บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สรุปภาวะตลาดเงินตลาดทุนรายสัปดาห์ (18-22 ก.พ. 2562) สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐ-จีน

นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค. ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทกลับมาอยู่ที่ 31.32 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)

เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค. ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทกลับมาอยู่ที่ 31.32 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25 ก.พ.-1 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.10-31.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนม.ค. และตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ขณะที่ จุดสนใจเพิ่มเติมในต่างประเทศ น่าจะอยู่ที่ความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ถ้อยแถลงของประธานเฟด สถานการณ์ BREXIT และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของสหรัฐ และประเทศชั้นนำอื่นๆ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ดัชนีราคาบ้าน ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน และตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา Core PCE Price Index เดือนธ.ค. ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2561

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับที่ 1,659.20 จุด เพิ่มขึ้น 1.36% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 8.87% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 47,010.71 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai เพิ่มขึ้น 0.27% มาปิดที่ 384.27 จุด

ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ปริมาณการซื้อขายเบาบาง อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ดีดตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยมีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน หลังมีรายงานข่าวว่า คณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายกำลังร่างบันทึกความเข้าใจจำนวน 6 ฉบับที่เกี่ยวกับประเด็นเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้ ปัจจัยบวกดังกล่าวมีส่วนช่วยหักล้างปัจจัยลบที่เข้ามากดดันตลาดช่วงปลายสัปดาห์อย่างข้อมูลการส่งออกของไทยที่หดตัวในเดือนม.ค.

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25 ก.พ.-1 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,650 และ 1,640 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,675 และ 1,685 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดรวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูง รวมถึงสถานการณ์ BREXIT ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2561 ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนธ.ค. รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของประเทศในยุโรปและเอเชีย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน