ไม่มีหน้าร้าน
ว่างจากงานประจำ มาใช้ครัวคอนโดฯ ทอดไก่ขาย ไม่มีหน้าร้าน แต่สร้างรายได้ 40,000 บาท/เดือน ชีวิตของมนุษย์ลูกจ้างอย่างเราๆ เมื่อมีเวลาว่างจะเลือกทำอะไรกัน? สำหรับ คุณหมี-อินทนนท์ เสาร์สูงยาง วัย 26 ปี คนนี้ เลือกที่จะทำงานหารายได้ต่อ แถมงานเสริมหลังเลิกงานของเขาอย่าง ทอดไก่ขาย ก็สร้างรายได้ให้เขากว่า 40,000 บาทเลยทีเดียว! คุณหมี เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ตนนั้นเรียนจบ ปวส. เลือกที่จะไม่เรียนต่อและเข้ามาหางานในเมืองกรุงทำ ซึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน คุณหมีก็ได้งานทำอยู่ในสนามบินแห่งหนึ่งได้ด้วยดีมาตลอด จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เปลี่ยนชีวิตของใครหลายๆ คน รวมถึงคุณหมีที่ โดนจ้างออก ด้วย “พอโดนจ้างออก ก็หางานทำไปเรื่อย จนได้เข้ามาทำงานเป็นพนักงาน Part-Time ที่ร้าน The Pizza Company แห่งหนึ่ง เรื่อยมา ทำไปได้สักพัก ก็เริ่มคิดแล้วว่า อืม เราน่าจะหาเงินได้มากกว่านี้นะ เพราะเราก็ช่วยแบ่งเบาภาระที่บ้านอยู่ แล้วทำงานร้านพวกนี้มันก็ค่อนข้างหนักครับ ผมก็อยากมีเวลามากกว่านี้ เลยเข้าไปคุยกับผู้จัดการร้านว่า ขอทำงานช่วงเช้าถึงบ่าย 2 ได้ไหม เขาก็โอเค ก็คิดอยู่สักพักครับว่าจะทำอะไรต่อ
อยากเปิด “ร้านอาหารผี” วางแผนดี ทำดี จะกลายเป็น “ร้านเทวดา” อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าไปขายอาหารให้ “ผี” กิน หรือต้องตายก่อนถึงไปเปิด “ร้านอาหารผี” แต่เป็นศัพท์ที่แปลจากคำว่า “Ghost Restaurant” หมายถึงร้านอาหารที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจดทะเบียนร้านอาหาร ขายอาหารทางออนไลน์ เลยเรียก “ร้านอาหารผี” เพราะว่าไม่มีตัวตนแต่ขายอาหารได้ ที่จริงยังมีร้านผีๆ ชนิดอื่นอีกมาก ที่คนรุ่นใหม่กำลังนิยม ใครอยากขายอะไรก็ขาย แค่สมัครเข้าไปในเว็บ แอพขายของต่างๆ แต่ถ้าอยากเปิดร้านอาหารผีมันไม่ได้ง่ายๆ เหมือนโพสต์ขายกล้องมือสอง เพราะการทำอาหารขายออนไลน์ ไม่ได้อยู่แค่ที่ทำอาหารอะไรก็ได้ ใส่กล่อง สมัครในแอพขายอาหารแล้วจะขายได้ ขายดี กันทุกคนเมื่อไหร่ มันมีขั้นตอนดังนี้ครับ ต้องทำอาหารเป็น มีคนทำ ศึกษา คิดวิเคราะห์ว่าจะ “ขายอาหารอะไร” ถึงจะโดดเด่นขึ้นมาได้ ทดลองทำ แจกชิม แก้ไข ปรับปรุง จัดสรรพื้นที่การทำ สโตร์เล็กๆ สำหรับเก็บของ ควบคุมการซื้อของ ออกแบบอาหาร หน้าตา การแพ็ก ถ่ายรูป ทำเมนู คิดต้นทุน ราคาขายรวมกล่อง ค่าเปอร์เซ็นต์การขายให้แอพ เหลือแล้วได้กำไรเท่าไหร่ ควบคุมคุณภาพทั้งวัตถุดิบ หน้าตา วิธีการทำ การแพ็ก ติ
ขายอาหาร ไม่มีหน้าร้าน ทุนน้อยก็ทำได้ ไม่เสี่ยงเจ๊ง เหมือนให้นั่งกิน ทุกวันนี้ ผู้คนหันมาพึ่งบริการสั่งอาหารแบบดีลิเวอรี่มากขึ้น เพราะโทรศัพท์มือถือที่ช่วยให้การสั่งอาหารจากร้านต่างๆ สะดวกสบาย แถมไม่ต้องเผชิญปัญหารถติดที่นับวันจะสาหัสขึ้นเรื่อยๆ กระแสดีลิเวอรี่อาหารได้รับความนิยมทั่วโลก ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “สเตติสตา” ประเมินว่า ปัจจุบัน ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลก มีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไปจนถึงปี 2566 โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านออนไลน์เติบโตอย่างเด่นชัด ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่าราว 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการรวมทั้งโลก นี่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารพากันตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว และเกิดธุรกิจขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน หรือที่เรียกว่า Ghost Restaurants ซึ่งเน้นทำอาหารสำหรับดีลิเวอรี่เท่านั้น เว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรองรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคนี้แล้ว ยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ มีทุน
ขายของกินยุคโควิด! เน้นออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน ทำเลไม่สำคัญ ทำที่บ้านได้สบาย ตั้งแต่มีไวรัสโควิด-19 ระบาดเข้าไทย ทำให้แทบทุกคนพากันเดือดร้อน โดยเฉพาะช่วงที่มีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การทำมาหากินของคนแทบทุกอาชีพต้องหยุดชะงัก ประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำ ทำไม่ได้เลย หรือได้ก็ไม่สะดวก คนที่เคยทำงานโรงแรม หรือจากการเป็นไกด์พาคนเที่ยว ก็พากันตกงานไปตามๆ กัน บริษัทหลายแห่งต้องเลิกจ้างพนักงานบ้าง ลดเงินเดือนบ้าง จึงทำให้ต้องเดือดร้อน คนเหล่านี้อยู่เฉยๆ ไม่ได้ เพราะถึงจะได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย หลายคนจึงหันมาค้าขายทางออนไลน์ เพื่อขายทุกอย่างที่ขายได้ ที่ทำขายกันมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นประเภทอาหาร เมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้คนต้องเก็บตัวอยู่บ้าน แต่ละคนจำเป็นต้องสั่งอาหารมากิน มีอยู่รายหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำ คือ คุณปรัช ทำนา ก็ได้ผันตัวเองมาทำของกินจำหน่าย ของกินที่คุณปรัช ทำนา กับครอบครัวร่วมกันผลิตจำหน่ายมีหลายอย่าง อย่างแรก เป็นน้ำเชื่อมอินทผลัม 100 เปอร์เซ็นต์ ต้มเคี่ยวด้วยความประณีต ไม่ใส่น้ำตาล ไม่มีสารกันบูด จึงได้ความหวานจากอินทผลัมล้วนๆ สรรพคุณของน้ำเชื่อมชนิดนี้มีดังนี้ ใช้แท
ขายอาหาร “ไม่มีหน้าร้าน” ต้นทุนต่ำ ไม่ปวดหัวกับคนงาน แถมไม่เสี่ยงเจ๊ง ทุกวันนี้ ผู้คนหันมาพึ่งบริการสั่งอาหารแบบดีลิเวอรี่มากขึ้น เพราะโทรศัพท์มือถือที่ช่วยให้การสั่งอาหารจากร้านต่างๆ สะดวกสบาย แถมไม่ต้องเผชิญปัญหารถติดที่นับวันจะสาหัสขึ้นเรื่อยๆ กระแสดีลิเวอรี่อาหารได้รับความนิยมทั่วโลก ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “สเตติสตา” ประเมินว่า ปัจจุบัน ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไปจนถึงปี 2566 โดยเฉพาะในเอเชียที่ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านออนไลน์เติบโตอย่างเด่นชัด ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่าราว 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการรวมทั้งโลก นี่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารพากันตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว และเกิดธุรกิจขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน หรือที่เรียกว่า Ghost Restaurants ซึ่งเน้นทำอาหารสำหรับดีลิเวอรี่เท่านั้น เว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรองรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคนี้แล้ว ยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ มีทุนน