ใช้วิธีการ แฝงตัวเข้ามาเป็นผู้ช่วยเหลือ : เช่น การหลอกจะคืนเงินหลังโอนเงินชำระค่าสินค้า แต่เหยื่อไม่ได้
รู้เท่าทัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์! เปิด 9 ลักษณะ ต้มตุ๋น ที่ มิจฉาชีพ มักโทรมาหลอก! ปัจจุบัน ธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์ มีแนวโน้มเติบโตรวดเร็ว โดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าและบริการบนอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมสูงต่อเนื่อง มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม 9.79% ต่อปี ในช่วงปี 2560-2564 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ทำให้เกิดเป็นช่องทางที่ มิจฉาชีพ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ได้เช่นกัน โดย เคทีซี ได้กล่าวในตอนหนึ่งของงานเสวนา KTC FIT Talks 7 รับมือความเสี่ยงและภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับ 9 ลักษณะการหลอกลวง ที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ ได้แก่ 1. คนใกล้ตัว สามารถเข้าถึงข้อมูลบัตรเครดิต หรือ มือถือ ของเจ้าของบัตร และเป็นผู้ทำรายการ (เช่น มีการผูกเลขบัตรเครดิตเข้ากับอุปกรณ์มือถือส่วนตัว และ อุปกรณ์มือถือพ่วงที่อาจเป็นของบุตรหลาน ซึ่งอาจกดเข้าแอพพลิเคชั่นที่มีการเสียเงิน เช่น เกม เป็นต้น) 2. ข้อมูลหน้าและหลังบัตรเครดิต ถูกจดไปโดยเจ้าหน้าที่แคชเชียร์ และมีการนำไปทำธุรกรรมผ่านอีคอมเมิร์ซ 3. ผู้เสียหายหรือเหยี่อ ได้รับอีเมล (E-Mail Phishing) หลอกให้ทำการอัพเดตข้อมูลบัตรเครดิต และนำข้อมูลที่ได้ไปทำรายก
รู้ทันเหลี่ยมโจร! 4 กลโกง มิจฉาชีพ ใช้แอบอ้าง หลอกให้จ่ายภาษีศุลกากร ช่วงนี้มิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ระบาดหนัก หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องรู้ทันกลโกงให้ได้ โดยกรมศุลกากร ได้ออกเตือน พร้อมแจ้ง 4 กลโกงที่มิจฉาชีพ ใช้แอบอ้างหลอกประชาชน ไว้ดังนี้ 1. กรณี ส่งอีเมล เพื่อให้ชำระภาษีศุลกากร มิจฉาชีพจะส่งอีเมลมาให้ผู้รับบริการ โดยอ้างว่า ส่งมาจากบริษัทขนส่งสินค้า แต่ไม่สามารถจัดส่งพัสดุได้ เนื่องจากยังไม่ได้จ่ายภาษีศุลกากร พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้รับบริการกรอกข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าที่ส่งผ่านบริษัทขนส่งต่างๆ จะต้องมีเอกสารที่ออกโดยกรมศุลกากรแนบมาด้วย หากการเรียกเก็บค่าภาษีศุลกากรครั้งใด ไม่มีหลักฐานดังกล่าว ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากบริษัทฯ ให้แน่ใจก่อนการชำระเงิน 2. กรณีเพื่อนต่างชาติที่รู้จักผ่านทางออนไลน์ อ้างว่าส่งของมีค่ามาให้แต่ติดปัญหาศุลกากร โดยแอบอ้างว่าได้ส่งของขวัญหรือของมีค่าต่างๆ มาให้ผู้เสียหาย และให้รอรับการติดต่อจากบริษัทขนส่งสินค้า จากนั้นก็จะได้รับการติดต่อจากบริษัทขนส่งสินค้าทางอีเมลและโทรศัพท์ โดยให้โอนเงินจำนวนมากไปยังบริษ
ระวังให้ดี! มุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจ หลอกเอาเงินประชาชน ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรรมในรูปแบบของ มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้การแอบอ้างเป็นไปรษณีย์, DHL, ปปง. หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย โดยอ้างว่าบัญชีธนาคารของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ต้องโอนเงินมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เพื่อแลกกับการช่วยเหลือต่างๆ ล่าสุด พบว่ามิจฉาชีพได้เปลี่ยนวิธีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยโทรศัพท์หลอกว่ามีการค้างชำระค่าปรับจราจร หากไม่ชำระตอนนี้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโอนเงินให้ชำระค่าปรับจราจรเด็ดขาด และสามารถตรวจสอบด้วยตนเองว่ามีใบสั่งจราจรที่ค้างชำระค่าปรับหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ “ใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน” https://ptm.police.go.th/ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วนจราจร 1197 ที่มา เพจ ไทยคู่ฟ้า
คนหางาน (ระวัง)วิมานล่ม! ถูกหลอก เข้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์กัมพูชา แถมโดนบัญชีดำ ห้ามเข้าประเทศ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เพจกระทรวงการต่างประเทศ ได้แชร์ประกาศของกรมการกงสุลเพื่อคนไทย เรื่องระวัง ถูกหลอกลวงให้เดินทางไปทำงานใน “กัมพูชา” ปัจจุบัน พบว่ามีขบวนการหลอกลวงคนไทยไป ‘ทำงานแอดมินออนไลน์/ ตอบแชทลูกค้า’ ในพื้นที่ จ.สีหนุ กัมพูชา โดยโฆษณารับสมัครงานบนสื่อออนไลน์ เมื่อคนไทยตกลงทำงานและเดินทางไปถึงกัมพูชา “จะถูกบังคับให้ทำงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แก๊ง SMS หลอกลวง เว็บไซต์พนันผิดกฎหมาย” มีการกักขัง ให้อดอาหาร และขู่ทำร้ายร่างกาย ยึดเอกสารประจำตัว รวมทั้งมีการส่งขายให้นายจ้างรายอื่นต่อไป กรมการกงสุลจึงขอแจ้งเตือนคนไทยอย่าหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อขบวนการหลอกลวงไปทำงานในกัมพูชา ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชาโดยผิดกฎหมายจะถูกเนรเทศและขึ้นบัญชีดำ และอาจได้รับบทลงโทษ ดังนี้ จำคุก 3-6 เดือน, ปรับไม่เกิน 2 ล้านเรียล (ประมาณ 15,000 บาท) ระหว่างการดำเนินกระบวนการเนรเทศจะถูกกักตัวแบบขังรวม โดยไม่มีข้อยกเว้น คนหางานระวังไว้! ถูกหลอกทำงานในเมียนมา โดนข่มขู่ ตกงาน ไม่คุ้มเสี่ยง
ระบาดหนัก ภัยไซเบอร์ทางการเงิน และ กลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใกล้ตัวกว่าที่คิด บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ตระหนักถึงภัยไซเบอร์ทางการเงินและกลลวงขบวนการคอลเซ็นเตอร์ในสังคมดิจิทัล ประชาชนควรรู้เท่าทันภัยในรูปแบบต่างๆ จากมิจฉาชีพบน Social Media อีเมล ข้อความหลอกลวง หรือขบวนการคอลเซ็นเตอร์ และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งสำคัญ คือ หมั่นตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินที่เกิดขึ้นได้ คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า จากประเด็นข่าวภัยไซเบอร์ทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จึงควรมีสติ ระมัดระวังและมีความรู้เท่าทันกลลวง เพื่อป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ เช่น มิจฉาชีพบน Social Media อีเมล ข้อความหลอกลวง หรือขบวนการคอลเซ็นเตอร์ และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ การตระหนักถึงภัยการเงินใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองโดยไม่รู้ตัว การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินและขบว
เมื่อเวลา 11.00น. วันที่ 2 ส.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยพ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รองอธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ พล.ต.ท.ณัฐธร เพราะสุนทร ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นายมานพ ศรวิบูลย์ศักดิ์ รองกรรมการ ผจก.ใหญ่สายงานปฏิบัติการนครหลวง บจก.ไปรษณีย์ไทย ร่วมกันแถลงผลการสนธิกำลังร่วมทหารกองพล ร.5 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สภ.สะเดา ทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน โดยสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาชาวมาเลเซียได้ 2 ราย พร้อมของกลาง เงินสด 497,100 บาท สมุดบัญชีธนาคาร 6 เล่ม บัตรกดเงินสด (เอทีเอ็ม) 8 ใบ โทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง และซิมการ์ดโทรศัพท์มือถืออีกหลาย 10 อัน รวม 8 คดี ความเสียหายประมาณ 5,235,000 บาท พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า สำหรับพฤติการณ์ของกลุ่มผู้กระทำความผิดจะใช้โทรศัพท์ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ติดต่อกับผู้เสียหายโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ โดยใช้อุบายหลอกเหยื