ไข้เลือดออก
สมุนไพรสู้โรค เผยผลศึกษา “ใบมะละกอ” สู้ไวรัสไข้เลือดออก ได้ผลดี ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในช่วงนี้ไข้เลือดออกระบาด จากข้อมูลโดยกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 3 เท่า และสำหรับผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว มีโอกาสที่จะเป็นได้อีกและอาการจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ แต่ติดแล้วมีภูมิคุ้มกันก็แค่สายพันธุ์เดียว การป้องกันการระบาดที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้ยุงลายมากัด ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกัน เช่น ฟ้าทะลายยุง หรือตะไคร้หอม ร่วมกับการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ก็จะช่วยได้ ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวว่า สำหรับอาการของโรคไข้เลือดออกนั้นมีตั้งแต่อาการน้อย ถึงมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ป่วย 100 ราย ไม่มีอาการ 80 ราย มีอาการน้อย 10 และอีก 10 รายอาการมากจนต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้น ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตอาการ กล่าวคือ เมื่อได้รับเชื้อที่มากับยุง อาจมีไข
น่าเป็นห่วง ผู้ป่วยเด็กภาวะอ้วน เสี่ยงวิกฤตไข้เลือดออก ช่วงเข้าหน้าฝน ในบรรดาประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เช่นประเทศไทย มักหนีไม่พ้นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศเริ่มมีฝนโปรยปราย การถูกกัดโดยยุงที่เป็นพาหะของโรคติดเชื้อไข้เลือดออกอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยถึงขั้นวิกฤต แพทย์หญิงโรจนี เลิศบุญเหรียญ อาจารย์กุมารแพทย์ประจำสาขาเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ขณะนี้หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มมีผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีอาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโดยตามธรรมชาติของการระบาดของโรคดังกล่าว มักพบมากขึ้นในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน และอาการจะเริ่มทรุดลงหลังไข้ลดประมาณ 3-5 วัน นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออกที่รุนแรงได้มากกว่าเด็กปกติ เนื่องจากมีการอักเสบของร่างกายที่อาจจะรุนแรงกว่าเด็กปกติ และสังเกตอาการได้ยากกว่า อีกทั้งยังพบ
รับมือไข้เลือดออก เปิดวิธีทำ สเปรย์ตะไคร้หอม ไล่ยุง อย่างง่าย ใช้ในครัวเรือน สเปรย์ตะไคร้หอม – นพ.สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนหลายๆ จังหวัดของประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ปัจจุบันของโรคไข้เลือดออก (ข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2562) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 26,430 ราย และมีแนวโน้มของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับโรคไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในระยะที่มีเลือดออก (ระยะช็อก) ก็อาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้ และวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอแนะนำสมุนไพรพื้นบ้าน หาง่ายใช้สะดวก เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน มีสารสำคัญช่วยไล่ยุง ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ เช่น ตะไคร้หอม ซึ่งจะแต
ดร.ทวีศักดิ์ ตีระวัฒนพงศ์ ที่ปรึกษาวิชาการด้านโมเลกุลลาร์ บริษัท N Health เปิดเผยว่า ช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวแล้ว สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยุงลายเป็นตัวนำโรค/พาหะโรคไวรัสต่าง ๆ คือ โรคไข้เลือดออก/โรคเด็งกี่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย/โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อซิกา โรคติดเชื้อซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคปวดข้อยุงลาย เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายชนิดเดียวกัน ต่างกันแต่สายพันธุ์ของไวรัส ดังนั้นธรรมชาติของยุงลาย วิธีติดต่อของโรค รวมถึงวิธีป้องกันโรค เหมือนกันทุกประการ อาการของโรคก็จะคล้ายกันมาก คือ มีไข้เฉียบพลัน มักเป็นไข้ไม่สูงมากมักประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส ไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายมักเป็นไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะแต่ไม่มาก ปวดข้อแต่ไม่มาก แต่โรคปวดข้อยุงลายจะปวดข้อมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว มีอ่อนเพลียไม่มากแต่ไข้เลือดออกจะอ่อนเพลียมาก มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังได้ทั่วร่างกาย สำหรับโรคติดเชื้อซิกาจะมีอาการเยื่อตาอักเสบ (อาการสำคัญคือ ตาแดง) ร่วมด้วย แต่ไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายที่มักจะไม่มีอาการนี้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์/ไปโรงพ
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.)ที่ 12 จ.สงขลา เปิดเผยว่าในพื้นที่ สคร. 12 มี จ.สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี และ จ.ยะลา พบผู้ป่วย 7,596 ราย เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 58 ผู้ป่วยตาย 11 ราย จ.สงขลา 6 ตรัง 1 สตูล 1 นราธิวาส 1 ยะลา 1 และ ปัตตานี 1 คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.14 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จ.สงขลา รายงานข่าวแจ้งว่าอำเภอที่มีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จ.สงขลา อ. คลองหอยโข่ง หาดใหญ่ จะนะ เมืองสงขลา สะเดา นาทวี สะบ้าย้อยและ อ.เทพา จ.พัทลุง อ.ตะโหมด อ.กงหรา อ.ป่าบอน อ.เมืองพัทลุง จ.ยะลา อ. เมืองยะลา อ. เมืองนราธิวาส อ. รือเสาะ จ.ตรัง อ.เมือง จ.สตูล อ.เมือง จ.ปัตตานี อ. ยะหริ่ง ที่มา มติชน
เมื่อวันที่ 14 กันยายน นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ต่อกรณีน้ำท่วมในหลายจังหวัด ว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ให้เฝ้าระวังโรคระบาดที่จะตามมาจากปัญหาน้ำท่วม อาทิ โรคฉี่หนู และโรคอุจจาระร่วง รวมถึงภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน หรือการจมน้ำ พร้อมกันนี้ยังได้กำชับผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ย้ำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัดทั่วประเทศ ลงพื้นที่ดำเนินมาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่ เพื่อป้องกัน 3 โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ คือไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ขณะเดียวกันก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงฯ ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการเอาผิดผู้ที่ปล่อยปะละเลยไม่ดูแลบ้าน หรือพื้นที่ของตนเองเป็นแหล่งกำเนิดยุง หรือแหล่งก่อโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น “กำลังให้กระทรวงฯ โดยฝ่ายกฎหมาย.ไปดู ใครไม่ทำหากเจอในบ้านตัวเองจะผิดหรือไม่ มิฉะนั้นก็ปล่อยให้มียุง ถ้ายุงบ้านคุณมากัดผม แล้วผมเป็นซิกา หรือไข้เลือดออก คุณผิดไห