เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
Featured Exclusive ข่าววันนี้

สงคราม-สภาพอากาศ ทำ แซลมอนแพง ร้านอาหาร เผย ขายแทบไม่มีกำไร

ร้านอาหารดอง พ้อ สงคราม-สภาพอากาศ ทำ แซลมอนแพง ขายแทบไม่มีกำไร แต่เป็นเมนูที่ต้องมีติดร้าน!

มีข่าวให้เห็นมาสักระยะแล้ว สำหรับ ปลาแซลมอน ที่มีราคาแพงขึ้น ทำให้ร้านอาหารเริ่มทยอยปรับราคาอาหารไปตามๆ กัน คุณนุ๊ก-ปัญจพล อณุพินิช เจ้าของร้านปูดอง ปองดู ได้เปิดใจกับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ เกี่ยวกับสถานการณ์การขึ้นราคาของแซลมอนให้ฟังว่า

คุณนุ๊ก-ปัญจพล อณุพินิช เจ้าของร้านปูดอง ปองดู

ด้วยความที่ร้านขายอาหารดอง กุ้งดอง ปูม้าดอง ปูไข่ดอง ไข่ดอง และ แซลมอนดอง อยู่ แน่นอนว่าได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบอย่าง แซลมอน ที่ขึ้นราคาเช่นกัน เพราะแซลมอนถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของทางร้าน

โดยเฉลี่ยการใช้วัตถุดิบของทางร้านตอนนี้ จะใช้กุ้งวันละประมาณ 30-40 กิโลกรัม ต้นทุนกุ้งตอนนี้ ราคาจะสวิง ขึ้นลงแทบทุกวัน แต่จะอยู่เรตประมาณ 200-220 บาท ส่วนปูไข่ จะสั่งมาเป็นรอบใหญ่ๆ ไซซ์ที่ร้านก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-500 บาท ส่วนปูม้า จะได้มาค่อนข้างถูก อยู่กิโลกรัมละ 160-200 บาท และ ไข่แดง ราคาตามห้างทั่วๆ ไป จะอยู่แผงละประมาณหลักร้อย

“ส่วน แซลมอน อันนี้ราคาค่อนข้างแรง สวิงเยอะมาก เพราะมันหลายๆ ปัจจัย มันไม่ใช่ปลาที่มีอยู่ในน่านน้ำบ้านเรา มันมีหลายปัจจัยทำให้ส่งผลต่อต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลก ค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน ทุกอย่างครับ มันส่งผลกับเรามาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แซลมอนโตช้า แบบนี้เราก็จะได้รับผลกระทบหมด ราคามันก็ค่อนข้างจะสวิง คนหลายๆ คนถามว่า ทำไมขายแซลมอนแพง ทำไมแซลมอนที่เขาเอาไปขายเป็นซาชิมิตามร้านอาหารที่เขาขายกัน ทำไมกิโลหนึ่ง ถึงราคาเป็นพันเลย”

“มันไม่แปลกครับ เพราะว่าราคามันสวิง ขึ้นลงมากๆ บางที่บางร้านแบกรับต้นทุนไม่ไหว ถึงกับเลิกขายก็มี อย่างของที่ร้าน ก็ได้รับผลกระทบครับ ในช่วงตอนนี้ก็เหมือนจะมีสงครามโลกเนอะ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ผมก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ราคาแซลมอนขึ้นเยอะมาก ทุกวันนี้ผมขาย แซลมอนนี่แทบไม่มีกำไรเลย แต่ไม่มีติดร้านไม่ได้ ต้องขายเพื่อลูกค้า และเพราะมันก็เป็นจุดเรียกลูกค้าด้วย แต่ในช่วงที่ราคามันลง เราก็ยังพอเหลือกำไร ช่วงที่แซลมอนแพงเราก็จะถัวเฉลี่ยกับตัวอื่นๆ ให้เราอยู่ได้” คุณนุ๊ก ว่าอย่างนั้น

Related Posts

เปิดจักรวาล Karun! ปั้นแบรนด์น้องใหม่ เจริญสังขยา, Summer Bowl และ Avery Wong ปี 66 รายได้รวม 100 ล้านบาท  
เปิดเทรนด์ผู้บริโภคยุคนี้ ไม่เน้นถูกสุด แต่ต้อง ‘คุ้มสุด’