กระชังปลา
จากสภาวะเศรษฐกิจไม่กี่ปีมานี้ ส่งผลให้สินค้าเกษตรหลายชนิดราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวมากขึ้น โดยทำเกษตรแบบผสมผสานที่ไม่เน้นทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนแล้ว ยังสามารถมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดทดแทน จึงช่วยเสริมรายได้สลับไปมาในแต่ละช่วงการผลิต จึงเกิดรายได้หลากหลายส่งผลให้ไม่มีหนี้สิน คุณขาว เสมอหัต อยู่บ้านเลขที่ 58/3 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีอาชีพหลักทำนาด้วยราคาข้าวที่ผลิตได้ไม่แน่นอน จึงได้หาอาชีพเสริมเข้ามาช่วย คือการเลี้ยงปลาดุก โดยใช้บ่อน้ำที่มีอยู่เดิมจากการขุดไว้ใช้ภายในสวน มาเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น พร้อมทั้งใช้เหยื่อสดต้นทุนต่ำมาเป็นอาหารให้ปลากิน ทำให้ปลาเติบโตดีตลาดต้องการ จำหน่ายได้ราคา อาชีพหลักทำนา เลี้ยงปลาดุกเสริมรายได้ คุณขาว เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ประกอบสัมมาอาชีพมาถึงปัจจุบัน รายได้หลักของครอบครัวคือเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยยึดการทำนามานานหลายสิบปี แต่ด้วยบางปีราคาข้าวที่ได้ไม่แน่นอน จึงเกิดความคิดที่อยากจะเสริมรายได้ เห็นบ่อน้ำที่อยู่บริเวณบ้านว่าง
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไปตามธรรมชาติ อีกทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ บริเวณริมเขื่อนวชิราลงกรณหรือชื่อเดิมคือเขื่อนเขาแหลม ตั้งอยู่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีมีชาวบ้านตั้งรกรากเพื่อทำมาหากินด้วยการจับสัตว์น้ำ บางรายมีที่ดินก็ปลูกบ้าน บางรายไม่มีที่ดินก็สร้างแพ คุณสมชาย ศาลาคำ เป็นอีกคนที่มีชีวิตครอบครัวพักอาศัยในแพและยึดอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมเขื่อนเขาแหลมมากว่า 13 ปี ด้วยการซื้อพันธุ์ปลาแล้วมาเลี้ยงส่งขายเองตามร้านอาหารเรียกว่าเป็นทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขายตรงในเวลาเดียว ถือว่าทำงานแบบครบวงจรเลย และด้วยความเพียร ความอดทน การเป็นผู้เรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง จนกระทั่งเขาสามารถสร้างฐานลูกค้าได้อย่างมั่นคง สร้างรายได้นับหลายแสนในแต่ละเดือน สามารถส่งบุตรสาวเรียนได้ถึงระดับปริญญาโท จนทุกวันนี้เขามีความสุขกับครอบครัวแล้วยังมีแผนที่จะต่อยอดอาชีพนี้อีก ทว่า…กว่าจะมาถึงจุดสำเร็จแห่งอาชีพนี้ คุณสมชายต้องฝ่าฟันปัญหานานับปการ ถูกมองจา
วันที่ 28 มิถุนายน หลังจากการแถลงผลการประชุมคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คสช. ว่าที่ประชุมเห็นชอบการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย หลังจากมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วกระทบต่อผู้ประกอบการ รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำ และมีวิถีชีวิตการทำประมง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ที่รุกล้ำลำน้ำแจ้งต่อกรมเจ้าท่าภายใน 4 เดือน ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 และจากการสำรวจพบว่ามีผู้รุกล้ำลำน้ำทั่วประเทศกว่า 1 แสนราย แต่มีผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าเพียง 30,000 รายเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดบทลงโทษต่อประชาชนที่กระทำความผิดตามกฎหมายว่าจะต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก คำสั่งหัวหน้า คสช.จึงจะเป็นการขยายเวลาให้กับประชาชน สามารถแจ้งต่อกรมเจ้าท่าได้อีก 60 วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้สามารถใช้พื้นที่แนวลำน้ำได้หรือไม่ โดยคาดว่าใช้เวลาพิจารณาประมาณ 6 เดือน หรือ 180 วัน พร้อมยกเว้นบทลงโทษย้อนหลัง นายทรงยศ มะกรูดทอง ประธานสภาเกษตรกรอำเภอไชโย ผู้ประกอบการเลี้ยงประชากระชัง จังหวัดอ่างทอง กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ยกเว้นบทลงโทษย้อ
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ปลาตายในแม่น้ำป่าสัก บริเวณหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี คพ. ร่วมกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) และสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี ได้ออกตรวจสอบพื้นที่และคุณภาพน้ำ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน โดยสอบถามข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ พบว่าในวันที่เกิดเหตุมีฝนตก สภาพน้ำหยุดนิ่ง และสภาพน้ำมีความขุ่น ปลาที่ตายเป็นปลาทับทิมที่เลี้ยงในกระชังปลา มีขนาดน้ำหนักประมาณ ตัวละ 1 กิโลกรัม โดยไม่พบว่ามีปลาในธรรมชาติตาย ซึ่งสภาพน้ำโดยทั่วไปของวันนี้ยังคงมีสภาพหยุดนิ่ง แต่น้ำมีความใสมากขึ้น และยังไม่พบว่ามีการตายของปลาในกระชังและปลาในธรรมชาติ “จากข้อมูลดังกล่าว สันนิษฐานเบื้องต้นของสาเหตุปลาในกระชังตาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากในช่วงกลางวันมีแดดจัด และในช่วงเย็นมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัดพาตะกอนลงสู่แม่น้ำ เกิดความสกปรกเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าออกซิเจนต่ำลง และตะกอนเข้าไปติดที่เหงือกปลา ส่งผลให้ปลาตายได้ ทั้งนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 ได้เก็บตัวอย่างน้ำสำหรับการตรวจวิเครา