แนวคิด
วัยไม่ใช่ปัญหา ขอให้กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง หนุ่มใหญ่เริ่มต้นอาชีพใหม่ในวัย 55 ปี สร้างรายได้ 8 แสนต่อเดือน อายุมากหรืออายุน้อยไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ บางคนอาจจะเห็นว่าทำงานประจำก็เพียงพอแล้ว ไม่อยากจะทำอะไรเพิ่ม แต่ก็มีบางคนที่คิดว่าควรจะมีอาชีพเสริมไว้รองรับตัวเองจากงานประจำ และกล้าที่จะลงทุน เมื่อไตร่ตรองดีแล้ว เช่นเดียวกันกับ Rodney Melton ที่เคยทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ในบริษัทผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง และได้เงินเดือน ประมาณ 1,000 บาทต่อชั่วโมง แม้ว่า Melton วัย 55 ปี จะมองว่างานเก่าจะให้รายได้ดีพอเลี้ยงชีพ แต่รายได้นั้นก็เทียบไม่ได้กับรายได้ที่เขาทำได้ในปัจจุบัน Rodney Melton เป็นชาวเมืองแอลมา รัฐอาร์คันซัส เริ่มต้นอาชีพเสริมด้วยแรงบันดาลใจ 2 อย่าง คือ สุนัขของเพื่อนเขาชื่อมอลลี่ได้เสียชีวิต และเขามีเครื่องแกะสลักไว้ทำงานอดิเรก นั่นก็คือ การแกะหิน เขาสร้างแท่นคอนกรีตสำหรับหลุมศพของมอลลี่ออกมาได้สวยงาม และในเดือนมีนาคม 2021 เขาตัดสินใจเปิดร้านบน Etsy คำสั่งซื้อเพียงไม่กี่รายการในช่วงแรก กลายเป็นรีวิวที่ดีจำนวนหนึ่ง นำไปสู่คำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้น เขาได้เพิ่มการแกะสลักหินแกรนิ
ปรับใช้ได้จริง! เปิดแนวคิด 21 นักธุรกิจ เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก่อนค้นพบความสำเร็จ ในหลายๆ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้บอกว่า พวกเขาต้องการที่จะรู้อะไรหลายๆ อย่างตั้งแต่การเริ่มต้นในเส้นทางธุรกิจ ทั้งเรื่องเวลา การลำดับความสำคัญของเป้าหมาย รวมไปถึงการพัฒนาตนเอง ซึ่งคำแนะนำทั้ง 21 ผู้ประกอบการนี้ ชี้ให้เห็นว่า ทุกคนได้ผ่านบทเรียนมามากมาย และสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้กับธุรกิจปัจจุบันหรืออนาคตได้ นี่คือสิ่งที่เหล่านักธุรกิจทั้ง 21 ท่าน อยากบอกกับตัวเองเมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจ 1. โฟกัสกับสิ่งที่ควบคุมได้ Bayu Prihandito บอกว่า ในฐานะนักธุรกิจ เราเจอสภาวะที่ควบคุมไม่ได้อยู่บ่อยๆ และง่ายที่จะจมไปกับความไม่แน่นอนและความเครียดที่ตามมา แต่จำไว้ว่า ถึงเราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ เราสามารถควบคุมปฏิกิริยาและการตัดสินใจได้ด้วยการโฟกัสสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เราจะผ่านความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์จากทุกสถานการณ์ 2. จงเป็นผู้นำ แม้ไม่มีตำแหน่ง Michelle LaBrosse กล่าวว่า ถ้ากลับไปบอกตัวเองตอนหนุ่ม ฉันคงบอกว่า ไม่ต้องรอให้ใครแต่งตั้งคุณเป็นผู้นำ ผู้นำที่ดีจะลุกขึ้นมาทำ แม้หน้า
รู้หรือไม่ 5 สิ่งนี้ แม้แต่เศรษฐีพันล้าน ไม่เคยคิดจะซื้อ! ส่องแนวคิดจากเศรษฐีตัวจริง หากเราลองจินตนาการว่าถ้าเราเป็นเศรษฐีพันล้าน เราจะซื้ออะไรให้ตัวเองบ้าง แต่พอคุยกับเศรษฐีพันล้านจริงๆ คุณจะรู้ว่าไม่มีใครร่ำรวยขึ้นมาด้วยการใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ทางเว็บไซต์ของ CNBC Make It ได้มีการไปคุยกับเศรษฐีพันล้านหลายคนและมักจะถามคำถามนี้เสมอว่า “คุณไม่ยอมใช้เงินไปกับอะไร?” คำตอบที่ได้แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีเงินเหลือเฟือ แต่การใช้เงินอย่างชาญฉลาดก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณหวังที่จะเพิ่มพูนและรักษาฐานะของคุณไว้ สำหรับบางคนอย่าง Todd Baldwin เศรษฐีพันล้าน ที่คิดว่าการประหยัดเกือบจะเป็นเหมือนเกม เขามองว่า การสามารถซื้ออะไรสักอย่างได้ แต่เลือกที่จะไม่ซื้อ มันเป็นเรื่องที่ท้าทายและสนุกมาก และต่อไปนี้คือสิ่งที่เขาและเศรษฐีพันล้านอีก 4 คน ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์และชี้ให้เห็นว่า พวกเขาไม่เคยใช้เงินไปกับอะไรบ้าง 1. Fast Fation Jonathan Sanchez เศรษฐีพันล้านและผู้ก่อตั้ง Parent Portfolio ประหยัดค่าเสื้อผ้าด้วยการเลือกเสื้อผ้าธรรมดาๆ เขาบอกว่า “ผมไม่คิดมากเรื่องชุด ผมมีเสื้อผ้าเรียบง่ายและไม่ตามยุค ในตู้
2024 อาชีพเดียวไม่พอแล้ว เปิด 4 แนวคิด สร้างรายได้แบบปังๆ จากอาชีพเสริม ปัจจุบันนี้ อาชีพเดียวไม่เพียงพอแล้วจริงๆ ต้องมีอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 ตามมา เพราะข้าวของเครื่องใช้ก็มีราคาที่สูงเหลือเกิน ทำให้รายได้ที่มาจากอาชีพหลัก ไม่เพียงพอ จึงทำให้คนเริ่มหันมาทำอาชีพเสริมกันมากขึ้น โดยหาอะไรที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง และสามารถสร้างรายได้ได้จริง จะบอกว่าอาชีพเสริมไม่ใช่แค่เรื่องที่ทำสนุกๆ ไปวันๆ อีกต่อไป แต่กลายเป็นวิถีชีวิตของหลายคนไปแล้ว จริงๆ แล้วเมื่อต้นปี 2023 เกือบ 50% ของชาวอเมริกันมีการทำอาชีพเสริม แม้กระทั่งคนที่ทำงานประจำ แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่า อะไรทำให้อาชีพเสริมกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิต? สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจอาชีพเสริมคือ “ความอิสระ” การมีโอกาสที่จะเป็นเจ้านายของตัวเองและเลือกเส้นทางธุรกิจของตัวเองเป็นสิ่งที่น่าสนใจเกินกว่าจะมองข้าม แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ Bankrate ถึง 41% ของคนที่ทำอาชีพเสริมนั้นทำเพื่อหาเงินให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิต หลายคน เมื่อพูดถึง “อาชีพเสริม” สิ่งแรกที่นึกถึงเลยคือ การทำงานขับรถส่งอาหาร หรือทำงานต่างๆ แม้ว่าสิ่
“มองมุมกลับ ปรับวิธีคิด” วิธีคิดเรื่องเงินสุดแปลก ของเหล่าผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ เรื่องเงินเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาให้กับใครหลายๆ คน ส่วนวิธีการจัดการเงินก็กลายเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลและตึงเครียด ถึงแม้จะมีคำแนะนำด้านการเงินอยู่มากมายก็ตาม วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาทุกท่าน ไปดูแนวคิดเรื่องเงิน จากเหล่าผู้บริหาร ที่มีวิธีการจัดการที่แปลก และไม่เหมือนใคร แต่นำมาซึ่งการประสบความสำเร็จ โดยแนวคิดนี้คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน! 1. สร้างธุรกิจด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งเงินทุนจากภายนอก Gary Vaynerchuk ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ VaynerX ผู้เขียนหนังสือ Crushing It กล่าวว่า คุณควรที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างเต็มตัว หากไประดมทุนจากใครมานั่นหมายถึงว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมเจอผู้ประกอบการหลายคนทุกวัน ซึ่งเก่งทั้งด้านการระดมทุนและการสูญเสียเงินทุนไปพร้อมๆ กัน เพราะผู้ประกอบการบางอาจจะสูญเสียเงินหลายล้านเพื่อทำผลงานที่ไม่ได้ผลกำไร แต่ต้องเป็นหนี้ที่ได้ระดมทุนมา ยังคงมีวิธีที่ดีอีกมากมายและดีกว่าการเป็นหนี้ โดยอาจจะเริ่มต้นจากสิ่งของใกล้ตัว เช่น ซื้อของมือสองจากตลาดนัดแล้วน
พลิกเมนู รู้แล้วรวย ผู้ประกอบการร้านอาหารควรรู้ ทำอย่างไรให้ขายได้ปังๆ วันนี้ 18 มกราคม 2567 ฟู้ดส์ คลาสสิค ร่วมกับ มติชนอคาเดมี ได้จัดงาน HOTATE Festival The Taste of the Ocean By FoodsClassic สัมผัสประสบการณ์ Testing 3 เมนูเด็ดจาก HOTATE (โฮตาเตะ) ที่รังสรรค์โดย เชฟประชัน วงศ์อุทัยพันธ์ ปรมาจารย์เชฟด้านฟู้ดสไตลิสต์ โดยใช้วัตถุดิบที่คัดสรรมาอย่างดี สดใหม่นำเข้าจากญี่ปุ่น โดยทางเชฟประชัน ได้จัดเมนูอาหารที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าร่วมงานถึง 3 เมนูด้วยกัน เมนูแรก เป็นเมนูเรียกน้ำย่อย นั่นก็คือ Hotate Scallop Sashimi with Spicy Wasabi Sauce เป็นเมนูที่เรียกน้ำย่อยได้ดีเลยทีเดียว ความสดใหม่ของหอยเชลล์ผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัวกับน้ำจิ้มซีฟู้ดใส่วาซาบิ อร่อยสุดยอดไปเลย ต่อกันด้วยเมนูที่สอง Grilles Hotate Scallops with Truffle Cream Sauce Grilled Scallops หอยเชลล์ที่เซียร์กับกระทะร้อนๆ กินกับซอสครีมทรัฟเฟิล อร่อยลงตัว ปิดท้ายด้วยเมนูนี้ Cold Pasta with Ponzu Truffle Sauce and Grilled Hotate Scallops พาสต้าเย็นคลุกเคล้ากับซอสพอนสึ กินคู่กับหอยเชลล์ชิ้นโตๆ รสเลิศ กินจนหมดจานไปเลย และในงา
ผู้ประกอบการต้องรู้! 7 ปัจจัย ก่อนขยายธุรกิจสู่ระดับโลก หากคุณตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจสู่ระดับโลก คุณจะต้องเผชิญกับอะไรบางอย่าง ถึงแม้ว่าการขยายธุรกิจสู่ระดับโลกจะมาพร้อมผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบการ หมายถึงการเผชิญกับความท้าทาย โดยคุณจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม พิจารณาความท้าทายเหล่านี้อย่างรอบคอบและครอบคลุมในทุกๆ เรื่อง และนี่คือ 7 ปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้และวางแผนก่อนจะนำพาบริษัทก้าวไปสู่ระดับโลก 1. ตลาดและแนวโน้ม ตลาดในแต่ละประเทศอาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ในเรื่องของวัฒนธรรมและความท้าทายก็อาจแตกต่างกันออกไป หากคุณไม่วางแผนหรือไม่สังเกตสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทของคุณ คุณอาจจะไม่มีตลาดใหม่ๆ รวมไปถึงแนวโน้มที่คุณพยายามติดตามอาจผ่านพ้นพื้นที่นั้นไปแล้ว ส่งผลให้คุณตามหลังคู่แข่ง 2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศที่คุณตั้งใจจะขยายธุรกิจไปนั้น เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด แม้ว่าประชากรในสถานที่ใหม่จะชื่นชอบรูปลักษณ์และประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ของคุณ แต่ถ้าราคามากเกินไปจนพวกเ
“ปลาเร็ว กินปลาช้า” แนวคิดพลิกฟื้น วิกฤตธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก มักจะมีคู่แข่งมากมาย ทั้งคู่แข่งขนาดเดียวกันไปจนถึงกลุ่มทุนขนาดใหญ่ต่างๆ ทำให้หลายคนอาจจะชินกับคำเปรียบเปรยที่ว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ซึ่งในปัจจุบัน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบปัญหากันอย่างมาก การทำธุรกิจอาจไม่ใช่เพียงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ล้มง่ายดังเช่นก่อน จึงถึงเวลาแล้วที่จะจบความเชื่อนั้น และเปลี่ยนเป็น ปลาเร็วกินปลาช้าถ้าใจถึง ไม่ยืดยาด ก็มีโอกาสรอดสูงกว่าเดิม ดังนี้ 1. ปรับปรุงระบบการขายให้ง่ายขึ้น : ไม่เพียงแต่สต๊อกสินค้าไว้หน้าร้าน เพราะนั่นจะเป็นจุดอ่อนในยุคปัจจุบัน เพราะน้อยคนมากที่จะมาหน้าร้าน อีกทั้งยังเป็นการเปลืองต้นทุนที่จะต้องจ้างพนักงานอีกมากมาย เพียงต้องหากลุ่มลูกค้าเราให้เจอ แล้ววิ่งไปหากลุ่มคนที่เป็นลูกค้าเราเหล่านั้น 2. ลองหันมาเน้นการพรีออร์เดอร์ แทนการสต๊อกของ : ช่วยให้ ไม่วุ่นวาย ตัดปัญหากำไรที่น้อยและต้องสู้กับนายทุนเจ้าใหญ่ เมื่อเราเข้าถึงลูกค้าทั้งการมีสัมพันธ์ที่ดีทางโซเชียลหรือต่อหน้าจนสร้างความเชื่อมั่นไ
เกษตรกรไทย กับ การเดินขบวน เรียกร้องให้รัฐบาลช่วย ทั้งแทรกแซงราคา พยุงราคา ช่วยออกเงินเฉยๆ เป็นความคุ้นเคย จนบางทีผมแอบตั้งคำถามในใจว่า “ไม่มีวิธีอื่น” อีกแล้วหรือ ยิ่งถ้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง การหาทาง “เอาใจ” กลุ่มเกษตรกร ที่มีจำนวนมาก พูดง่ายๆ เป็นฐานเสียงใหญ่ของประเทศ เป็นสิ่งที่นักการเมืองนิยมทำ แต่ไม่ได้เกิดการ “แก้ปัญหา” อย่างยั่งยืน ที่จังหวัดโออิตะ ตั้งอยู่ที่เกาะคิวชู เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น ต้นกำเนิดโอท็อปที่ประเทศเราไปลอกเขามา เพียงแต่วิธีการของเรากับเขาต่างกันโดยสิ้นเชิง โอท็อปของญี่ปุ่นเขาเรียก โอว็อป (OVOP) คือบ้านเขาไม่เรียกตำบล เขาเรียกหมู่บ้าน เลยเป็น OVOP (One Village One Product) เกิดเพราะชาวบ้านประสบปัญหาเรื่องการปลูกข้าว ภาครัฐบอกให้ปลูก แต่ปลูกแล้วไม่ค่อยดี ชาวบ้านเลยรวมตัวช่วยกันคิดแก้ปัญหา ปลูกบ๊วย ปลูกเกาลัด แทนการปลูกข้าว ทำตลาดกันเอง ไม่สนใจภาครัฐ เขารวมตัวกัน เพื่อ “ใช้ความรู้” แต่เกษตรกรของไทยเรารวมตัวกันเมื่อ เพื่อ “เรียกร้อง” เขาช่วยกันทำ จนภาครัฐต้องกระโดดเข้ามาสนับสนุนเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ช่วยทำร้านกระจายสินค้าให้ ขอเอาต้นแบบแนวคิดไปเผยแพร่ให้ที่อื่