รู้จัก “ขนมสี่ถ้วย” ขนมโบราณที่มีไว้ในงานมงคลสมรส พ่อริด โชว์ฝีมือทำให้ พุดตาน สื่อถึงความรักหนักแน่นมั่นคง

วันที่ 21 พ.ย. 2566 ละครเรื่อง “พรหมลิขิต” EP15 ปรากฏฉากหวานของ “พ่อริด” และ “พุดตาน” โดยพ่อริดได้โชว์ฝีมือทำขนมหวานที่มีความหมายสุดซึ้งอย่าง “ขนมสี่ถ้วย” ให้แก่พุดตาน

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ระบุว่า ขนมสี่ถ้วย เป็นขนมโบราณที่มีไว้ในงานมงคลสมรส เพื่ออวยพรให้บ่าวสาวรักกันยืนยาว ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรโดยปราศจากคำพูด ในสมัยก่อนจะเป็นที่รู้กันว่า หากมีชาวบ้านพูดว่า “ไปกินสี่ถ้วย” ก็คือให้ทราบทั่วกันว่าจะไปงานแต่ง

วัฒนธรรมนี้ว่ากันว่าเป็นความเชื่อเรื่องการแต่งงานของคนแผ่นดินพระร่วงเดิม ก่อนจะมีการนับถือศาสนาพุทธ จวบจนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังปรากฏการกินขนมเช่นนี้อยู่ แต่อาจลดความสำคัญเรื่องประเพณีไป หลงเหลือเพียงแค่การกินเพื่อความอร่อยเท่านั้น

ขนมสี่ถ้วย ประกอบด้วย ไข่กบ (เม็ดแมงลักหรือเม็ดสาคู), นกปล่อย (ลอดช่องไทย), บัวลอย มะลิลอย หรือนางลอย (ข้าวตอก) และ อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวดำ) ทั้งหมดนี้มีส่วนผสมสำคัญคือ “น้ำกะทิ” ราดเคล้าขลุกขลิกให้อร่อยกลมกล่อม

ไข่กบ (เม็ดแมงลักหรือเม็ดสาคู)

ขนมทั้ง 4 ชนิดมีความหมายที่ซ่อนอยู่แตกต่างกันออกไป แต่ยังอิงอยู่กับการอวยพรให้ความรักของบ่าวสาวชื่นมื่นอบอวลไปด้วยความรักอันหอมหวาน

นกปล่อย (ลอดช่องไทย)

โดยพ่อริดได้บอกความหมายของส่วนประกอบแต่ละอย่างว่า ไข่กบ หมายถึง มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง

นกปล่อย หมายถึง ความรักที่ราบรื่น ไร้อุปสรรค

นางลอย หมายถึง ความรักที่อยู่ในกรอบประเพณีที่งามพร้อม เข้าตามตรอกออกตามประตู ดังการคั่วข้าวตรอกในครอบ มิให้กระเด็นตกไปที่ใด ไม่หันเหไปนอกทาง

อ้ายตื้อ หมายถึง ความรักอันหนักแน่นมั่นคง

บัวลอย มะลิลอย หรือนางลอย (ข้าวตอก)

วิธีการกิน ให้นำข้าวเหนียวดำ ลอดช่อง และเม็ดแมงลัก ใส่ลงในถ้วย ราดด้วยน้ำกะทิจากน้ำตาลโตนดกลิ่นหวานละมุน จากนั้นโรยด้วยข้าวตอกเอาพออิ่มน้ำ เท่านี้ก็ได้ขนมสี่ถ้วยสุดแสนอร่อย

อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวดำ)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน