โอลิมปิก 2024
เมืองไทยประกันชีวิต มอบเงินพิเศษสนับสนุนนักกีฬาไทย คว้าชัย โอลิมปิก 2024 เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมแสดงความยินดีกับนักกีฬาสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย และสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก 2024 พร้อมมอบเงินสนับสนุนพิเศษเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่สมาคมและนักกีฬา รวม 2.3 ล้านบาท นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทขอร่วมแสดงความยินดีกับนักกีฬาทุกท่าน ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 นี้ ซึ่งเป็นเวทีการแข่งขันกีฬาที่มีเกียรติและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก การที่นักกีฬาเหล่านี้สามารถผ่านการคัดเลือกได้นั้น ไม่เพียงแต่แสดงถึงความสามารถและความทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ยังเป็นการยืนยันถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของคนไทยที่สามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้อย่างภาคภูมิใจ” นายสาระ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่าน ถือเป็นตัวแทนของคนไทย ทั้งประเทศ ทุกครั้งที่พวกเขาลงสนามแข่งขัน เราทุกคนต่างรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน และขอชื่นชมในความ
20 ไฮไลต์โอลิมปิก 2024 มหกรรมที่ชาวโลกมีส่วนร่วมเยอะที่สุดในโลก สร้างกระแสไวรัลทั่วโลกออนไลน์ “โอลิมปิก” มหกรรมที่ชาวโลกมีส่วนร่วมมากที่สุดในโลก หลากหลาย เชื้อชาติ ชนชั้น ความฝัน ภาพจำ และบทตำนาน โดยเฉพาะ โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่ฝรั่งเศส ที่ได้สร้างความประทับใจในมิติต่างๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน 1. สนามแข่งอลังการยั่งยืน ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศส ถูดอวดโฉมผ่าน “สนามจัดการแข่งขัน” อาทิ สวนหน้าพระราชวังแวร์ซาย ถูกเนรมิตให้เป็น สถานที่จัดการแข่งขันขี่ม้าประเภทต่างๆ และกีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (Modern Pentathlon) สนามกีฬาแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้พระราชวังเป็นฉากหลังสำหรับกล้องโทรทัศน์ ส่วน “กร็องปาแล” สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกรุงปารีส ในฐานะสถานที่ใช้จัดงานมหกรรม นิทรรศการศิลปะ ถูกใช้เป็นที่จัดแข่งขันกีฬาฟันดาบ และเทควันโด ภายใต้ความงดงามตระการตาของการนำสถานที่สำคัญของเมืองมาจัดเป็นสนามกีฬานั้น ทางฝรั่งเศสได้นำแนวคิด sustainable หรือ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ โดยยึดการใช้พื้นที่ดั้งเดิมให้เกิดประโยชน์ อาทิ การใช้สนามแข่งขันชั่วคราวกลา
พลังสู้โว้ย “ทีมยกน้ำหนักไทย” ท็อปฟอร์มอีกครั้ง กวาดเหรียญ โอลิมปิก 2024 หลังเคยโดนแบน อีกหนึ่งความสุขของคนไทย ในโอลิมปิก ปารีส 2024 คือการคว้า 2 เหรียญเงินจากกีฬายกน้ำหนักชาย และเหรียญทองแดงจากกีฬายกน้ำหนักหญิง และยังมีให้ลุ้นเหรียญอีก 1 รุ่น เดิมการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก ในโอลิมปิก มีเฉพาะประเภทชาย โดยประเทศไทยส่งนักกีฬายกน้ำหนักร่วมแข่งขันครั้งแรกในปี 1964 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และส่งเข้าร่วมในปี 1968, 1972, 1976,1992 และ 1996 แต่ยังไม่เคยสัมผัสเหรียญรางวัลใดๆ จนกระทั่งในปี 2000 อันเป็นปีแรกที่การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักหญิง ได้ถูกบรรจุเข้าในโปรแกรมการแข่งขันครั้งแรกในโอลิมปิก 2000 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เกษราภรณ์ สุตา ได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกีฬายกน้ำหนักไทย ในโอลิมปิก ด้วยการประเดิมคว้าเหรียญทองแดง จากการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักรุ่น 58 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นทั้งเหรียญแรกของกีฬายกน้ำหนักไทย และเหรียญแรกของผู้หญิงไทยในโอลิมปิก ประกายความหวังที่จุดขึ้นโดย เกษราภรณ์ ได้เป็นแรงผลักดันให้ในอีก 4 ปี ต่อมา อุดมพร พลศักดิ์ หรือ น้องอร ได้ตะโกนคำว่า สู้โว้ย ลั่นสนามการ
เปิดเส้นทาง “บ้านทองหยอด” จากโรงงานขนมไทย สู่แหล่งผลิตนักแบดระดับโลก “บ้านทองหยอด” แหล่งผลิตขนมหวานหลากชนิดที่เรารู้จักกันดี แต่นอกจากการผลิตขนมหวานแล้ว ยังส่งออกเหล่านักกีฬาแบดมินตันมากฝีมือ อย่าง เมย์-รัชนก อินทนนท์ แชมป์โลกแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุด และล่าสุด วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบดมินตันชายเดี่ยวมือ 4 ของโลกชาวไทย คว้าเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 2024 แต่ก่อนที่บ้านทองหยอดจะมาเป็นแหล่งผลิตนักกีฬาเก่งๆ ที่แห่งนี้เป็นโรงงานทำขนมมาก่อน และวันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาทุกท่านมาดูเส้นทางความเป็นมาของบ้านทองหยอด จากโรงงาน สู่แหล่งผลิตนักกีฬา จุดเริ่มต้นจากโรงงานขนม สู่แหล่งผลิตนักแบดทีมชาติ แม่ปุก-กมลา ทองกร เจ้าของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ได้เล่าเรื่องราวชีวิตผ่านรายการ Perspective ไว้ว่า ในสมัยก่อนชีวิตค่อนข้างลำบาก แม้แต่จะทำผัดผักบุ้งกิน ยังต้องผัดกับน้ำเลย แต่ความลำบากทำให้ต้องต่อสู้และดิ้นรน เลยต้องหาทุกวิถีทางที่ทำแล้วได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ด้วยครอบครัวมีพี่น้อง 7 คน รายได้ไม่พอ คุณแม่ของเธอเลยคิดว่าจะลองทำฝอยทองขาย จึงทำให้แม่ปุกตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยที่บ
“ยังไม่ใช่วันของเรา” ปรีดิ์อัญ นักกีฬาขี่ม้าหัวใจใหญ่ ยอมหยุดเส้นทางโอลิมปิก 2024 เพื่อชีวิตของเพื่อนคู่ใจ “เราขี่ม้ามาทั้งชีวิต รอมาทั้งชีวิตเพื่อวันนี้” คือคำพูดของ ชนกภรณ์ การุณยธัช นักกีฬาไทยคนแรก ผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการกีฬาไทย ด้วยการเป็นนักกีฬากระโดดข้ามเครื่องกีดขวางคนแรกที่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ชนกภรณ์ การุณยธัช หรือชื่อเล่น ปรีดิ์อัญ เริ่มเรียนขี่ม้าตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ก่อนสร้างชื่อ คว้าแชมป์คิงคัพได้ตั้งแต่อายุ 14 ปี เป็นนักแข่งที่อายุน้อยที่สุดที่สามารถคว้าถ้วยพระราชทานมาครองได้ ในวัย 15 ปี เธอตัดสินใจขอครอบครัว ออกสู่โลกกว้าง ซึ่งได้การสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคุณพ่อ พลตำรวจโท วรัญวัส การุณยธัช และคุณแม่ชุมพร รัตนะวีระวงศ์ ให้ย้ายไปเรียนขี่ม้าที่ประเทศไอร์แลนด์เหนือ พร้อมลงแข่งขัน และเรียนควบคู่กันไปด้วย จนจบการศึกษาในสาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Politics and International Relations) ที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) ในปี 2018 ผลงานของ ปรีดิ์อัญ ในฐานะนักกีฬาขี่ม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ทีมชาติ สร้างประวัติศาสตร