แตงกวา
แตงกวา เป็นไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง แตงกวาจึงเป็นพืชที่หาซื้อได้ง่าย คุณประสิทธิ์ เพชรทอง เกษตรกร วัย 58 ปี ซึ่งปลูกแตงกวาระหว่างรอผลผลิตจากสวนยาง และสวนปาล์ม เล่าให้ฟังว่า “เป็นเกษตรกรทั่วไป ทำสวนยาง สวนปาล์ม เหมือนเกษตรกรชาวภาคใต้ทุกคน ซึ่งมันก็มีรอบของมันในการทำ เลยอยากหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ระหว่างที่รอผลผลิตจากสวนยางและสวนปาล์ม เลยสนใจการปลูกแตงกวา เนื่องจากเป็นพืชที่มีอายุในการปลูกและเก็บเกี่ยวไม่ยาวนานมากนัก ใช้เวลาเพาะเมล็ด 6-7 วัน ก็สามารถลงแปลงปลูกได้แล้ว ก่อนจะปลูกไปอีกประมาณ 35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งอาศัยการดูแลเพียงแค่ช่วงเดือนกว่าๆ เท่านั้น แตงกวาก็จะเริ่มออกผลผลิตให้เห็น และสร้างรายได้ให้ได้” ซึ่งพื้นที่ปลูกแตงกวาของคุณประสิทธิ์ มีทั้งหมด 11 ไร่ ลงกล้าปลูกแตงกวาพร้อมกันทั้งหมด 11 ไร่ โดยคุณประสิทธิ์ให้เหตุผลว่า “การลงแปลงปลูกแตงกวาพร้อมกันทั้งหมด 11 ไร่นี้
วันที่ 11 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานราคาแตงกวา พบว่า ในช่วงฝนตกราคาแตงกวาดีมาก พบเกษตรกรรายหนึ่งคือนายยอดชาย กวินวนาลัย อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ 10 บ้านเจดีย์โคะ ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า ตนปลูกแตงกวา 5 ไร่ ตอนนี้เริ่มเก็บขายได้วันละ 2 ตัน หรือวันละ 2,000-2,500 กิโล ขายได้ในราคากิโลละ 10 บาท นับว่าราคาดีมาก นายยอดชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนปลูกแตงกวามา 8 ปี ที่ชอบเพราะว่าแตงกวาเป็นพืชอายุสั้น อายุการเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตเพียงแค่ 30 วัน ก็เก็บขายแล้ว และเก็บต่อเนื่องไปอีก 30 วันจึงจะปลูกรุ่นใหม่ ที่หันมาปลูกพื้นที่ อ.พบพระ เพราะว่าให้ผลผลิตดี ลูกสวย เช่าที่ไร่ปลูกจำนวน 5 ไร่ ไร่ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน ขั้นตอนในการปลูกโดยใช้เมล็ดหยอด ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองพื้นไร่ละ 1 ลูก พอแตงกวาอายุได้ 15 วัน ก็ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และหลังจากนั้นทุกๆ 10 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1 ลูกต่อ 1 ไร่ จนกว่าจะเก็บหมด ถือว่าสร้างงานสร้างอาชีพได้ดีอีกอาชีพหนึ่ง
วันที่ 21 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.ชัยนาท ที่ยังคงขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อพืชผักในพื้นที่ซึ่งมีป้อนตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาผักสดเริ่มขยับตัวขึ้น โดยเฉพาะแตงกวาที่ปรับตัวขึ้นสัปดาห์เดียวถึง 7 บาทต่อกิโลกรัม จากที่สัปดาห์ก่อนขายราคากิโลกรัมละ 18 บาท ปัจจุบันราคาปรับขึ้นไปที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม โดยแม่ค้าผักบอกว่าสาเหตุที่แตงกวาขยับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น มาจากสภาพความแห้งแล้งที่ทำให้แตงกวาติดผลน้อยลง บางส่วนก็เสียหายจากโรคระบาด ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้ราคาหน้าสวนปรับขึ้นและราคาขายหน้าแผงจึงขยับตามเช่นกัน ส่วนผักสดรายการอื่นๆ ก็มีการปรับราคาขึ้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5 บาทเช่นกัน โดยกะหล่ำปลีล่าสุดกิโลกรัมละ 20 บาท ผักกาดขาวกิโลกรัมละ 25 บาท ผักคะน้ากิโลกรัมละ 20 บาท ถั่วฝักยาวกิโลกรัมละ 35 บาท และต้นหอมผักชีราคาเท่ากันที่กิโลกรัมละ 60 บาท ซึ่งยังมีแนวโน้มที่ผักสดจะมีการปรับราคาขึ้นได้อีกจากผลกระทบภัยแล้ง
วันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 น. ที่ จังหวัดอุทัยธานี นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยนายนุภาษ สันตยานนท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี ลงพื้นที่ดูสวนแตงร้าน ของนายสุชิน แสกรุง เกษตรกร ต.หาดทนง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ที่ได้ปรับเปลี่ยนปลูกพืชอายุสั้น ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ภายใต้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 1 ใน 6 มาตรการของแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2559/60 ซึ่งได้ผลลัพธ์จากการปลูกที่ดีกว่าการทำนา ทำให้มีรายได้ทดแทนจากการงดเว้นการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง อีกด้วย นายสุชิน เล่าว่า พื้นที่ดังกล่าวนั้นแต่ก่อนเคยทำนา เดิมทีครอบครัวตนเองนั้นได้ทำการขอซื้อมา เพื่อจะมาทำไร่ข้าวโพด แต่ช่วงนั้นตนฉุกคิดได้ว่า ที่นี่ไม่มีใครปลูกแตงกวาเลย ตนจึงอยากลองทำแตงกวาหน้าแล้งดูอาจจะได้ผลผลิตและรายได้ที่ดีกว่าก็เป็นได้ เพราะคนปลูกกันน้อยทำให้จำหน่ายแตงกวาได้ไม่ยากเพราะยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ก็เสี่ยงกับการขาดทุนสูง เนื่องจากว่าช่วงหน้าแล้ง จะปลูกแตงกวายากมาก แต่ตนเองนั้นก็อยากที่จะลองเสี่ยงปลูกแตงกวาดู เพราะเห็นว่ามีระบบน้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรบ้านทุ่งเดิ่น ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ยึดอาชีพปลูกพืชผักสวนครัว พืชอายุสั้น ทนแล้ง ใช้น้ำน้อยหลังฤดูกาลทำนา สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวเช่น แตงกวา ลุงมังกร และยายนวลจันทร์ นิตอินทร์ สองสามีภรรยา ชาวบ้านทุ่งเดิ่น ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ตนเองปลูกแตงกวามาเกือบ 10 ปี คือทำการเกษตรทุกอย่างตั้งแต่ทำนา ปลูกข้าวโพด และปลูกแตงกวา เฉพาะการปลูกแตงกวานั้น ปลูกอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 ไร่ เหมือนเป็นพืชเสริมที่ว่างจากการทำนา แต่กลับเป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว เพราะแตงกวาเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว คือปลูกราว 30-32 วัน ก็เริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวต่อเนื่องได้นาน 25-28 วัน จึงจะเลิกเก็บ ลุงมังกร เล่าว่า แตงกวาสามารถทำเงินได้เร็วมาก ถ้าเกิดปัญหาโรคหรือแมลงทำลายเสียหาย เกษตรกรก็แก้ตัวใหม่ได้เร็ว ซึ่งแตงกวาปลูกได้ทุกฤดูกาล ขอให้มีแหล่งน้ำดี เพราะแตงกวาเป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องไม่ขังแฉะ เมื่อแปลงปลูกขังแฉะก็จะเสี่ยงต่อโรคจากเชื้อรา การปลูกแตงกวามีความยากง่ายต่างกันไปตามฤดูกาล อย่างช่วงหน้าร้อน แตงกวาจะทำ
แตงกวากลิ่นใบเตย เป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่บริษัทอีสต์ เวสต์ ซีด หรือศรแดง นำมาพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ โดยนักปรับปรุงพันธุ์แตงกวากลิ่นใบเตย ให้ข้อมูลว่า ใช้เวลาในการพัฒนาพันธุ์โดยการผสม 4 ปี กลิ่นหอมของแตงกวาเป็นกลิ่นใบเตย ซึ่งไม่ได้หอมเฉพาะผล แต่หอมทั้งใบและดอก หากปลูกไว้เมื่อเดินไปใกล้จะหอมกลิ่นใบเตย หรือเมื่อรับประทานผลจะได้กลิ่นใบเตยขณะรับประทานด้วย การพัฒนาพันธุ์ได้พัฒนามาจากแตงร้านหอมพันธุ์พื้นเมืองที่มีความหอม และแตงกวา หลังการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ ได้แตงกวาหอมใบเตย ที่มีรูปร่างเล็ก ติดผลดก ระยะเวลาติดผลเร็วขึ้น มีกลิ่นหอม หลังลงปลูกเพียง 38 วันก็สามารถเก็บผลผลิตได้ จากเดิมแตงกวาทั่วไป ต้องใช้ระยะเวลาปลูกถึง 45 วัน สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน นานถึง 30 วัน ปริมาณผลผลิต 2.5-3 กิโลกรัม ต่อต้น สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด 50/1 หมู่ 2 ถ.ไทรน้อย – บางบัวทอง ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี โทร. 02-8317777
อดีตช่างทองฝีมือดีที่แต่ละวันทำงานยู่กับของสวยๆ งามๆ เน้นใช้ทักษะด้านฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ มาวันนี้เลือกที่จะทิ้งชีวิตทำงานในห้องแอร์มาสวมบทบาทเกษตรกรทำงานท่ามกลางอุณหภูมิธรรมชาติ เพราะมีความคิดว่าเป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนที่สุด แต่ก็ยังรักสบาย เลือกปลูกแตงกวาญี่ปุ่นไร้ดิน ปลูกในโรงเรือน แถมยังใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัติ มีรายได้ทุกวัน วันละกว่า 3,000 บาท คุณ“ศิริ คำอ้าย” ชายหนุ่มอัธยาศัยดี วัย 50 ปี อดีตเคยเป็นช่างทองนานกว่า 20 ปี แต่แล้วเมื่อสุขภาพเริ่มไม่เอื้ออำนวย เลือกที่จะหาความมั่นคงให้ชีวิต ด้วยการลาออกมาเป็นเกษตรกร เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่ยั่งยืนที่สุดแล้ว “ผมเป็นช่างทองนานกว่า 20 ปี หลังๆ อายุเยอะขึ้น สายตาเริ่มไม่ดี กลัวว่าจะถูกไล่ออกตอนแก่ เลยชิงลาออกก่อน ตอนอายุ 45 ปี เลือกไปเป็นเกษตรกร คิดว่าเป็นอาชีพที่ยั่งยืนที่สุด เพราะอย่างไรก็ตาม พืชผักเป็นอาหารที่มนุษย์ทุกคนต้องกิน ฉะนั้นผลผลิตยังไงก็ขายได้” นับเป็นการพลิกบทบาทจากชีวิตที่สบาย ทำงานในห้องแอร์ ต้องมาเป็นเกษตรกรทำงานท่ามกลางอุณหภูมิธรรมชาติ คุณศิริ บอกว่า เลือกปลูกแตงกวาญี่ปุ่น เพราะเป็นพืชล้มล