กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรมอุทยานฯ ปลื้ม ค้นพบ ผึ้งหลวงหิมาลัย เป็นครั้งเเรกในไทย ที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ ชี้มีความสำคัญต่อภาพรวมของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานแถลงข่าว “การค้นพบผึ้งหลวงหิมาลัยครั้งแรกในประเทศไทย” ร่วมด้วยทีมนักวิจัย นายอิสราพงษ์ วรผาบ นักกีฏวิทยาชำนาญการ (กรมอุทยานแห่งชาติฯ) นายนนธวัช ฉัตรธนบูรณ์ ดร.ชวธัช ธนูสิงห์ และ ผศ.ดร.ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมศึกษาผึ้งหลวงหิมาลัยที่เคยพบเฉพาะในแนวเทือกเขาหิมาลัยของเนปาลและอินเดีย นายทรงเกียรติ เปิดเผยว่า ผึ้งหลวงหิมาลัย หรือ ApislaboriosaSmith, 1871 ที่พบในครั้งนี้ อยู่ในบริเวณหน้าผาสูงของอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบเจอตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อยู่ในช่วงเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัดของตัวผึ้งหลวงหิมาลัย ซึ่งผึ้งหลวงหิมาลัยเป็นผึ้งหลวงอีกชนิดนอกเหนือจากผึ้งหลวงทั่วไป หรือ Apis dorsataFabrici
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือภาคอีสาน มีพื้นที่มากถึง 106.4 ล้านไร่ หรือ 170,218 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในอดีตประสบกับปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ ไม่อุ้มน้ำ ขณะที่แหล่งน้ำและป่าไม้ตามธรรมชาติมีน้อย ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้นไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ขณะเดียวกัน มีการแผ้วถางป่าเพื่อการทำกินอย่างต่อเนื่องทำให้แหล่งต้นน้ำและระบบนิเวศถูกทำลาย ตลอดจนราษฎรขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเทคนิควิชาการเกษตรในการทำกินที่ถูกต้อง จากสภาพภูมิประเทศและทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีในการดำรงชีพที่แตกต่างจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึงปัญหาตามสภาพของภูมิสังคมและภูมิประเทศ เพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสานโดยรวม ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้วยพระองค์เองที่เป็นตัวแทนของภาคอีสานทั้งหมด ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวงจรทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกับพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ครบรอบ 21 ปี ภายใต้แนวคิด “อส. สืบสานอนุรักษ์ รักษ์สัตว์-รักษ์ป่า เจตนายั่งยืน” พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ นายนพดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ครบรอบ 21 ปี และมอบโล่รางวัลผู้ช่วยเหลือราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปี พ.ศ. 2566 ในสาขาต่างๆ รวมทั้งสิ้น 11 รางวัล ผศ.น.สพ.ธีระวิทย์ จันทร์ทิพย์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ได้รับโล่รางวัลผู้ช่วยเหลือราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปี พ.ศ. 2566 สาขาการบริการ โดยมอบหมายให้ อ.สพ.ญ.ดิลกา ชุมทอง เป็นตัวแทนรับโล่รางวัล ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำหรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย เป็นหน่
นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ “หมอล็อต” หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาส่งมอบตัวอย่างชิ้นส่วนงาหักจากเหตุการณ์ศึกช้างชนช้างบนเขาใหญ่ ให้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ตรวจวิเคราะห์ พร้อมตัวอย่างดินโป่งจากโป่งเทียมบนเขาใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ภาวะทุพโภชนาการของสัตว์ป่า นครราชสีมา – นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมคณะ นำตัวอย่างงาจากเหตุการณ์ช้างป่าเขาใหญ่ “พลายทองคำ” ต่อสู้กับ “พลายงาทอง” จนงาหักทั้งกิ่ง ให้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแสงซินโครตรอน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ผศ.ดร. ศุภกร รักใหม่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า “การตรวจวิเคราะห์งาช้างด้วยแสงซิน โครตรอนครั้งนี้ เพื่อหาสัดส่วนธาตุองค์ประกอบ และหาสัดส่วนหมู่ฟังก์ชันทางเคมีของสารอินทรีย์ เพื่อบ่งชี้ความแตกต่างขององค์ประกอบกลุ่มสารชีวเคมีภา
นักพฤกษศาสตร์กรมอุทยาน-อ.ราชภัฏอุดรฯ ค้นพบ 2 พืชชนิดใหม่ของโลก สกุลกระพี้จั่นไทย “ม่วงราชสิริน” ที่ จ.ราชบุรี และ “ซ่อนแก้ว” ที่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า นักพฤกษศาสตร์สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่ว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ค้นพบพืชชนิดใหม่ 2 ชนิด ในสกุลกระพี้จั่น (Millettia) จากประเทศไทย คือ ม่วงราชสิริน (Millettia sirindhorniana Mattapha, Thanant., Kaewmuan & Suddee) เป็นพืชนามพระราชทาน และ ซ่อนแก้ว (Millettia tomentosa Mattapha & Tetsana) ได้ตีพิมพ์ตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 50(2) หน้าที่ : 89–99 ปี พ.ศ. 2565 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiForestBulletin/issue/current นายสไว มัฐผา อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้เชี่ยวชาญ พรรณไม้วงศ์ถั่ว (Fabaceae) ของไทย เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ นายธีรวัฒน์ ทะนันไธสง น.ส.อนุสรา แก้วเหมือน และนายสมราน ส