โครงการพระราชดำริ
โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง และ ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เดิมที่ดินเป็นพื้นที่สงวนไว้ใช้ในราชการของกรมประชาสงเคราะห์ กรมแรงงาน และกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีสภาพเป็นที่ลุ่มและใช้ทำนา ในช่วงฤดูแล้งพื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภค ที่ดินมีสภาพค่อนข้างรกร้าง มีต้นหญ้าและวัชพืชขึ้นอยู่เต็มพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และมีบ้านเรือนราษฎรปลูกอาศัยอยู่ตามแนวริมคลองด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ เมื่อวันที่19เม.ย.2523พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นนำเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการต่าง ๆ เข้าเฝ้าฯเพื่อถวายที่ดินของส่วนราชการที่จับจองไว้และยังมิได้ทำประโยชน์จำนวน 3,032 ไร่ สำหรับใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างแหล่งเก็บน้ำอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ตามพระราชดำริ โดยโครงการพระราชดำริแห่งนี้เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนบางส่วนในเขตจังหวัดปทุมธานีปริมณฑลและกรุงเทพมหานครที่สำคัญเป็นแหล่งเก็บน้ำต้นทุนขนาดใหญ่เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำนาปรังและกิจกรร
เป็นที่ประจักษ์ชัดในหัวใจของคนไทย และคนทั่วโลกแล้วว่า พระมหากรุณาธิคุณอันเกิดจากความรักในพระราชหฤทัยของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” นั้น แผ่ขจรไปไกล และปกเกล้าปกกระหม่อมชาวไทยทุกคน มาตลอด 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ด้วย “ทศพิธราชธรรม” และนับเป็นเวลากว่า 70 ปี ที่ทุกวินาทีของคนไทย ได้รับความรัก ผ่านพระราชกรณียกิจของพระองค์ในทุกๆ ด้าน ทำให้ทุกหย่อมหญ้าของแผ่นดิน ต้นไม้เล็กๆ ของพสกนิกรได้งอกเงยขึ้นทั่วไทย เช่นเดียวกับพระราชกรณียกิจด้าน “การศึกษา” ที่ปรากฏเด่นชัดในพระบรมราโชวาทหลายต่อหลายครั้ง สะท้อนถึงความรักที่อยากให้อนาคตของไทยเติบโตขึ้นอย่างงดงาม ในเรื่องแนวพระราชดำริด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เปิดเผยไว้ในปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “แนวพระราชดำริด้านการศึกษากับอนาคตประเทศไทย” ณ ห้องประชุม สำนักพระราชวังเมื่อเดือนกันยายน 2559 ไว้ส่วนหนึ่ง นพ.เกษมเริ่มต้นเล่าพระราชดำริเรื่องการศึกษานี้ด้วยการยก พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระรา