โรงพยาบาลพญาไท 2
กิจกรรมดีๆ จาก โรงพยาบาลพญาไท 2 เบาหวาน “ลดเสี่ยง เปลี่ยนวันนี้” โรงพยาบาลพญาไท 2 ชวนร่วมกิจกรรมดีๆ “ลดเสี่ยง เปลี่ยนวันนี้” เพื่อป้องกันโรคเบาหวานก่อนเสี่ยง เบาหวานไม่เพียงแค่เป็นโรคพบได้บ่อยแต่เมื่อเป็นแล้วอาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงตามมา ถึงแม้ว่าปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานจะมีมาก แต่หากใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นอย่างดี “เบาหวาน” ก็จะกลายเป็นเพียงโรคที่ไกลตัว ถ้าตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีด้วยการตรวจ FBS กับ HbA1C ซึ่งผลตรวจทั้ง 2 แบบ สามารถใช้วินิจฉัยโรคเบาหวานได้ แต่อาจมีความแตกต่างกันดังนี้ การตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1C) ช่วยใช้ติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถบอกภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การตรวจน้ำตาลในเลือด (FBS) สามารถทราบระดับน้ำตาลในเลือดว่าต่ำหรือสูงได้ แนะนำให้ตรวจควบคู่กันเพราะมีประโยชน์ในการวัดที่แตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อน…อันตรายที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวัง! การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ มีผลให้หลอดเลือดเกิดเสื่อมสภาพ และกลายเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไตวาย โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น โดยมักจะไม่แสดงอาการใ
นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหัวใจ TAVI ซ่อมลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด โรงพยาบาล พญาไท 2 ชวนเฝ้าระวังผู้ใหญ่ในครอบครัว กับความเสี่ยงวัย 75 ปีขึ้นไป ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทำให้มีการตรวจพบโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมตามวัยมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ หมดความยืดหยุ่น และมีไขมันหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดและปิดได้สนิท ส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบรุนแรง โดยพบได้บ่อยในลิ้นหัวใจห้องซ้ายล่าง บริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติกเพราะเป็นส่วนที่ทำงานหนักที่สุด มีการกระแทกลิ้นหัวใจเปิดปิดแรงเพราะต้องส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นหัวใจทำงานหนักมานานจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ โดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเริ่มมีอาการมักจะรุนแรงจนมีอันตรายแก่ชีวิตได้ ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันเข้ามาช่วยให้การรักษาเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการใช้เทคนิค TAVI (Trans Catheter Aortic Valve I
โรงพยาบาลพญาไท 2 ชวนระวัง! อาการ “ปวดหัวไม่รู้เป็นอะไร” จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นอนไม่ค่อยหลับ สายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ และมีการรับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ หรือ มีอาการปวดหัวเรื้อรัง อย่านิ่งนอนใจจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ อาการปวดศีรษะ หรือ ปวดหัว เป็นอาการป่วยที่เกิดได้บ่อยที่สุด นับเป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย ในขณะเดียวกัน ก็สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่เป็นได้มากเช่นกัน อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในสมอง ปัจจัยภายนอก อาการปวดแต่ละส่วนสามารถแยกออกเป็นโรคได้อีกหลายชนิด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพ เราจึงควรรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการปวดหัว และไม่ปล่อยให้ตัวเองปวดหัวเรื้อรัง กลุ่มที่ควรระวังมากเป็นพิเศษหากมีอาการปวดหัว ได้แก่ ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะแบบเฉียบพลันโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย, ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็งเต้านม และกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อเอดส์ สาเหตุของอาการปวดหัว แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ 1. การปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากใน
รพ. เปาโล เกษตร งดให้บริการตรวจโควิด-19 ชั่วคราว หลังน้ำยาตรวจหมด เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงพยาบาลเปาโล เกษตร โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งว่า งดให้บริการตรวจ โควิด-19 วันที่ 20 – 22 มีนาคม 2563 เนื่องจากน้ำยาที่ใช้ในการตรวจขาดชั่วคราว หากสามารถดำเนินการได้จะแจ้งให้ทราบทันที จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ โดยก่อนหน้านี้ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ออกประกาศเรื่องขอปิดรับบริการตรวจโควิด-19 ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.2563 เวลา 16.30 น. เนื่องจากน้ำยาที่ใช้ทดสอบมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และในวันเดียวกันนั้น โรงพยาบาลพญาไท 2 ย่านสนามเป้า กทม. ได้งดให้บรอการตรวจไวรัสโควิด-19 อีก 1 โรงพยาบาล เนื่องจากน้ำยาที่ใช้ในการตรวจขาดชั่วคราว หากสามารถดำเนินการได้จะแจ้งให้ทราบทันที