ไม้ดอกไม้ประดับ
ไก่ฟ้า ไก่ฟ้าพญาลอ หรือ นกกระทุง ก็เรียกกัน ไก่ฟ้าพญาลอ ผมชอบชื่อนี้ เป็นไม้เถาเลื้อย เถามีสีเขียวตลอด เลื้อยได้ไกลถึง 5 เมตร มีอายุข้ามปี ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายใบโพธิ์ ยาว 5-6 เซนติเมตร ออกตามข้อ มีดอกรูปร่างคล้ายสัตว์ปีก ลีลาอ่อนช้อยสวยงาม มีลวดลายบนลำตัวเป็นตาข่ายสีน้ำตาลเข้ม พื้นลำตัวและอกเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ลำตัวเป็นกระเปาะ ส่วนท้ายพลิ้วเป็นหางนก ส่วนก้านดอกมองเผินๆ คล้ายจงอยปาก สมส่วน สวยงาม ความยาวของดอกอยู่ระหว่าง 10-12 นิ้ว ออกดอกเดี่ยวตามข้อ ใน 1 ต้น หรือ 1 เถา มีหลายดอก ไก่ฟ้าพญาลอ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและชุ่มชื้น ขึ้นได้ทั้งในที่ร่มรำไร และที่มีแสงแดดจัด การขยายพันธุ์ทำได้ทั้งวิธีปักชำ และวิธีเพาะเมล็ด ความมีเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งคือ ไก่ฟ้าพญาลอ ออกดอกได้ตลอดปี
หากเป็นคนที่ติดตามความเป็นไปของสังคม ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ยิ่งโลกสมัยใหม่ ความเปลี่ยนแปลงมันไปเร็วมาก จึงต้องตั้งสติเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หากเพลิดหลงไปกับการเปลี่ยนแปลง เสพติดวัตถุจนลืมความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โรคซึมเซาจะถามหา และอีกหลายโรคจะตามมา เวลานี้ ผู้คนส่วนใหญ่พูดจากันด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องค่อนข้างไร้สาระ หลายคนลืม หรือว่าจะแกล้งลืม กับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขเรื่องปัจจัยสี่ ปัจจุบัน ก็มีคนอ้างต้องมีปัจจัยที่ห้า ปัจจัยที่หก เมื่อมีข้ออ้าง ก็เท่ากับสร้างปัญหา พอเกิดปัญหา ความเดือดร้อน หรือความทุกข์ก็ตามมา ครั้นมีทุกข์ และเดือดร้อน การเรียกร้องโหยหาความช่วยเหลือ ทั้งทั้งที่ตัวเองเป็นคนก่อ จึงสมควรที่จะแก้เอง พูดไปก็แค่นั้น มาปลูกต้นไม้กันดีกว่า เป็นการช่วยลดโลกที่ร้อน จะได้สดชื่นกันบ้าง ปักษ์นี้จะชวนปลูกไม้เถา ที่ชื่อ “เล็บมือนาง” เถาเล็บมือนางนี้ จัดเป็นไม้เถาขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุม สำหรับต้นที่แก่ ผิวเถาจะเกลี้ยง หรือบางทีกลายเป็นหนาม ใบของเถาเล็บมือนาง จะเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่อยู่ตรงกันข้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน…แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กล่าวว่า “การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ อยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสืบเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระราชทานกล้วยไม้จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้เข้ารับพระราชทาน เป็นจำนวน 127 สกุล (genus) 810 ชนิด(species) เพื่อมาดำเนินงานสนองตามพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ผ่านรูปแบบกิจกรรมจำนวน 8 กิจกรรม ได้แก่ การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของกล้วยไม้ตามบัญชีทะเ
อโกลนีม่า หรือชื่อใหม่ว่าแก้วกาญจนา จัดเป็นไม้ประดับที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบและลวดลายที่หลากหลาย โดยลักษณะต้นเป็นทรงพุ่ม ขนาดเล็ก กะทัดรัด มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี จึงเป็นเหมือนพืชที่ช่วยฟอกอากาศ คุณวีระพันธ์ุ แพรวพรายรัตน์ เจ้าของสวนอโกลนีม่า อ.แสวงหา จ.อ่างทอง บอกครับว่า เริ่มมาปลูกอโกลนีม่า เพราะเห็นว่าเป็นไม้ใบประดับที่หลายๆคนให้ความสนใจ ทำให้มองเห็นว่าตลาดก็น่าจะไปได้ จึงเริ่มลงมือทำเป็นอาชีพ ปัจจุบันคุณวีระพันธุ์ปลูกอโกลนีม่าจำหน่ายกว่า 30 สายพันธุ์ แต่เน้นผลิตจำหน่าย 5-6 สายพันธุ์ อย่างเช่น อัญมณี และบัลลังทับทิม โดยตลาดแบ่งเป็นตลาดในประเทศ 90 เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นตลาดต่างประเทศ วิธีการขยายพันธ์ุ จะใช้วิธีการแยกหน่อ ไปปลูกในวัสดุที่เบาแต่ดูดซับน้ำได้ดี ซึ่งที่นี่จะใช้กาบมะพร้าวสับหยาบผสมกับใบก้ามปูเก่า เมื่อปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้วจะรดน้ำให้ชุ่มและนำเข้าโรงเรือนอบอีก 45 วัน ก่อนส่งออกจำหน่าย สำหรับต้นทุนการผลิต คุณวีระพันธุ์บอกครับว่า 1 ต้นจะใช้ทุนประมาณ 6 บาท แต่ราคาจำหน่ายเริ่มตั้งแต่ 10 – 100 บาทครับ โดยออเดอร์แต่ละเที่ยวประมาณ 10,000 – 12,0
ไม้ดอก หมายถึง พันธุ์ไม้ทุกชนิดที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากความสวยงามของดอก มีดอกสวยงาม ดอกดก บานทน นิยมปลูกไว้เพื่อเป็นการเพิ่มบรรยากาศให้บ้านและสถานที่ทำงานสวยงามน่าอยู่ ใช้ประดับตกแต่งอาคาร และยังสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัยและผู้ที่พบเห็น หรือปลูกไว้เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนก็เป็นที่นิยมกันมาก นอกจากนี้ ไม้ดอกยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ใช้ในงานพิธีต่างๆ ใช้เพิ่มสีสันให้แก่อาหารและเครื่องดื่ม ให้สวยน่ารับประทาน ใช้เป็นยารักษาโรค ใช้เป็นของขวัญ ของที่ระลึก เป็นต้น และที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือ การสร้างอาชีพเกี่ยวกับไม้ดอก ไม้ประดับ เหมือนดังเช่น ชาวบ้านบ้านตาติด ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่สร้างรายได้อย่างงดงามจากการปลูกไม้ดอกขายกันเกือบทั้งหมู่บ้าน คุณบัวคำ วรรณการ อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 220 หมู่ที่ 3 บ้านตาติด ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ปลูกไม้ดอกเพื่อจำหน่าย โดยปลูกตลอดทั้งปี จนสามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม ทำให้ชีวิตพออยู่ พอกิน ไม่มีหนี้สิน มีเงินใช้จ่ายไ
“สับปะรดสี” ไม้ประดับหลากสี หลายคนน่าจะรู้จักกันดี ในอตีดเป็นไม้ที่ปลูกกันเฉพาะกลุ่ม แต่ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จำหน่ายส่งขายให้กับร้านจำหน่ายต้นไม้และผ่านโลกออนไลน์ จัดเป็นไม้ประดับที่มีราคาแพง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ คือไม้ทั่วไป และไม้คอแลคชั่น การเพาะขยายพันธุ์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การตัดแยกหน่อ และการเพาะเมล็ด แต่ที่ได้รับความนิยม จะเป็นตัดแยกหน่อมาปลูก เนื่องจากจะได้ต้นไว้กว่า ส่วนการเพาะเมล็ด ก็ทำได้แบบชิวๆ เพียงแค่เก็บเมล็ดจากดอกนำมาเพาะในกระบะที่มีวัสดปลูกเป็นขุยมะพร้าว หรือ พีชมอสผสมทราย ซึ่งวิธีนี้ อาจจะได้สับปะรดสีพันธุ์ใหม่ขึ้นได้ สำหรับการดูแล จะให้น้ำวันเว้นวัน แต่หากเป็นช่วงฤดูฝนต้องหยุดให้น้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำมากเกินไป อาจจะทำให้รากเน่าได้ ให้สังเกตุจากกาบใบให้มีน้ำขังไว้ตลอดเวลาก็เพียงพอ วัสดุปลูกไม่ต้องเปียกตลอดเวลา ปุ๋ยใช้ปุ๋ยออสโมโค้ท เดือนละ 1 ครั้ง โรยรอบๆต้น ตั้งไว้ในโรงเรือนที่พรางแสงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ มีอากาศถ่ายเท ลมพัดผ่าน เท่านี้ต้นสับปะรดสีก็จะมีสีสันที่สวยงามตลอดเวลา ราคาจำหน่าย ไม้คลอแลคชั่น จำหน่ายตั้งแต่ 300-3,500 บาท ส่วนไม้ทั่วไป
ปัจจุบัน ไม้ดอกไม้ประดับมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะมนุษย์มิใช่มีความต้องการเฉพาะปัจจัยสี่เท่านั้น แต่ยังต้องการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เกิดความร่มรื่น สวยงามน่าอยู่อีกด้วย เช่น มีการจัดสวน ตกแต่งอาคาร สถานที่ บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงเรียน และสถานที่ต่างๆ ให้เกิดความสวยงาม จะเห็นได้ว่า การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการค้า นับวันจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและได้รับความสนใจมากขึ้น และมีมูลค่าของผลิตภัณฑ์สูงเท่าเทียมกับผลิตผลทางการเกษตรสาขาอื่นๆ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างงดงาม อาจารย์ราตรี สะดีวงศ์ หรือ อาจารย์หมวย อายุ 46 ปี มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 999 หมู่ที่ 2ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีอาชีพหลักคือ รับราชการ ในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนอาชีพเสริมคือ ผลิตและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้ดัด รวมทั้งไม้ผลนานาชนิด จนสามารถสร้างรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท อาจารย์ราตรี เล่าว่า เมื่อก่อนตนเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโ