แนวโน้มธุรกิจ
รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ความท้าทายใหม่ธุรกิจยานยนต์ไทย ต้องปรับตัว-รับมืออย่างไรให้ไปต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนามากกว่า 60 ปี มีการลงทุนจากต่างชาติมากมาย จนทำให้ทุกวันนี้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ชั้นนำของภูมิภาค และปัจจัยความร่วมมือของไทยและญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ที่ผ่านมาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยดูมีแนวโน้มสดใสและเป็นไปได้ด้วยดี แต่ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคตจะคงความยิ่งใหญ่เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์เหมือนเดิมหรือไม่ เพราะโลกของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) หลายๆ ชาติเริ่มตื่นตัวกับกระแสของรถ EV และลงมาแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะแบรนด์ EV ค่ายจีนมากมายที่ประกาศลงทุนตั้งฐานการผลิตรถ EV ที่ไทย อะไรจะเกิดขึ้นกับผู้ผลิตรถยนต์สันดาป (Internal Combustion Engine : ICE) ในปัจจุบัน และการผลิต EV ในไทยจะก้าวไปได้ไกลแค่ไหน สถานการณ์ความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเริ่มปรากฏภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และผู้ประกอบการควรจะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเป
ส่องเทรนด์ธุรกิจปี 66 ! เอสเอ็มอี ดาวรุ่ง-เฝ้าระวัง ใครอยากมีกิจการของตัวเอง ต้องเช็ก เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานข่าว นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ สสว. เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ในรอบปี 2565 พบว่า ธุรกิจ SMEs เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและสันทนาการ ทั้งเกสต์เฮ้าส์ บังกะโล ร้านขายของที่ระลึก ผับ บาร์ ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ศูนย์อาหาร บริการจัดเลี้ยง ธุรกิจและอีเวนต์ด้านกีฬา ธุรกิจขายของมือสองและธุรกิจให้เช่า ธุรกิจโหราศาสตร์และความเชื่อ สำหรับธุรกิจที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีในปี 2566 ได้แก่ ธุรกิจขายของออนไลน์ ธุรกิจกีฬา และร้านโชห่วย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2566 ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การส่งออกของประเทศ การบริโภคภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อ และราคาพลังงาน ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลสำรวจยอดขายรายไตรมาส ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับฐานข้อมูล SMEs ของ สสว. รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐ
จับตา! เทรนด์ธุรกิจ ปี 66 โอกาสสำหรับ SMEs ยุคดิจิทัล ธุรกิจไหน ยังไปได้สวย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า มีธุรกิจ SMEs เกิดใหม่ขึ้นทุกๆ ปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในแต่ละปีมีธุรกิจซึ่งไม่สามารถไปต่อได้จากปีแรกกว่า 50% ดังนั้น การวางแผนที่ดีและจับเทรนด์ธุรกิจให้ทัน เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด และสร้างความได้เปรียบอย่างมาก ในโอกาสที่ปี 2565 กำลังจะผ่านไป finbiz by ttb ได้จับเทรนด์ที่มาแรงในปี 2566 เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถวางแผน และเตรียมตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบ เพื่อนำไปสู่ความแข็งแกร่งและโอกาสในอนาคต ธุรกิจที่ยังไปได้สวยต่อเนื่องจากปี 2565 จากปีที่แล้ว แชมป์ธุรกิจตั้งแต่ปี 2564 อย่าง ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม และ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ครองแชมป์ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2565 และก็ยังคงไปได้สวย ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มาแรงเมื่อปีที่แล้ว และยังคงน่าสนใจต่อเนื่อง ได้แก่ 1) นวัตกรรมประหยัดพลังงาน 2) E-Commerce & Digital Services 3) Health & Wellness และ 4) อาหาร Organic Vegan โปรตีนทางเลือก ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุว่า ในกลุ่มของ Health
นักเศรษฐศาสตร์ดัง เตือน! ธุรกิจยังน่าห่วง ผปก.ไทย ตั้งรับปรับให้ทัน มองหาโอกาสใหม่ ใช้นวัตกรรม ขับเคลื่อนธุรกิจ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หนึ่งในวิทยากรในงาน LINE THAILAND BUSINESS 2022 ได้อัพเดตถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกว่า ยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องจับตามอง ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังควบคุมเงินเฟ้อไม่ได้ จึงต้องมีการเร่งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เศรษฐกิจของฝั่งประเทศยุโรป ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก จากเงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการ Zero COVID ปัญหาในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การกีดกันด้านเทคโนโลยีจากสหรัฐ และการเดินหน้าเข้าสู่สังคมสูงวัย ไม่ช้าก็เร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้น หากแต่ยังมีปัจจัยบวกเข้ามาเกื้อหนุน อาทิ การกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ธุรกิจภาคบริการที่เริ่มฟื้นตัวจากนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับเข้ามา อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังต้องจับตามองสถานการณ์รอบตัวอย่างใกล้ชิด เพราะยังมีเรื่องน่ากังวล
นับถอยหลัง สู่ปีใหม่! เปิด 5 แนวโน้มเทรนด์ธุรกิจ ปี 2023 ที่ SMEs ต้องอัพเดต! เมื่อปีเก่ากำลังผ่านไป อะไรหลายๆ อย่างเริ่มเปลี่ยนแปลงต้อนรับเข้าสู่ศักราชใหม่ แนวโน้มการทำธุรกิจ ก็เป็นเรื่องที่เหล่าคนทำธุรกิจต้องตามเทรนด์กันทุกปี เว็บไซต์ Franchising.com ได้เผย ข้อสรุปของ Bernard Marr ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่กล่าวถึง 5 บิ๊กเทรนด์ธุรกิจในปี 2023 ที่จะมีผลกระทบแบบวันต่อวัน รวมถึงการทำงาน และการทำธุรกิจในปีหน้า โดย Marr ได้ทำการเจาะลึก และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัว และการจัดการรับมือ ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลแบบเร่งด่วน Marr ได้เผยว่า ในปี 2023 เรายังจะได้เห็นเทรนด์ความต่อเนื่องของด้านนวัตกรรม และพัฒนาการด้านเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลง อย่าง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (loT), เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR/AR), คลาวด์คอมพิวติ้ง, บล็อกเชน และ 5G เป็นต้น 2. อัตราเงินเฟ้อและความมั่นคงในห่วงโซ่อุปทาน ด้วยสภาวะเงินเฟ้อ และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอย อีกทั้งหลายอุตสาหกรรมยังคงประสบปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และความขัดแย้งระหว่างรัส
ส่องแนวโน้มธุรกิจ ปี 2022 SMEs ต้องเจออะไรบ้าง ช่วงที่ผ่านมา หลายธุรกิจต่างรับศึกหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงตอนนี้โควิด-19 ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ และปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเหลือระยะเวลาเพียงเดือนกว่าๆ ก่อนก้าวเข้าสู่ปี 2022 โดย ธนาคารกรุงเทพ ได้สรุปแนวโน้มของธุรกิจ และสิ่งที่ SMEs ต้องพบเจอในปี 2022 ไว้ดังนี้ 1. การเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง ธุรกิจขนาดใหญ่ และ SMEs เริ่มปรับบทบาทไปสู่องค์กรดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับพนักงาน จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ เพราะจากแนวโน้มที่ทุกสำนักวิเคราะห์ไว้ ในปีหน้าโลกเสมือน หรือโลกดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญต่อทุกธุรกิจ 2. ความยากลำบากในการวางแผนในอนาคต ปัจจัยการระบาดของโควิด-19 ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก ตลอดจนกฎระเบียบและเหตุการณ์ที่มักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ SMEs ประสบกับปัญหาการวางแผนงานในอนาคต เพราะยังไม่สามารถกำหนดทิศทาง หรือเป้าหมายด้านการตลาดที่ชัดเจนได้เหมือนเมื่อก่อน 3. ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ทำให้พนักงาน บุคลา
เข้าปีใหม่แต่โควิดยังอยู่! เปิด 5 แนวโน้มความท้าทาย ทางธุรกิจ ที่ SMEs ไม่อาจหลีกเลี่ยง ในปี 2022 ตลอดระยะเวลาของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2019 ถึงตอนนี้ หลากหลายธุรกิจต่างยอมรับสถานการณ์ และนำไปสู่การปรับตัวสู่การทำธุรกิจวิถีใหม่ จนมีความสามารถในการปรับตัวและแข่งขันได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงต้องการเวลา และ SMEs ในปัจจุบันต่างยังคงค่อยๆ กลับสู่ภาวะ ‘ปกติ’ ให้ได้เสียก่อน เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ เผยว่า ขณะที่จากรายงานล่าสุดของ Gartner ระบุว่า ความท้าทาย SMEs จะเผชิญระหว่างการระบาดใหญ่ในปีหน้านั้น มีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่นัก แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเหล่านี้เริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีหน้า มีอยู่ด้วยกัน 5 ประเด็น ดังนี้ 1. การเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง SMEs มีการเริ่มปรับบทบาทไปสู่องค์กรดิจิทัลมากขึ้น แต่อาจยังไม่ได้มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่าน ไปสู่องค์กรดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพงาน การให้บริการ และการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับพนักงานในส่วนที่มีความจำเป็นอยู่เสมอ จะทำ