เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
Exclusive Featured ข่าววันนี้

พ่อครัว แม่ครัว อาหารไทย ต้องรู้เคล็ดไม่ลับ ว่าด้วยเรื่อง ผัก-ผลไม้

พ่อครัว แม่ครัว อาหารไทย ต้องรู้เคล็ดไม่ลับ ว่าด้วยเรื่อง ผัก-ผลไม้

ตอนที่แล้ว ได้บอกเรื่องต้องรู้ ว่าด้วยหมวด “เนื้อสัตว์” ไปแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย

อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง : พ่อครัว จะไปนอก ไปสอบ ไปทำงาน ห้ามเปิดผ่าน! หมวดแรก ว่าด้วยเรื่อง “เนื้อสัตว์”

มาตอนนี้ มาถึงเรื่องของ ผัก และ ผลไม้ เริ่มต้นจาก

ผัก

– ผักที่เก็บได้นานเป็นผักมีหัว หรือเปลือกแข็ง เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ซึ่งเก็บได้นาน ราคาถูก ใช้ประกอบอาหารยอดนิยมได้ เช่น ผัดผัก แกงจืด ข้าวผัด

– การเก็บผัก ไม่ควรล้าง แต่ให้ตัดแต่งแล้วห่อกระดาษ หรือใบตอง อาจนำเข้าถุงพลาสติกเจาะรูอีกที เมื่อจะใช้ค่อยนำออกมาล้าง การเก็บพริกไม่ควรเด็ดก้าน ห่อกระดาษ หรือใบตองเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา ปัจจุบันนิยมเก็บด้วยการห่อพลาสติกแร็พเพื่อลดการคายน้ำของผัก หรือเก็บใส่กล่องที่มีรูระบาย และมีตะแกรงรองให้น้ำผักหยดไม่ช้ำน้ำ

– ผักกินกับน้ำพริกเครื่องจิ้มที่นิยม มี แตงกวา มะเขือ ขมิ้นขาว ถั่วพู ส่วนผักกาดขาว นิยมเสิร์ฟกับหลนต่างๆ

– ผักมีกาบหรือหัวเล็ก อย่างบร็อกโคลี ควรแกะกาบ แยกหัว

– การล้างผัก ล้างผักด้วยน้ำไหล แล้วแช่น้ำผสมเบกกิ้งโซดา หรือน้ำส้มสายชู หรือเกลือ หรือด่างทับทิม หรือน้ำยาล้างผัก 15 นาที จะทำให้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เป็นกรดกลายเป็นกลาง แล้วล้างน้ำออก

– ผัก หากล้างก่อนหั่นแล้วนำไปปรุงอาหารทันที จะคงคุณค่าไว้ได้สูง

ผลไม้

– มีข้อควรคำนึงเช่นเดียวกับผัก ต้องราคาถูก เก็บได้นาน ใช้งานได้มาก เช่น สับปะรด ซื้อมาเก็บได้นาน เสียยาก มีขายตลอดปี แตงโม หาซื้อง่าย แต่ถ้าเป็นลูกใหญ่แบ่งแล้วจะช้ำลม เหม็นโอ่ หรือไส้ในล่ม ผลไม้อื่น เช่น ส้ม ส้มโอ ตามฤดูกาลจะออกชุกช่วงปลายปีต่อต้นปี สุกพอดีช่วงหน้าแล้ง ราคาแพง และเลือกยาก ไม่รู้ว่าเปรี้ยว หวาน หรือฟ่าม จึงไม่เหมาะกับการซื้อเก็บไว้

– ถ้าจะปอกผลไม้เก็บไว้ ควรเป็นผลไม้เนื้อแข็ง เช่น แอปเปิ้ล สาลี่ อาจจะแช่น้ำเกลือ หรือน้ำมะนาวก่อนกันดำ ส้มโอแกะกลีบ ต้องแร็พพลาสติก แช่เย็น ผลไม้อื่นจะเหม็นลมง่าย

Related Posts

เปิดจักรวาล Karun! ปั้นแบรนด์น้องใหม่ เจริญสังขยา, Summer Bowl และ Avery Wong ปี 66 รายได้รวม 100 ล้านบาท  
เปิดเทรนด์ผู้บริโภคยุคนี้ ไม่เน้นถูกสุด แต่ต้อง ‘คุ้มสุด’