เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
ข่าววันนี้ Featured

สงกรานต์นี้ คนกรุง ระวังใช้จ่าย เน้นสังสรรค์ที่บ้าน แนะร้านอาหาร ออกโปร ดันยอด

สงกรานต์ปีนี้ คนกรุง ระวังการใช้จ่าย เน้นสังสรรค์ที่บ้าน แนะร้านอาหาร ออกโปรโมชั่นดันยอดขาย 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สงกรานต์ปี 2564 คนกรุงเทพฯ ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 5,700 บาท (คำนวณที่วันหยุดเฉลี่ย 6 วัน) ส่งผลให้เม็ดเงินใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 24,000 ล้านบาท หดตัว 4.0% เมื่อเทียบกับสงกรานต์ปี 62 (ปี 63 มีการเลื่อนวันหยุดสงกรานต์) 

ผู้บริโภคยังคงกังวลกับรายได้ในอนาคต และใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง แม้ว่ามาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐจะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนในช่วงสงกรานต์ โดยอาจหนุนการใช้จ่ายสินค้าบางกลุ่มโดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม แต่กิจกรรมอื่น เช่น ท่องเที่ยว เดินทางกลับภูมิลำเนา และช็อปปิ้ง ยังคงมีการปรับลดการใช้จ่าย

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ยังกังวลสถานการณ์โควิด-19 โดยคนกรุงส่วนใหญ่เลือกสังสรรค์รับประทานอาหารที่บ้าน รองลงมาคือที่ร้านอาหาร และสั่งผ่าน Food Delivery ซึ่งผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่สามารถบริหารจัดการและสร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรการสาธารณสุข ควบคู่กับโปรโมชั่นด้านราคา น่าจะมียอดขายเข้ามาช่วยประคองธุรกิจได้ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากผู้บริโภคปรับพฤติกรรมการซื้ออาหารกลับบ้านมากขึ้น และลดเวลาการอยู่นอกบ้าน

ขณะที่ผู้ประกอบการค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารในห้าง ยังคงเป็นที่นิยม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ไม่ได้รับสิทธิจากโครงการของรัฐ

ร้านอาหารและร้านค้าควรปรับกลยุทธ์ เช่น เพิ่มเมนูสำหรับปรุงทานที่บ้าน อาหารชุดสำหรับครอบครัว และสินค้าราคาพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงที่โควิดยังไม่คลี่คลาย

โดยสรุป แม้ปีนี้จะมีวันหยุดสงกรานต์ตามปกติ แต่ภาพรวมค้าปลีกทั้งปีอาจยังไม่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย คำนึงถึงความคุ้มค่าและราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะช่วงหลังจากที่มาตรการสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งจะเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับธุรกิจที่จะยังต้องเน้นกลยุทธ์การออกโปรโมชั่นและสร้างการรับรู้ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

Related Posts

เปิดจักรวาล Karun! ปั้นแบรนด์น้องใหม่ เจริญสังขยา, Summer Bowl และ Avery Wong ปี 66 รายได้รวม 100 ล้านบาท  
เปิดเทรนด์ผู้บริโภคยุคนี้ ไม่เน้นถูกสุด แต่ต้อง ‘คุ้มสุด’