แหล่งท่องเที่ยว
กทท. มอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ปี 66 หนุนผู้ประกอบการ 615 แห่ง ยกระดับการท่องเที่ยวไทยปลอดภัยยั่งยืน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ กรมการท่องเที่ยว (กทท.) สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดงานมอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Standard) ประจำปี 2566 ให้แก่ชุมชน โฮมสเตย์ แหล่งท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และสถานประกอบการท่องเที่ยวที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยจาก กกท. จำนวน 615 แห่ง ในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมแสดงความยินดีและให้เกียรติมอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยในครั้งนี้ กทท. ได้ดำเนินการจัดพิธีมอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงโฮมสเตย์ ชุมชน มัคคุเทศก์ และแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการให้มีความสามารถในการเข้าสู่มาตรฐานระดับส
นโยบาย “สายมู” ลงทุนจังหวัดละพันล้าน สร้างแหล่งท่องเที่ยวศักดิ์สิทธิ์ นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า เศรษฐกิจสายมู หรือเศรษฐกิจสีขาว เป็นหนี่งในนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า ที่ได้มีการพูดถึงและนำเสนอมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังไม่แถลงนโยบาย เนื่องจากเห็นว่า ท่องเที่ยวสายมู ไม่ใช่ความงมงาย “มูเตลู” คือ ความเชื่อและความศรัทธา เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะคนไทยเรา หลอมรวมกลายเป็นประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แม้แต่ในช่วงโควิด ที่ทุกจังหวัดเหลือเที่ยวบินเพียงวันละเที่ยวสองเที่ยว แต่ที่นครศรีธรรมราช กลับมีเที่ยวบิน 50 กว่าเที่ยว เพราะมีวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เงินสะพัดสู่ชุมชน ทำให้ชาวบ้านที่ค้าขายอยู่รอบๆ รวมทั้งโรงแรมที่พัก ยังคงมีนักท่องเที่ยวไปอุดหนุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง “เศรษฐกิจสายมู กำลังเป็นเทรนด์ของทั่วโลก สามารถใช้ศรัทธาและแรงบันดาลใจแปรเปลี่ยนเป็นรายได้อย่างมหาศาล พรรคชาติพัฒนากล้า จึงได้นำมาบรรจุในนโยบายเศรษฐกิจ 7 สี หรือ Spectrum Economy ที่จะหารายได้เข้าประเทศ 5 ล้านล้านบาท” หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่า
อพท. เปิดแมป ดัน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แหล่งท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนสร้างรายได้เข้าชุมชน อพท. ผนึกภาคี ร่างแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พัฒนาพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ยกระดับฐานทุนทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม สู่แนวทางการท่องเที่ยววิถี “โหนด-นา-เล” ปั้น 5 เส้นทางท่องเที่ยวตอบโจทย์ตลาดท่องเที่ยวยุคใหม่ ยืนยันเป็นหน่วยงานกลาง บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เป้าหมายใช้การท่องเที่ยวยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่ให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน “ลุ่มน้ำทะเลสาบลงขลา” พื้นที่ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง การดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของ “พื้นที่พิเศษ” จะสามารถช่วยให้พื้นที่แห่งนี้ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดความยั่งยืน ด้วยการใช้หลักการเชิงวิชาการ เชิงเทคนิค มาวิเคราะห์และกำหนดสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคด้านการท่องเที่ยวที่มีความสอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ การประกาศพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นับเป็นกลไกหนึ่งในการบริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ โดยมีองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบ
อพท. ผนึกภาคี ยกระดับอีสานใต้ ขึ้นแหล่งท่องเที่ยว ตั้งเป้าเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการเดินทาง นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกว่า 20 หน่วยงานในจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนอารยสถาปัตย์และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่ โดยมี นายอนันต์ ชูโชติ ประธานคณะกรรมการ อพท. (บอร์ด) เป็นประธาน ความร่วมมือครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นการยกระดับแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีมาตรฐานของอารยสถาปัตย์ในจังหวัดนี้ และในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ นำไปสู่มาตรฐานระดับสากลตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) โดยทุกฝ่ายจะร่วมกำหนดขอบเขตพื้นที่ต้นแบบและจัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนอารยสถาปัตย์และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายกา
อพท. เตรียมประกาศ บางกะเจ้า เป็นพื้นที่พิเศษฯ สร้างการรับรู้ภาคีเครือข่าย จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา-ยกระดับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่สากล นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า มีชื่อเสียงในด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์ ทั้งยังเป็นพื้นที่อยู่ติดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นอีกหนึ่งมหานครท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลก รัฐบาล มองเห็นถึงศักยภาพในพื้นที่ จึงมีแนวความคิดที่จะรักษาความสมบูรณ์ดังกล่าวไว้ เป็นสมบัติทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยที่ผู้อยู่อาศัย ชุมชน และทุกหน่วยงานในพื้นที่ต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่ต้น และต้องได้รับการดูแล ยกระดับคุณภาพชีวิตไปพร้อมกับการยกระดับมาตรฐานให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน อพท. จึงดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่คุ้งบา
“บ้านคำปุน” แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ฝีมือทอผ้าไหมสุดเลื่องลือ “บ้านคำปุน” คือ แหล่งผลิตและจำหน่ายผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่แห่งนี้ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหม ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดอุบลฯ ความพิเศษของ “บ้านคำปุน” นี้ คือ การเปิดให้เข้าชมแค่ปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ในช่วงเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลฯ ทุกปี เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นบ้านส่วนตัว โดยมีการเก็บค่าเข้าชม 100 บาท รายได้ไม่หักค่าใช้จ่ายจะนำไปทำบุญตามแต่จะกำหนดไว้ในแต่ละปี สำหรับชื่อเรียกขานบ้านทรงไทย บนที่ดินร่มรื่นแห่งนี้ มีที่มาจากชื่อของ คุณคำปุน ศรีใส เจ้าของผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ. 2537 และมี คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา ทายาทของเธอ เป็นผู้ดูแล คุณเถ่า กับผลงานผ้าทอผืนงาม ที่เผยได้เพียงว่า ราคาหลาละ 6 หลัก ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง ทรุด หันทำผ้าทอสืบทอดบรรพบุรุษ คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา แห่ง “บ้านคำปุน” ปัจจุบันอายุ 59 ปี ผู้ชายคนนี้ มีรางวัลการันตีความสามารถด้านผ้าทอมาแล้วมากมาย
เหมือนเปี๊ยบ! ชมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของไทย มีหมด ‘เสา-ปราสาท’ สไตล์ญี่ปุ่น นักธุรกิจ ทุ่มทุนสร้าง “ฮิโนกิแลนด์” มูลค่า 1,248 ล้าน ที่ไชยปราการ หวังเป็นเซ็นเตอร์พอยท์ภาคเหนือ แหล่งท่องเที่ยวใหม่อำเภอ เผยจุดเด่นปราสาทฮิโนกิ สูง 4 ชั้น ชมวิว 360 องศา เปิดให้ชมฟรีถึง 31 ตุลาคมนี้ ก่อนเปิดทางการต้นปีหน้า ช่วงอากาศหนาว-เข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวเชียงใหม่ คาดมีผู้เข้าชมวันละ 1,000 คน ตั้งเป้าไม่หวังกำไร ขอสร้างงาน-กระจายรายได้สู่ชุมชน รวม 1,200 ครอบครัว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม นายอนิรุทธิ์ จึงสุดประเสริฐ ประธานบริหารบริษัทบ้านไม้หอมฮิโนกิไชยปราการ จำกัด เผยถึงโครงการฮิโนกิแลนด์ บ้านร้องธาร หมู่ 6 ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ว่า เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งสร้างบนพื้นที่กว่า 83 ไร่ ห่างจาก อ.ไชยปราการ ประมาณ10 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 1,200 ล้าน หากรวมที่ดินอีก 48 ล้านบาท รวมเป็น 1,248 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างคืบหน้า 75% คาดแล้วเสร็จวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ก่อนเปิดอย่างเป็นทางการต้นปีหน้า “สาเหตุที่สร้างโครงการดังกล่าว เพื่อให้คนไทยที่ไม่ม
“แก่งสาวน้อย” หนองคายอันซีนเมืองหมีชม ความงามแก่งสาวน้อย แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนคลายเล่นน้ำยามเย็น จังหวัดหนองคาย เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในพื้นที่อันซีน ตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ชมความงดงามของ “แก่งสาวน้อย” กลางแม่น้ำโขง ลักษณะของที่นี่จะเป็นแก่งมีโขดหินเรียงรายกันสวยงาม มีน้ำโขงไหลผ่าน ซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวมาสัมผัสบรรยากาศ กลายเป็นสถานที่พักผ่อน แช่น้ำเย็นๆ คลายร้อนในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ #การเดินทาง “แก่งสาวน้อย” อยู่ห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย เพียง 10 กิโลเมตร มาได้ 2 ทาง โดยใช้เส้นทางมุ่งหน้าอำเภอท่าบ่อ ใช้ถนนหมายเลข 242 เรียบถนนพนังชลประทานมาทางบ้านหนองบัว – สะเงียว อีกทาง ถนนหมายเลข 2024 ทางหลวงชนบทผ่านบ้านหนองแจ้ง – ท่าดอกคำ โดยทั้งสองทางระยะทางเท่าๆกัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที ขอบคุณเพจ สถานีหนองคาย
ที่บริเวณริมน้ำสำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี นายบุญญะพัฒน์ จันทรอุไร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดตลาดน้ำเกษตรกาญจน์ โดยมี นายวิจิตร กมลวารินทร์ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ เกษตรกร และประชาชน เข้าร่วมในพิธีเปิดและร่วมชมงานฯ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และจังหวัดกาญจนบุรี ในการจัดทำโครงการตลาดนัดเกษตรกร โดยได้มีการจัดจำหน่ายที่บริเวณด้านข้างศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ในทุกวันพุธ มีร้านค้ามาจำหน่ายจำนวน 41 ร้าน รายได้ 72,000 บาทต่อสัปดาห์ และเพื่อเป็นการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรจึงได้จัดตลาดน้ำเกษตรกาญจน์ขึ้น ทุกวันศุกร์ ที่บริเวณริมน้ำติดกับอาคารศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ภายในตลาดน้ำจะมีการจำหน่ายพืชผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ OTOP มาจำหน่ายด้วยตนเอง นายบุญญะพัฒน์ กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีมีนโยบายในการส่งเสริมเกษตรกร ทั้งการผลิต และช่องทางการจำหน่าย สำหรับตลาดน้ำเกษตรกาญ
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.) กล่าวว่า ด้วยเมืองพัทยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยม มาท่องเที่ยว นอกจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลแล้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร วิหารเซียน , พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ ดังนั้น เมืองพัทยาจึงได้นำเส้นทางสายแยกทางหลวงหมายเลข 3 – ทางหลวงหมายเลข 331 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว มาอยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองพัทยา ทั้ง นี้ ทช.ได้ทำการปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว พร้อมสร้างทางจักรยาน สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันหรือ การสันทนาการ และส่งเสริมการท่องเที่ยว การชมทิวทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงามของแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแบบครอบ ครัว ซึ่งการก่อสร้างมีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมกับถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) ที่ กม.0+000 แนวทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกผ่านสายทาง ชบ.1008 ผ่านสายทาง ชบ.3020 ผ่านสายทาง ชบ.5010 และผ่านสายทาง ชบ.1003 จนไปสิ้นสุดโครงการ ที่ กม.13+662 บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ระยะ