โรงพยาบาล BMHH
เสียงบำบัดจากธรรมชาติ…ทางเลือกใหม่ในการดูแลสุขภาพจิต ในชีวิตประจำวันของคนเมือง เราถูกล้อมรอบด้วยมลภาวะทางเสียงมากมาย จนบางครั้งเราลืมนึกถึงพลังบำบัดจากเสียงธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงสายลมที่พัดผ่านใบไม้ เสียงน้ำตก หรือเสียงคลื่นทะเล ซึ่งล้วนมีผลต่อการทำงานของสมองและร่างกายอย่างน่าทึ่ง ผลการศึกษาทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่า การฟังเสียงจากธรรมชาติเพียง 10-15 นาทีต่อวัน สามารถช่วยลดระดับความเครียดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยร่างกายจะตอบสนองด้วยการลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด ปรับสมดุลการเต้นของหัวใจ และกระตุ้นการผลิตสารเซโรโทนินที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข วิธีนำเสียงธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวัน 1. ฝึกฟังอย่างตั้งใจ : หาเวลาในแต่ละวันนั่งฟังเสียงธรรมชาติรอบตัว อาจเป็นช่วงเช้าตรู่ที่มีเสียงนกร้อง หรือยามเย็นที่ได้ยินเสียงลมพัดผ่านต้นไม้ ฟังอย่างตั้งใจโดยไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์หรือตัดสิน 2. สร้างธรรมชาติในบ้าน : จัดมุมสงบในบ้านด้วยการติดตั้งน้ำพุขนาดเล็ก แขวนกระดิ่งลม หรือปลูกไผ่ที่ใบไหวเมื่อต้องลม เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายในพื้นที่ส่วนตัว 3. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด : เลื
Othello Syndrome หึงมาก หวงมาก ต้นเหตุทำรักพัง ความรักที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ใครก็ต้องการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรักที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนอาจเจอปัญหาแฟนขี้หึง ขี้หวงอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเป็นโรคขี้หึง Othello Syndrome หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคขี้หึง (Othello Syndrome) เป็นความผิดปกติด้านจิตเวชอย่างหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจินตนาการว่าคนรักกำลังนอกใจไปมีคนอื่น หรือมีความหึงหวงอย่างรุนแรงต่อคู่รัก โดยไม่มีเหตุผล และจะพยายามหาหลักฐานว่าคู่รักของตัวเองกำลังนอกใจอยู่เสมอ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนความคิดนี้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมามักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายหรือการทำร้ายคู่รักของตนเองได้ โรคขี้หึง Othello Syndrome ไม่ได้เป็นชื่อโรคที่มีระบุไว้ในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช แต่มีอาการคล้ายกับโรคหลงผิด (Delusional) ที่ผู้ป่วยมักไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดของตนเ
เบื้องหลังคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ทำตัวเด่น อาจเป็น “โรคฮิสทีเรีย” ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนพบเจอคนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หรือชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้าง โดยบางคนอาจไม่รู้ตัวว่า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคฮิสทีเรีย” หรือ “บุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮิสทริโอนิก” ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของบุคคล แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า คำว่า ฮิสทีเรีย (Hysteria) หมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์ และท่าทางมากกว่าปกติ พฤติกรรมลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ถ้ามีพฤติกรรมนี้ร่วมกับมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ ควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองไม่ค่อยได้ และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ดีเท่าคนปกติ อาจนึกถึงโรคบุคลิกภาพแปรปรวนในกลุ่มบี (Cluster B Personality Disorder) โรคฮิสทีเรียมี 2 ประเภท ดังนี้ 1. โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversion Reaction) คือ เมื่อมีความเครียดหรือความกังวลใจมาก จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหว และกา
รพ.สุขภาพจิต BMHH ในเครือเวชธานี พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เข้ารักษาเป็นอันดับหนึ่ง วันที่ 4 มิถุนายน 2567 พญ.ปวีณา ศรีมโนทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต BMHH กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้น โดยข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า คนไทยมีปัญหาด้านสุขภาพจิตประมาณ 10 ล้านคน และเข้าถึงการรักษาเพียง 38% เท่านั้น อีกทั้งการดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อคนหลายกลุ่ม ทั้งคนรอบข้าง คนในครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงาน โรงพยาบาล BMHH ในเครือโรงพยาบาลเวชธานี จึงตั้งใจที่จะดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ตั้งแต่ก่อนป่วย ป่วย ไปจนถึงการฟื้นฟู โดยตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่เปิดให้บริการ พบว่า ผู้เข้าใช้บริการมีอายุเฉลี่ย 32 ปี บวกลบ แบ่งเป็น คนไทย 88% และชาวต่างชาติ 12% โดยมีผู้เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า เป็นอันดับ 1 สอดคล้องกับข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ที่พบว่า คนไทยเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 1.5 ล้านคน รองลงมาคือ โรควิตกกังวล และความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนอายุระหว
อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณเตือน “PMDD” ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับอาการหรืออารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เช่น รู้สึกไม่สบายตัว ปวดหัว ปวดเมื่อย ไม่มีแรง หิวบ่อย หงุดหงิดโมโหง่าย ทำให้หลายคนคิดว่าอาจเป็นแค่อาการ PMS (Premenstrual Syndrome) หรือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ถ้ามีอาการแบบนี้เรื้อรังมากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน หรือเริ่มมีอาการที่รุนแรงในด้านจิตใจและอารมณ์ จนมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจเข้าข่าย PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) หรือ กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง แพทย์หญิง อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) คือ กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง เป็นอาการที่รุนแรงของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ที่จะมีความผิดปกติทางร่างกายจิตใจหรืออารมณ์อย่างรุนแรงโดยสัมพันธ์กับช่วงก่อนการมีประจำเดือน บางคนอารมณ์อ่อนไหว แปรปรวนง่าย ซึมเศร้าอย่างมาก สิ้นหวัง ไม่อยากมีชีวิต วิตกกังวลอย่างรุนแรง ร้องไห้บ่อย โมโหร้าย อารมณ์
“โรคจิตเภท” ไม่น่ากลัว รีบรักษามีโอกาสหาย โรคจิตเภท เป็นโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอาการ หูแว่ว ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ ก้าวร้าว ซึ่งถ้าหากไม่รีบมารักษาอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้มีความคิดและการรับรู้ที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากคนทั่วไป เช่น หลงเชื่อว่าจะมีคนมาทำร้าย หรือเห็นภาพหลอน สาเหตุการเกิดโรคจิตเภท – พันธุกรรม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยเป็นโรคจิตเภท ก็จะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม – ความผิดปกติของสมอง เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทั้งความคิด การรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง มีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากคนทั่วไป – ภาวะทางด้านจิตใจ ผู้ที่มีภาวะความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น ความ
กินไม่หยุด ควบคุมตัวเองไม่ได้ สัญญาณเตือนโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันอ้วนโลก (World Obesity Day) ซึ่งมีจุดประสงค์ในการรณรงค์สร้างความตระหนักถึงผลกระทบของโรคอ้วนสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งสาเหตุของโรคอ้วน นอกจากวิถีชีวิต และ พฤติกรรมการกินแล้ว โรคอ้วนยังอาจมีสาเหตุจากโรคทางจิตเวชในกลุ่ม โรคความผิดปกติทางการกิน (Eating Disorders) ซึ่งโรคเหล่านี้ พบได้บ่อย แต่มักจะถูกมองข้าม และในบางกรณี หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคความผิดปกติทางการกิน (Eating Disorders) เป็นโรคทางจิตเวช ที่มีอาการสำคัญ คือ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นการอดอาหาร หรือกินเยอะจนควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาการทางพฤติกรรมเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ เช่น อาจสัมพันธ์กับความกังวลต่อน้ำหนักตัว กังวลต่อรูปร่าง เป็นต้น 4 กลุ่มโรค พฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorders ที่พบได้บ่อย Anorexia Nervosa (อะนอเร็กเซีย) เป็นกลุ่มที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมาก พยายามควบคุมพฤติกรรมการ
4 ขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อรับมือ และพร้อมที่จะก้าวข้ามผ่านความสูญเสีย หากพูดถึง “การสูญเสีย” เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องพบเจอ เช่น สูญเสียของรัก ทรัพย์สิน และบุคคลอันเป็นที่รัก แต่หลายคนยังไม่ทันได้เตรียมตัวที่จะพบการกับการสูญเสีย ก็อาจทำให้ต้องใช้เวลานานในการทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น และความเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า การสูญเสียคนรักเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต ความรู้สึกเศร้า เสียใจ โหยหา และสิ้นหวัง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้หลายคนเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม หลังจากช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตในทางลบเป็นอย่างมาก โดยสภาพจิตใจของผู้ที่ได้รับความกระทบกระเทือนหลังการสูญเสียบุคคลที่รักมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น อาการทางความรู้สึก เศร้า มึนชา ช็อก โกรธที่ตัวเองไม่สามารถป้องกันการตายนั้นได้ โกรธที่ผู้ตายทิ้งตัวเองไป โกรธที่หมอไม่สามารถรักษาผู้ตายได้ ความโกรธที่น่ากลัวที่สุดคื
7 วิธีรับมือ หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ซึ่งแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงที่แตกต่างกัน จนทำให้มีความรู้สึกกังวล เศร้า โกรธ นอนไม่หลับ เสียสมาธิ คิดวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คนส่วนใหญ่จะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเหตุการณ์ผ่านไประยะหนึ่ง แต่บางคนยังคงมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดเป็นโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง posttraumatic stress disorder (PTSD), หรือ โรคเครียดฉับพลัน Acute stress disorder (ASD) อาการที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ กังวล เศร้า หรือกลัวมาก, ร้องไห้บ่อย, โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจมาก, สมาธิความจำไม่ดี, ฝันร้าย นอนไม่หลับ, คิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กลัวว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอีก, หลีกเลี่ยงสถานที่ ผู้คน หรือสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น, แยกตัวจากสังคม, มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เหงื่อแตก ใจสั่นและตื่นตกใจง่าย 7 วิธีรับมือความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง กระทบจิตใจ