กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ใช้รังสีอินฟราเรดจากแสงซินโครตรอนวิเคราะห์ “แจงสุรนารี” พรรณไม้ที่เคยค้นพบว่าเป็นชนิดใหม่ของโลกเมื่อปี 2564 และเดินหน้าหาสารสำคัญเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าให้กับแจงสุรนารีซึ่งเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นจังหวัดนครราชสีมา นครราชสีมา – ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ ได้ร่วมกับ นายรุ่งเพชร ปัญญาวุฒิ ผู้รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายสำนักงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อพ.สธ.มทส.) และนักวิจัยของศูนย์ ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์เมล็ด แจงสุรนารี และแจงสยาม โดยใช้รังสีอินฟราเรดจากแสงซินโครตรอน เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ จัดจำแนกความแตกต่างระหว่างชนิด และวิเคราะห์สารสำคัญเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่า” รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพ
คณะผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคของ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว. ) นำทีมเยือนมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จัดอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และการประยุกต์ใช้ พร้อมหารือการสร้างความร่วมมือการวิจัยระหว่างสาขาวิชาฟิสิกส์และสถาบันฯ เลย – สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจัดอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และการประยุกต์ใช้ แก่อาจารย์ นักศึกษาฟิสิกส์ และนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์สาขาการจัดการและสาขาการผลิต ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2565 โดยผสมผสานการอบรมรูปแบบออนไลน์และสถานที่จริง พร้อมกันนี้ยังมีการหารือสร้างความร่วมมือการวิจัยระหว่างสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย กับสถาบันฯ ด้วย ดร.ธนะพงษ์ พิมพ์เสน นักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนสู่ภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรร
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก ให้กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกสร วงศ์เกษม แห่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากผลงาน “กี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติเพื่ออนุรักษ์ผ้ายกไทย” ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 ที่ผ่านมา โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานมอบรางวัลผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกสร วงศ์เกษม เจ้าของผลงาน กล่าวว่า การทอผ้า ถือเป็นศิลปะและหัตถกรรมหรืองานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผ้าที่ทอด้วยลวดลายที่แสดงถึงภูมิปัญญาและทักษะของผู้ทอได้แก่ “ผ้ายก” ซึ่งเป็นผ้าที่ทอได้ยากและมีเอกลักษณ์ ทำให้ผ้ายกนี้เปรียบเสมือนงานศิลปะ หรืองานหัตถกรรม ราคาของผ้าทอยกเหล่านี้จะมีราคาสูง เมื่อเทียบกับการทอด้วยวิธีอื่น โดยปกติแล้วผ้ายกที่เป็นผ้าฝ้ายจะมีราคาขั้นต่ำผืนละ 6,000 บาท แต่หากมีลวดลายซับซ้อนหรือทำจากเส้นไหมหรือดิ้นเงินดิ้นทองแล้วราคาจะสูงกว่า 15,000 บาทต่อผืน แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำ ทำให้ผู
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ชูผลสำเร็จงานวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากสาหร่ายพันธุ์ไทย”ระบุอุดมด้วยสารที่มีคุณประโยชน์ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งหวังให้เป็นต้นแบบในการนำสาหร่ายไปใช้ประโยชน์ให้หลากหลาย สร้างความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจประเทศจากความหลากหลายทางชีวภาพ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.กล่าวว่า วว. นับเป็นหน่วยงานแห่งเดียวในประเทศที่มีการดำเนินงานด้านสาหร่ายอย่างครบวงจร ตั้งแต่การมีคลังเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่าย เพื่อรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มขนาดเล็กจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล กว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ที่สำคัญและโดดเด่น คือ วว. มีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายกลางแจ้งระดับการเพาะเลี้ยงต่อเนื่องและครบวงจร ปริมาตรรวม 400,000 ลิตร ผ่านการดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. (TISTR Algal Excellent Center, TISTR ALEC) ในสังกัด ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ นางศิริญา เทพเจริญ กรรมการบริษัท ณุศา ซีเอสอาร์ จำกัด และ นายวิษณุ เทพเจริญ กรรมการ บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรม ในลักษณะของ “คลัสเตอร์การวิจัยและพัฒนากัญชาและกัญชง” เพื่อผลักดันให้เกิดเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย พร้อมร่วมส่งเสริมนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดทางการแพทย์ให้กับประเทศไทย สนับสนุนส่งเสริมความมั่นคงทางด้านกัญชา กัญชง ทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของประเทศโดยรวม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศด้วย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก รวมถึงการวิจัยพัฒนาและต่อยอดด้านโพรไบโอติกและสเต็มเซลล์ เพื่อให้เป็นผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีโพรไบโอติก สเต็มเซลล์ ในระดับสากล เป็นธนาคารรับฝากและจัดเก็บสเต็มเซลล์