แบรนด์
เมื่อเจ้าของแบรนด์ หันมาทำคอนเทนต์เอง ‘CEO Branding’ กลยุทธ์ที่เปลี่ยนแฟนคลับให้เป็นลูกค้าประจำ ปั้นแบรนด์ปังในพริบตา หากพูดถึงการปั้นแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักหรือแมสในกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่การจ้างดาราดัง อินฟลูเอนเซอร์ หรือ KOL ช่วยโปรโมตเท่านั้น แต่สามารถทำได้ด้วย ‘CEO Branding’ หรือการที่เจ้าของธุรกิจหันมาทำคอนเทนต์ สร้างตัวตน บอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ นำเสนอภาพลักษณ์ แนวคิดการทำธุรกิจ หรือไอเดียการผลิตสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าง TikTok, IG หรือ Facebook กันมากขึ้น จนผู้บริโภคอย่างเรากลายเป็นแฟนคลับของซีอีโออย่างไม่รู้ตัว เกิดเป็นความเชื่อมั่นและมั่นใจในตัวแบรนด์ เพราะซีอีโอถือเป็นผู้ที่รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับอินไซต์ทั้งหมดของแบรนด์ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างไม่ลังเล อีกทั้งยังสร้างความเป็น “Brand Loyalty” เพิ่มเข้ามา จึงเรียกได้ว่าการทำ CEO Branding ช่วยเชื่อมโยง ‘แบรนด์’ กับ ‘ผู้บริโภค’ ให้เข้าถึงกันได้ง่ายมากขึ้น จากเมื่อก่อน การที่เราจะได้เห็นโฉมหน้าเจ้าของแบรนด์นั้นยากจะเข้าถึง โดย ‘เส้นทางเศรษฐีออนไลน์’ ได้รวบรวมซีอีโอ ที่ทำ CEO Branding ได้จนเป็นที่รู้จัก เด็กสม
การก้าวขึ้นสู่ ชื่อเสียงระดับโลกของฮิปโปแคระ และบทเรียนจากยุคสื่อดิจิทัล การก้าวขึ้นสู่ชื่อเสียงระดับโลกของ “หมูเด้ง” ฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ที่ทำให้โลกของการสื่อสาร การตลาด และการสร้างชื่อเสียง ต้องถูกพิจารณาในมิติใหม่ ปรากฏการณ์ไวรัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดียทำให้หมูเด้ง กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ได้ในเวลาไม่นาน บทเรียนที่เราได้รับจากเหตุการณ์นี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความน่ารักหรือความบันเทิง แต่ยังสอนให้เราเข้าใจถึงพลวัตของการสร้างชื่อเสียงในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน สิ่งที่ทำให้ หมูเด้ง เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกไม่ใช่แค่ความไร้เดียงสาหรือการเคลื่อนไหวที่น่ารัก แต่เป็นการเล่าเรื่องอย่างมีชั้นเชิงผ่านโซเชียลมีเดีย ความน่าสนใจที่แท้จริงของปรากฏการณ์นี้ คือการสร้างเนื้อหาที่เชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมเข้ากับตัวฮิปโป โดยเน้นไปที่การสื่อสารความสุขและความสงบผ่านภาพและวิดีโอ เนื้อหาเหล่านี้ได้ดึงดูดให้ผู้ชมรู้สึกผูกพันกับหมูเด้งอย่างลึกซึ้ง การที่หมูเด้งได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกไม่ใช่เพียงเพราะความน่ารักของเธอเท
แบรนด์ ชวน “แอฟ” ทักษอร ควง “คุณแม่วัจฉสา” และ “น้องปีใหม่” ร่วมถ่ายทอดความรักของแม่กับลูก ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ยิ่งโตยิ่งเข้าใจ ความรักของแม่” พร้อมชวน #บอกรักแม่ด้วยแบรนด์ ให้โลกโซเชียลรู้ ลุ้น! ของรางวัลมากมาย ตั้งแต่วันนี้ – 12 ส.ค. นี้ วันแม่ปีนี้ แบรนด์ชวนบอกรักแม่ให้พิเศษกว่าเดิมด้วย “แบรนด์รังนกแท้” เพื่อตอบแทนความรัก ความทุ่มเทของแม่ที่ไม่เคยเปลี่ยน พร้อมดูแลสุขภาพแม่ให้ดีขึ้น โดยถ่ายทอดเรื่องราวความรักของ แม่กับลูกผ่าน 3 เจเนอเรชัน ในภาพยนตร์โฆษณาชุดพิเศษ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ยิ่งโตยิ่งเข้าใจ ความรักของแม่” เพราะทุกการเติบโตของลูก ทำให้เข้าใจความรักของแม่ที่มีให้ลูก ทั้งความรับผิดชอบของลูกที่มากขึ้น รวมถึงบทบาทของการเป็นแม่ โดยมีนางเอกชื่อดัง “แอฟ” ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และคุณแม่ “วัจฉสา แอนเดอร์สัน” รวมถึงลูกสาว “น้องปีใหม่” เอวาริณ เตชะณรงค์ ร่วมส่งต่อความรัก และความห่วงใยที่แม่ลูกมีต่อกัน พร้อมให้ “แบรนด์” เป็นทางเลือกของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับวันแม่ เพื่อตอบแทนความรักและความทุ่มเทของแม่ที่มีให้แก่ลูกๆ นอกจากนี้ เพื่อให้วันแม่ปีนี้ น่าจดจำ และประทับใจยิ่งกว่าที่เคย แบรนด์รังนกแท้ ยั
ออราเคิล เผย คนเอเชียกว่า 9 ใน 10 ชอบแบรนด์ที่มีอารมณ์ขัน ชี้ ความตลก เป็นกลยุทธ์การตลาดสำคัญในยุคโควิด งานศึกษาครั้งใหม่ของออราเคิล และ เกร็ตเชน รูบิน นักเขียนขายดี 5 สมัยของนิวยอร์กไทม์และนักพูดพอดคาสต์ ระบุว่า ผู้คนอยากให้แบรนด์ต่างๆ สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้แก่พวกเขา แต่ผู้บริหารธุรกิจส่วนใหญ่กลับยังกลัวที่จะใช้อารมณ์ขันในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยงานศึกษาครั้งนี้ สำรวจความคิดเห็นของผู้คนมากกว่า 12,000 รายใน 14 ประเทศ รวมถึงมากกว่า 5,000 รายในเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า ผู้คนต้องการประสบการณ์ใหม่ที่ทำให้ยิ้มและหัวเราะได้ และจะตอบแทนแบรนด์ที่ใช้อารมณ์ขันด้วยการภักดีต่อแบรนด์ การบอกต่อ และการซื้อซ้ำสินค้าแบรนด์นั้น และจะเลิกใช้แบรนด์อื่นๆ ที่ไม่มีอารณ์ขันอีกด้วย ผู้คนในเอเชียแปซิฟิกต้องการความสุขรูปแบบใหม่และยินดีจ่ายเพิ่ม นับเป็นเวลานานกว่า 2 ปีมาแล้ว ที่ผู้คนไม่เคยได้สัมผัสถึงความสุขที่แท้จริง วันนี้ พวกเขาจึงต้องหาวิธีสร้างความสุขอีกครั้งแม้ว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มก็ตาม ต่อไปนี้คือคำตอบส่วนหนึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ 44% ของผู้ทำแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้สัมผัสควา
เปิดทริก สร้าง Storytelling อย่างไร ให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมสินค้าบางอย่าง ดูเป็นสินค้าธรรมดาทั่วไป ใครๆ ก็ขายกัน แต่ทำไมคนถึงให้ความสนใจและซื้อกันเยอะ แถมบางอย่างก็ยอมจ่ายในราคาสูง สาเหตุมันเป็นเพราะอะไร เพจ K SME ได้เฉลยคำตอบเอาไว้ ซึ่งนั่นก็คือ การสร้าง Storytelling ซึ่งเป็นการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภคได้จดจำ รู้สึกดีไปกับแบรนด์ ทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ ถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ยุคนี้ไม่ทำไม่ได้ แล้ววิธีการสร้าง Storytelling จะต้องทำอย่างไรให้สำเร็จ แบรนด์ถึงจะเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ ต้องทำยังไง? 1. ทุกคนเล่าเรื่องได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักสื่อสาร ไม่ต้องเรียนจบการเขียน ทุกคนแค่เล่าเรื่องเหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง แต่เรื่องเล่านั้นต้องมีชีวิตอยู่ในนั้น และต้องเล่าออกมาจากใจ จากประสบการณ์ 2. สไตล์ ท่าที โทนเสียง ของผู้เล่าที่เป็นตัวเอง ถ้าผู้เล่าเรื่องยังหาจุดยืนไม่เจอ ไม่รู้ว่าจะเล่าเรื่องไปทำไม การเล่าเรื่องก็จะขาดสิ่งที่บอกความเป็นตัวเอง ทำให้ยากในการจำ ขาดเสน่ห์ที่จะดึงดูดคนฟังคนอ่าน เรื่องเล่านั้นเกิดขึ้น และหายไปจากใ
นักธุรกิจหนุ่มจบนอก ตัดสินใจกู้เงิน 16 ล้านสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด แบบ OEM หรือผู้รับจ้างผลิต ที่เปิดได้เพียง 3 วันต้องเจอกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นานกว่า 2 เดือน เสียทั้งโอกาส ลูกค้า และโรงงาน คุณโก้-ปิติพงศ์ รอยเรืองพานิช อายุ 30 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัท รอย คอนซูเมอร์ โปรดักส์ จำกัด เล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเองว่า เรียนจบด้านวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นย้ายไปทำงานเพื่อเก็บเงินที่ประเทศอังกฤษ ทั้งเสิร์ฟอาหาร ล้างส้วม ขายของสารพัดอย่าง ควบคู่เรียนต่อด้านการจัดการเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท (University of Portsmouth) กระทั่งสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาโทมาอีกหนึ่งใบ หลังเรียนจบ ช่วงปี 2553 ได้เข้ามาร่วมมือกับพี่สาวทำธุรกิจจำหน่ายวัตถุดิบเคมีภัณฑ์สำหรับผลิตเครื่องสำอาง น้ำยาทำความสะอาด ฯลฯ ด้วยการเช่าโกดังขนาดเล็ก กับพนักงานที่ส่วนใหญ่เป็นต่างด้าวราว 10 คน “เริ่มตั้งแต่หาลูกค้าใหม่ ดูสินค้า แพ็กของ ส่งของด้วยตัวเอง ทำเกือบทุกหน้าที่ เพราะพนักงานมีน้อยนอกจากนี้ยังเข้าไปร่วมงานกับ ธ.ก.ส. ส่งวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ พร้อมลงพื้นที่สอนกวนน้ำยาทำความสะอาดต
เคยนั่งคุยกับผู้บริหารหลายคนที่รับผิดชอบและดูแลเกี่ยวกับเรื่องการรับสมัครพนักงาน พวกเขาเล่าให้ผมฟังในทำนองคล้ายกันว่าตอนนี้ผู้บริหารรุ่นเบบี้บูมเมอร์กำลังลงจากตำแหน่ง และผู้บริหารในรุ่นเจเนอเรชั่นเอ็กซ์กำลังจะขึ้นมา ขณะเดียวกัน ในบางองค์กรตอนนี้ผู้บริหารรุ่นเบบี้บูมเมอร์เหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่สำหรับองค์กรภาครัฐ ผู้บริหารเบบี้บูมเมอร์ยังมีอยู่ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ายังเยอะอยู่พอสมควร แต่กระนั้น ในจำนวนเหล่านี้ ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าผู้บริหารบางคนมีทักษะความสามารถค่อนข้างสูง มีความชำนาญเฉพาะทาง เฉพาะด้าน ซึ่งยากที่จะหาคนรุ่นใหม่มาทำงานได้ทันที โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย, ช่างสิบหมู่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีโบราณของประเทศ ผลเช่นนี้ จึงทำให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงประกาศต่ออายุราชการให้กับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เหล่านั้น แต่ผมไม่รู้ว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะกลับมาทำงานสักกี่เปอร์เซ็นต์ ถึงกระนั้น ก็ทำให้เห็นช่องว่างของการพัฒนาบุคลากรอย่างมาก คล้ายกับว่าเราสร้า