ไทยแลนด์ 4.0
นางสาวณัฐฐินีย์ ตลับนาค บรรณาธิการ นิตยสาร Construction Variety เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ และสมาคมศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) ประสานมิตร และมูลนิธิก้าวไกลในเอเชียฯลฯ จัดเสวนาเรื่อง “ผังเมือง…ยุคไทยแลนด์ 4.0” ในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 12.30 -17.30 น. ที่ ห้องประชุม 201 (ศ.ดร.ประสาท หลักศิลา) ชั้น 2 คณะสังคมศาสตร์ มศว.ประสานมิตร (ซอยสุขุมวิท 23) การจัดเสวนาวิชาการครั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และชี้ให้เห็นถึงทางออกในการปรับตัวของภาคเอกชนและนักวิชาชีพ รับมือปี 2560 ตามแผนพัฒนาเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล และการปฎิรูปผังเมือง ไทยในยุค “ไทยแลนด์ 4.0” นางสาวณัฐฐินีย์กล่าวว่า ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย และผศ.ทิวา ศุภจรรยา, ผอ.สถาบันถิ่นฐานไทย ฯลฯ
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปพัฒนาและจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise Center) หรือ IDE Center เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยได้เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นายสุวิทย์ กล่าววว่า ศูนย์นี้จะช่วยรวบรวมแนวโน้มนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลก แล้วมาบอกต่อกับผู้ประกอบการไทย เพื่อให้ผลิตสินค้าและบริการได้ตรงตามความต้องการและขายได้ โดยเน้นในสินค้าอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม ได้แก่ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) คืออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต รวมถึง 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) คือ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร แล
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานแถลงข่าว “เปิดยุทธศาสตร์สถาบันพลาสติก กับการทรานฟอร์เมชั่นอุตสาหกรรมสู่ไทยแลนด์ 4.0″ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ว่า กระทรวงฯมีเป้าหมายให้อุตสาหกรรมพลาสติกไทยเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นจะเร่งสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการผ่านการวิจัยพัฒนา ยกระดับผลิตภัณฑ์ไปสู่พลาสติกชีวภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีผู้ผลิตพลาสติกที่คิดเป็น 80%ของผู้ประกอบการทั้งหมด เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมพลาสติกในอาเซียน อย่างไรก็ตามมาตรการแรกที่ภาครัฐต้องดำเนินการคือการสร้างจูงใจ ให้ผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพมากขึ้นแลกกับสิทธิประโยชน์ต่อธุรกิจ ส่วนมาตรการบังคับสำหรับไทยน่าจะใช้เวลาอีกหลายปี แต่เชื่อว่าจะเดินไปสู่จุดนั้นตามเทรนด์โลกที่ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มกำหนดสัดส่วนการใช้พลาสติกที่มาจากชีวภาพแล้ว นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า สถาบันอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตและส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 5 ปีจากนี้(2559-2564) ให้มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายต
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ขานรับยุทธศาสตร์ชาติ ในการผลักดันประเทศไทยเข้าสู่โมเดล “ไทยแลนด์ 4.0” เร่งส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม อาทิ หุ่นยนต์ เพื่อการอุตสาหกรรม แขนกลประกอบเครื่องจักร เป็นต้น โดยในปี 2558 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าอุตสาหกรรมรวมกว่า 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 1.1 ล้านล้านบาท และคาดว่าปี 2559 จะมีแนวโน้มเติบโตสูงร้อยละ 6.5 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 4.0 อันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย อาทิ กลุ่มอาหารและการเกษตร กลุ่มเทคโนโลยีการแพทย์ กลุ่มหุ่นยนต์และอุปกรณ์บังคับต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กสอ. มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาในอุตสาหกรรมดังกล่าว อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม โครงการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ รวมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท คุณพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริ