ไข่มดแดง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย ไข่มดแดงให้โปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ ไม่ควรกินสุกๆ ดิบๆ แนะควรปรุงสุกทุกเมนู หากเป็นประเภทยำไม่ควรค้างคืน เสี่ยงท้องร่วงได้ เว็บไซต์ กรมอนามัย เผย นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากที่มีการนำเสนอข่าวชาวบ้านในบางพื้นที่ ซึ่งว่างเว้นจากการทำไร่ ทำนา ได้ออกหาไข่มดแดงมาประกอบอาหาร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ในช่วงราคาสินค้าต่างๆ พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถ้าหาได้จำนวนมากก็จะนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เสริมนั้น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่าไข่มดแดงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของคนชนบทมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในจำนวนไข่มดแดงปริมาณ 100 กรัม มีไขมัน 2.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.16 กรัม และวิตามินบีสอง 4.68 มิลลิกรัม เมื่อนำมาเทียบกับไข่ไก่จัดว่าไข่มดแดงมีไขมันน้อยกว่า เนื่องจากไข่ไก่ มีไขมันสูงถึง 9.65 กรัม โปรตีน 12.77 กรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.17 มิลลิกรัม และวิตามินบีสอง 0.37 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ตัวมดแดงมีกรดน้ำส้มให้รสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวหรือน้ำส้มสายชูได้อีกด้วย “ทั้งนี้ การนำไข่มดแดงมาปรุงอาหารควรล้างให้สะอาดเ
ช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่างจากการทำนาจึงได้หาอาชีพเสริมอื่นๆ ทำ เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เช่นเดียวกับ คุณตุ้ม ขาวงาม อายุ 72 ปี ชาวบ้านมะค่า หมู่ที่ 5 ต.มะค่า อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ก็ได้ใช้เวลาว่างจากการทำนา ออกหาแหย่ไข่มดแดงขาย โดยถือไม้ไผ่และฮวด ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแหย่ไข่มดแดง ออกหาแหย่ไข่มดแดงตามต้นไม้ ทั้งในหมู่บ้าน และตามทุ่งนา ซึ่งแต่ละวันสามารถหาไข่มดแดงมาขายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 700-800 บาท เลยทีเดียว คุณตุ้ม เปิดเผยว่า อาชีพหลักของตนนั้นคือ การทำไร่ ทำนา แต่เมื่อมีเวลาว่างก็จะหาไข่มดแดงมาขายเป็นรายได้เสริม ซึ่งทำมานานกว่า 12 ปีแล้ว สำหรับการหาไข่มดแดงนั้น ก็จะไปกับคุณตา 2 คน โดยจะออกไปหารังมดแดงในทุ่งนา หรือในหมู่บ้าน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ซึ่งมดแดงจะชอบทำรังออกไข่บนต้นไม้หลายชนิด อาทิ ต้นสะแก ต้นสะเดา และต้นมะม่วง ส่วนจะรู้ว่ารังไหนมีไข่มากๆ นั้น ก็ต้องสังเกตรังที่มีใยขาวๆ อยู่ขอบรัง และถ้ารังไหนที่มีน้ำหนักจนกิ่งไม้โน้มลงมา จะได้ไข่มดแดงมากเป็นพิเศษ เมื่อได้ไข่มดแดงมาแล้ว ก็จะนำมาแช่น้ำเพื่อคัดแยกไข่ออกจากตัวมดแดง ซึ่งวิธีคัดก็ต้
“ไข่มดแดง” ໄຂ່ມົດແດງ หรือ “ไข่มดส้ม” ໄຂ່ມົດສົ້ມ ในภาษาอีสาน–ลาว เป็นไข่ของมดแดงที่เรียกกันว่า “แม่เป้ง” ซึ่งเป็นไข่และตัวอ่อนระยะดักแด้ของมดแดง ที่ว่าเป็นของหรูนี้ก็เพราะว่าราคาของมันนั้นแพงเอาเรื่อง กิโลกรัมละหลายร้อยบาท ความนิยมของไข่มดแดงในฐานะอาหารโอชารส ที่ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียวนี้ ทำให้เกิดการคิดค้นในการเลี้ยงมดแดงขึ้น และยังมีการบรรจุใส่กระป๋องส่งออกขายไปยังต่างแดนด้วย อาหารบ้านๆ จึงได้โกอินเตอร์ไปบริการชาวไทย-ลาวทั่วโลก เมื่อลมแล้งเริ่มฤดู มดแดงต่างขะมักเขม้นม้วนใบไม้ทำรังบนต้นไม้สูง เขาจึงว่ามันเป็นอาหารชั้นสูง ช่วงนี้ชาวบ้านจะออกชะเง้อมองหารังแล้วแหย่รังสอยลงมา ไข่มดแดงนี้ ว่ากันว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงทั้งโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ขนาดองค์การอนามัยโลก รณรงค์ให้กินเป็นอาหารเช่นเดียวกับการบริโภคแมลงที่ชาวตะวันตกเคยเห็นเป็นของประหลาด ชาวลาวนิยมเอาไปต้มใส่ปลาค้อ (ปลาช่อน) ใส่ในแกงเห็ด แกงผักหวาน เช่นเดียวกับชาวไทยอีสานและเหนือ จะใส่ปลาแห้งหรือเนื้อปลาด้วยก็แล้วแต่ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือปลาร้า ที่จะทำให้แกงถ้วยนี้นัวยิ่งขึ้น เครื่องแกงหลักๆ ประกอบด้วย พริก ห
กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังการกินไข่แมงดาถ้วยหรือเห-ราช่วงหน้าร้อน มีพิษรุนแรงเหมือนพิษปลาปักเป้า ความร้อนทำลายพิษไม่ได้ ปีนี้พบผู้ป่วยแล้ว 7 ราย แนะหากมีอาการลิ้นชา ชารอบปาก อาเจียน หน้ามืด ให้รีบพบแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังการกินไข่แมงดาถ้วยหรือเห-ราช่วงหน้าร้อน มีพิษรุนแรงเหมือนพิษปลาปักเป้า ความร้อนทำลายพิษไม่ได้ ปีนี้พบผู้ป่วยแล้ว 7 ราย แนะหากมีอาการลิ้นชา ชารอบปาก อาเจียน หน้ามืด ให้รีบพบแพทย์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการรับประทานไข่แมงดาทะเล จำนวน 33 ราย เสียชีวิต 3 ราย ล่าสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ พบผู้ป่วย 7 ราย จากการนำไข่แมงดาทะเลเผาที่ซื้อจากตลาดมาปรุงอาหารรับประทานด้วยกัน หลังจากนั้นทุกรายมีอาการชามือ ชาเท้า ชาปลายลิ้น อาเจียน บางรายมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากพิษของไข่แมงดาถ้วยหรือเห-รา ที่นำมารับประทานเพราะคิดว่าเป็นแมงดาจานซึ่งรับประทานได้ สารพิษนี้ทนทานความร้อนสูงมาก การต้ม ทอ
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำกัด หมู่ 12 ต.ค้อเหนือ อ.เมือง จ.ยโสธร โดยสมาชิกสหกรณ์กำลังเร่งผลิตเห็ดโคนและไข่มดแดงด้วยวิธีแช่น้ำเกลือ มีทั้งแบบบรรจุขวดแก้วกับแบบบรรจุกระป๋อง ส่งขายในราคา 160-350 บาท สามารถสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มรายละ 300-400 บาทต่อวัน นางโสม สายโรจน์ อายุ 67 ปี สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสหกรณ์จะรับซื้อเห็ดโคนและไข่มดแดงจากชาวบ้านในพื้นที่ป่าดงมันราคากิโลกรัมละ 350 บาท โดยวันหนึ่งจะมีคนนำมาขายให้ประมาณ 30-40 กิโลกรัม จากนั้นจะนำเห็ดมาล้างทำความสะอาด ก่อนนำไปลวกในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที นำขึ้นไปแช่ในน้ำเย็นจัด พักเห็ดไว้แล้วนำมาบรรจุใส่ขวดแก้วและกระป๋องตามปริมาณ จากนั้นเติมน้ำเกลือเพื่อให้เห็ดเก็บไว้ได้นาน ก่อนจะนำเข้าหม้อนึ่งเพื่อไล่อากาศ ต่อมานำกระป๋องและขวดแก้วเข้าเครื่องนึ่งความดันเพื่อไล่อากาศและฆ่าเชื้อ ทำให้สามารถเก็บไว้นาน นำออกจำหน่ายในราคากระป๋องละ 180 บาท ส่วนราคาขวดแก้วอยู่ที่ขวดละ 350 บาท และในหนึ่งปีสหกรณ์จะสามารถจำหน่ายสินค
ช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่างจากการทำนาจึงได้หาอาชีพเสริมอื่นๆ ทำ เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เช่นเดียวกับนางตุ้ม ขาวงาม อายุ 72 ปี ชาวบ้านมะค่า หมู่ที่ 5 ต.มะค่า อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ก็ได้ใช้เวลาว่างจากการทำนา ออกหาแหย่ไข่มดแดงขาย โดยถือไม้ไผ่และฮวด ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแหย่ไข่มดแดง ออกหาแหย่ไข่มดแดงตามต้นไม้ ทั้งในหมู่บ้าน และตามทุ่งนา ซึ่งแต่ละวันสามารถหาไข่มดแดงมาขายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 700 – 800 บาทเลยทีเดียว นางตุ้ม เปิดเผยว่า อาชีพหลักของตนนั้นคือการทำไร่ ทำนา แต่เมื่อมีเวลาว่างก็จะหาไข่มดแดงมาขายเป็นรายได้เสริม ซึ่งทำมานานกว่า 12 ปีแล้ว สำหรับการหาไข่มดแดงนั้น ก็จะไปกับคุณตา 2 คน โดยจะออกไปหารังมดแดงในทุ่งนา หรือในหมู่บ้าน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ซึ่งมดแดงจะชอบทำรังออกไข่บนต้นไม้หลายชนิด อาทิ ต้นสะแก ต้นสะเดา และต้นมะม่วง ส่วนจะรู้ว่ารังไหนมีไข่มากๆ นั้น ก็ต้องสังเกตรังที่มีใยขาวๆ อยู่ขอบรัง และถ้ารังไหนที่มีน้ำหนักจนกิ่งไม้โน้มลงมา จะได้ไข่มดแดงมากเป็นพิเศษ เมื่อได้ไข่มดแดงมาแล้ว ก็จะนำมาแช่น้ำเพื่อคัดแยกไข่ออกจากตัวมดแดง ซึ่งวิธีคัดก็ต้