โรคซึมเศร้า
รพ.สุขภาพจิต BMHH ในเครือเวชธานี พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เข้ารักษาเป็นอันดับหนึ่ง วันที่ 4 มิถุนายน 2567 พญ.ปวีณา ศรีมโนทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต BMHH กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้น โดยข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า คนไทยมีปัญหาด้านสุขภาพจิตประมาณ 10 ล้านคน และเข้าถึงการรักษาเพียง 38% เท่านั้น อีกทั้งการดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อคนหลายกลุ่ม ทั้งคนรอบข้าง คนในครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงาน โรงพยาบาล BMHH ในเครือโรงพยาบาลเวชธานี จึงตั้งใจที่จะดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ตั้งแต่ก่อนป่วย ป่วย ไปจนถึงการฟื้นฟู โดยตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่เปิดให้บริการ พบว่า ผู้เข้าใช้บริการมีอายุเฉลี่ย 32 ปี บวกลบ แบ่งเป็น คนไทย 88% และชาวต่างชาติ 12% โดยมีผู้เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า เป็นอันดับ 1 สอดคล้องกับข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ที่พบว่า คนไทยเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 1.5 ล้านคน รองลงมาคือ โรควิตกกังวล และความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนอายุระหว
“ป่วยซึมเศร้า” พฤติกรรมด้านสุขภาพ น่าจับตามองอันดับหนึ่ง ปี 2563 สสส. เปิด 10 พฤติกรรมสุขภาพคนไทยน่าจับตามอง ปี 2563 ระบุว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม และสื่อออนไลน์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมด้านสุขภาพที่น่าจับตามอง 10 ประเด็น ดังนี้ อันดับหนึ่ง คือ ป่วยซึมเศร้า ความเสี่ยงสำคัญของผู้ป่วยซึมเศร้าคือ อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ จากผลการสำรวจพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 2.9 ล้านคน พบสาเหตุหลัก คือ หน้าที่การงาน การถูกกลั่นแกล้ง ความรุนแรง ความสัมพันธ์ ตามมาด้วย ภัยคุกคามออนไลน์ ยิ่งเสพติดออนไลน์ยิ่งเสี่ยงสูง เจนแซด (อายุน้อยกว่า 18 ปี) เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ใช้เวลาอยู่กับการท่องโลกอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 10.22 ชั่วโมงต่อวัน มีกิจกรรมอันดับ 1 คือ โซเชียลมีเดีย การเดินทาง พบว่า คนไทยสวมหมวกกันน็อกไม่ถึง 50% ขณะที่เด็กเล็กไม่สวมหมวกกันน็อกมากถึง 92% เหตุผลหลักคือ ความเคยชิน เดินทางระยะใกล้ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ กลัวท้องมากกว่าติดโรค ปัญหาคุณแม่วัยใสลดลงมาก แต่ในขณะเดียวกันอัตราการป่วยทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นสูงขึ้น โรคที่พบมากที่สุ
WHO เตือน 2030 โรคซึมเศร้า ครองโลก! อายุ 15-29 ปี กลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า – นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เปิดเผยว่า โรคทางกายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนำโด่งเป็นอันดับต้นที่ใครๆ ก็ทราบดีคือโรคหัวใจและหลอดเลือด นั้น อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) พยากรณ์ไว้ใน Provisional agenda item 6-2 ว่า ตั้งแต่ปี 2011 ว่า ในราวปี 2030 นั้นโรคซึมเศร้า จะขึ้นมาเป็นสาเหตุของภาระโรคในระดับโลก และได้ประมาณตัวเลขให้ไว้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มคนอายุ 15-29 ปี “15-29 ปี ช่วงวัยนี้ คือ วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังของทุกชาติ หากปราศจากความเข้าใจโรคนี้ก็จะทำให้สูญเสียชีวิตดีๆ ที่เปี่ยมคุณภาพไปอย่างมากมายทั้งที่เป็นเรื่องป้องกันได้ แต่ทำไมถึงยังตายกันอยู่อย่างน่าตกใจ แม้มียารักษาได้ก็ตาม นั่นเป็นเพราะมีคนป่วยซึมเศร้าเพียงไม่ถึง 50% ที่เข้าสู่ขั้นตอนรักษาหรือในหลายประเทศนั้นตัวเลขที่เข้ารักษาไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ ดังนั้นทางแก้จึงต้องให้ถูกจุดนั่นคือทำให้ตระหนักรู้ ถึงความน่าห่วงของมันในฐานะที่เป็นหม
“หมอไทยราชสกุล” ออกโรงย้ำ “กัญชา รักษามะเร็งไม่ได้” แต่โรคซึมเศร้า บำรุงความจำ รับรองฉลุย จากการเสวนา ในหัวข้อ “กัญชา ทางการแพทย์แผนไทย” ซึ่งเป็นเวทีวิชาการ ในงานมหกรรมสมุนไพร แห่งชาติ จัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์คมสัน ทินกร ณ อยุธยา วิทยากรรับเชิญจากคลินิกแพทย์แผนไทย ในฐานะหมอไทยในราชสกุลทินกร ลำดับที่ 6 ซึ่งเป็นราชสกุลแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่ลำดับชั้นที่ 1-7 ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อย่างต่อเนื่องมิขาดสายจวบจนปัจจุบัน กล่าวตอนหนึ่งว่า กัญชาทางแพทย์แผนไทยเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น เพราะปรากฏมาตั้งแต่สมัยก่อน ความรู้สึกของแพทย์แผนไทยอย่างตน กัญชา จึงเปรียบเสมือนต้นหญ้าข้างทางที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป สำหรับความเชื่อเรื่องกัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้น อาจารย์คมสัน บอก เป็นความเชื่อผิดๆ กัญชาไม่สามารถรักษามะเร็งได้ เพราะ ไม่เคยปรากฏให้เห็นเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ หรือถูกอ้างอิงถึงในตำราการแพทย์แผนไทย และตามตำรับยา 16 ขนาน มีการสมมติฐานว่า มะเร็งไม่ใช่โรค แต่เป็นฝี คือ สิ่งที่เกินกว่าส่วนปกติในร่างกาย เกิดขึ้นบริเวณ ก้น ท้อง อย่างไรก็ตาม จ
จากกรณีข่าวความสำเร็จของการช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ทั้ง 13 ชีวิต ซึ่งติดอยู่ใน ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย สร้างความดีใจให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารของคนไทยและทั่วโลก ที่ได้เห็นทุกคนออกมาได้โดยปลอดภัย แต่สิ่งที่ทุกคนจะเจอหลังจากนี้จะต้องเจออะไร จะเกิดปัญหากับสุขภาพจิตหรือไม่ รายการโหนกระแสวันที่ 11 ก.ค.โดย “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.30-14.10 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ “นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ “นายแพทย์สุระ เจตน์วาที” แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญกู้ชีพและการลำเลียงทางอากาศ เมื่อวานออกมาอีก 5 คนไม่มีการแถลงถึงอาการ ก่อนหน้านั้นน้องๆ 2 คนปอดติดเชื้อ? นพ.สุระ : “เท่าที่ฟังมาน่าจะเป็นข่าวดีมากกว่า คือปอดติดเชื้อเป็นเรื่องปกติที่คาดการณ์เอาไว้ว่าน่าจะมี แต่ดูแล้วไม่กี่วันน่าจะฟื้นตัวได้ดี ไม่ได้ติดเชื้อรุนแรง ส่วนใหญ่สภาพแวดล้อมในถ้ำไม่ค่อยเหมาะสมอยู่แล้ว เราจะมีความสุขมากที่ได้นั่งในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก แต่ถ้าอยู่ในที่อากาศถ่ายเทแย
คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะกำกับใจได้ โดยใช้ศาสตร์ “ละคร” มาสอนใจกับ “ศาสตร์แห่งจิตวิทยา” เป็นการหลอมรวมของวิทยาศาสตร์และศิลปะอย่างลงตัว เคยตั้งคำถามไหมคะว่าเวลาที่เรารู้สึกท้อแท้ เศร้า เซ็ง ซึม หรือนอยด์ขึ้นมา อาการทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณว่าเรากำลังเดินเข้าสู่วงการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า ยิ่งถ้าใครได้ทราบข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทยที่ไม่ได้รับการรักษาถึง 1.1 ล้านคนด้วยแล้ว ยิ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่าคนที่เรารักและคนที่อยู่ใกล้ตัวเรากำลังจะเข้าข่ายเป็นหนึ่งในผู้ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ไหมหนอ… ทราบไหมคะว่าโรคซึมเศร้านี้ถือเป็นโรคร้ายแรงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการวิจัยร่วมของธนาคารโลกกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคาดการณ์อีกว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นปัยหาสาธารณสุขอันดับที่ 2 ของโลก รองลงมาจากโรคหัวใจหลอดเลือดอีกด้วย ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนค่ะว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร ทางการณ์แพทย์พบสาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากความแปรปรวนสารเคมีในสมอง คือ เซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีปริมาณลดลงอส่งผลให้สมองทำหน้าที่ผิดปกติและ