เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
ข่าววันนี้ Featured

เคล็ดลับเพื่อธุรกิจ เปิด 4 วิธี ทำตลาดออนไลน์ ไม่ง้อเฟซบุ๊ก

เคล็ดลับเพื่อธุรกิจ เปิด 4 วิธี ทำตลาดออนไลน์ ไม่ง้อเฟซบุ๊ก

สำหรับธุรกิจไทย เฟซบุ๊ก กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอสินค้าหรือบริการ แต่ เฟซบุ๊ก ได้ปรับลด New Feed ของเพจและเฟซบุ๊กส่วนตัว เพื่อคัดกรองโพสต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ลด Traffic ที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจลง โดยโพสต์ที่ไม่มีการคอมเมนต์หรือผู้ใช้งานไม่ได้มีส่วนร่วมจะถูกลดการมองเห็นลงไป และให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่มีประโยชน์มากขึ้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้เฟซบุ๊กในการขับเคลื่อนธุรกิจ ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ดังนั้น ธนาคารกรุงเทพ จึงได้แนะ 4 วิธีทำตลาดออนไลน์ ไม่ง้อเฟซบุ๊กไว้ดังนี้ 

  1. สร้างแบรนด์ให้แก่ธุรกิจตัวเอง 

การสร้างแบรนด์เป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ เป็นการยกระดับจากการเป็นพ่อค้า แม่ค้า มาสู่การเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โดยอาจจะเริ่มจากการสร้างแบรนด์แบบ Personal Branding หรือการสร้างแบรนด์บุคคล คือ การนำเสนอภาพลักษณ์ตัวตนของตัวเองให้ผู้อื่นรับรู้ เมื่อมี Personal Branding ดี ก็จะสามารถต่อยอดไปสู่สินค้าอย่างอื่นได้ 

2. สร้างเว็บไซต์ใช้ช่องทางของตัวเอง 

ต่อไปนี้ถ้าเฟซบุ๊กทำให้คนเข้าถึงสินค้าหรือแบรนด์ได้ยาก การปูทางหาช่องให้ตัวเองเป็นสิ่งจำเป็น หากธุรกิจยังไม่มีเว็บไซต์ จงเรียนรู้ที่จะมีหรือสร้างมันขึ้นมา แล้วทำคอนเทนต์ SEO ดึงดูดคนผ่านช่องทาง google อีกทั้งธุรกิจออนไลน์ที่มีเว็บไซต์รองรับ จะสร้างความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นได้มากกว่า

3. สร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า 

หมดยุคการขายแบบปิดการขายในคราวเดียวแล้วจบกลับบ้านแล้ว ในเมื่อการขายแบบให้เกิดการบอกต่อๆ กันไป แบบปากต่อปากคือการโฆษณาและการตลาดที่ทรงพลังและคาดหวังถึงผลลัพธ์อันดีได้มากกว่า นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเชื่อมลึกระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งเมื่อผลลัพธ์ของสินค้าเป็นที่น่าพอใจ และการมีปฏิสัมพันธ์อันดี ทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงบวก ก็จะทำให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ

4. ใส่ใจลูกค้าเก่า 

ลูกค้าเก่า จัดเป็นฐานอันดีในการทำตลาด เนื่องจากได้ทำความรู้จักกับแบรนด์ ผ่านการรับรู้เรื่องแบรนด์จากประสบการณ์ที่ได้เคยใช้สินค้ามาแล้ว ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับการเก็บบันทึกฟีดแบ็ก คำแนะนำหลังการขายของลูกค้าให้มาก เพราะคำติชมของลูกค้าจะนำมาสู่การปรับใช้พัฒนาสินค้าได้ ตอบโจทย์ตรงจุดกว่าเดิม คราวนี้หากจะกระตุ้นการซื้อจากฐานลูกค้าเก่าด้วยโปรโมชั่นที่ยั่วใจก็ไม่ยากอีกแล้ว

ที่มา ธนาคารกรุงเทพ 

Related Posts

จากมนุษย์เงินเดือนที่ไม่รู้ว่าชอบอะไร สู่เจ้าของแบรนด์พรมแต่งบ้านสุดคราฟต์ ‘Supersoft.bkk’ ที่เริ่มต้นจากเงิน 3 หมื่น สู่รายได้หลักแสนต่อเดือน
ราคาทองพุ่งไม่หยุด! ซื้อทอง ดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ จริงไหม แล้วควรซื้อด้วยเงินสด หรือบัตรเครดิต
แจกสูตร คั่วหมี่ ก๋วยเตี๋ยวผัดจานโปรดชาวลาว คู่หูตำหมากหุ่ง ให้รสหวานเค็ม โรยไข่เจียว ทำตามไม่ยาก
‘บ้านหมูหวาน’ จากธุรกิจที่ล้มจนโดนหมายศาล พลิกสู่แบรนด์เนื้อสัตว์แปรรูป รายได้ 7 หลักต่อเดือน