ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพเปรียบเทียบ ตำรวจสมัยปี พ.ศ.2557 และปี พ.ศ.2551 เทียบกับ ปี พ.ศ.2564 หลายความเห็นระบุ เลือกปฏิบัติ ไม่เป็นกลาง

Facebook

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 64 ชาวเน็ตในโซเชียลมีเดียพากันแชร์ภาพตำรวจในปี พ.ศ.2557 รวมถึง ปี พ.ศ.2551 เพื่อเป็นการประท้วงต่อความอยุติธรรม และวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของหน่วยงานตำรวจในไทย โดยในโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าว มีการระบุข้อความไว้ดังนี้

“พี่ๆตำรวจ คฝ. (ควบคุมฝูงชน) ตอนถูกโจร กปปส.ยำใหญ่ ปี 57 ทำไมไม่เห็นเก่งเหมือนทุกวันนี้เลยอ่ะครับ ตอนนั้น ชาวบ้านถูกการ์ดนกหวีด กระทืบเอาๆ ตำรวจบางนายถูกปาระเบิดใส่ ขาเกือบขาด บางนายเสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะ บางทีนี่วิ่งหนีการ์ดศรีวิชัย การ์ดพุทธะอิสระ กันหัวซุกหัวซุน ทิ้งโล่ ทิ้งกระบอง ปลิวว่อน

ตอนนั้น เป็นห่วงตำรวจมาก เห็นใจมาก เจ็บปวดแทนมาก …ถ้าวันนั้น พี่เค้าเก่งให้ได้ซักครึ่งนึงของทุกวันนี้ ประชาธิปไตยก็คงยังอยู่ สุดท้าย ก็เก่งกันเฉพาะในบางระบอบ เฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยเห็นพวกพี่เป็นศัตรู แล้วไปยืนอยู่ข้าง พวกที่ยำพวกพี่ๆเละเทะในวันนั้น ตลกสิ้นดี”

Facebook

Facebook

Facebook

Facebook

โดยเฟซบุ๊กโพสต์ดังกล่าว มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น “กลัวประธานกปปส.ไง”, “สมเพชมากกว่า ทั้งนายและลูกน้อง”, ” ตอนนั้นเหมือนหลายฝ่ายเอาใจช่วยม็อบด้วย ส่วนตำรวจระดับสั่งการดูเหมือนเกียร์ว่างกัน ระดับปฏิบัติเลยซวยไป ไม่เหมือนตอนนี้ ใครไม่ทำตามคำสั่ง โดน! “, “ต้องดูว่าม็อบมีเส้นหรือเปล่า” เป็นต้น

Facebook

ทั้งนี้ ถือเป็นหลักการสากล ที่เรียกว่า หลักความเป็นกลางแห่งรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่กองกำลังแห่งรัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ ต้องเป็นกลางทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออยู่ในสถานะการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เปรียบเสมือนบุคคลที่มี 2 สถานะ กล่าวคือ สถานะแรก อยู่ในฐานะประชาชนคนไทยที่มี “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ อีกสถานะหนึ่ง อยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้อง “วางตัวเป็นกลางทางการเมือง” ไม่ให้ความอคติอยู่เหนือความถูกต้อง และต้องให้การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนด้วย

Facebook

การวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการไม่เลือกปฏิบัติ เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความคิดเห็นทางการเมือง มีรากฐานมาจากหลักความเสมอภาคระหว่างบุคคล ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ

Facebook

เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่อาจนำเอาความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ไม่ว่าในทางให้คุณหรือให้โทษ หากฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว การกระทำนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Matichon Online

การหยุดผลิตซ้ำแนวคิดการไล่ล่าคนเห็นต่างทางการเมือง จะช่วยนำสังคมไปสู่ เสรีภาพทางความคิด ซึ่งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าของสังคมไทยบนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพอันพึงมีของมนุษย์ตามระบอบประชาธิปไตย

Facebook

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน