กระท้อนตะลุง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี โดย นายแพทย์ปิยะเดช วลีพิทักษ์เดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย แพทย์หญิงนุชรินทร์ อักษรดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช นำเสนอนิทรรศการผลงานเด่น “การพัฒนากระท้อน GI ของดีเมืองลพบุรีสู่ไอศกรีมกระท้อนชาววัง” ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารและผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีได้มีนโยบาย “จังหวัดลพบุรีแผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์” ได้เห็นความสำคัญของกระท้อนตะลุงซึ่งเป็นผลไม้รสชาติดีของจังหวัดลพบุรีที่ได้รับการรับรอง GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากผลการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารในปี 2567 พบว่าปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 100% จึงได้ส่งเสริมบริษัท อินเตอร์โฟกัสฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตไอศกรีมผลไม้ในจังหวัดลพบุรี ให้ผลิตไอศกรีมจากกระท้อนและให้การอนุญาต อย.เชิงรุก
“กระท้อนตะลุง” เป็นหนึ่งในไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดลพบุรี ผลผลิตเข้าสู่ตลาดช่วงปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี กระท้อนตะลุงมีคุณภาพดี รสชาติเนื้อและปุยเมล็ดหวาน อร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ราคากระท้อนผลสดเฉลี่ย 35-120 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และขนาดผล กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในพื้นที่ได้เพิ่มมูลค่าทางการตลาดโดยการนำไปแปรรูป อาทิ กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อนหยี ที่มาของ “กระท้อนตะลุง” เมื่อ 75 ปีก่อน (ปี พ.ศ. 2489) ปู่พร้อม ยอดฉุน เป็นผู้นำต้นกระท้อน (พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์นิ่มนวล) จากจังหวัดนนทบุรี นำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในตำบลตะลุงจนเต็มสวน สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นดินน้ำไหลทรายมูล ดินทรายหวาน ทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี ถูกใจผู้บริโภค เกษตรกรชาวจังหวัดลพบุรีจึงนิยมปลูกกระท้อนครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ริมแม่น้ำลพบุรี ในอำเภอเมืองลพบุรี คือ ตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลตะลุง และตำบลงิ้วราย ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับหน่วยงานภาคี ผลักดันให้เกิดการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของกระท้อนจังหวัดลพบุ
“กระท้อน” เป็นไม้ผลเขตร้อนยืนต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทนแล้งได้ดี ทั้งนี้ กระท้อนเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี ที่สร้างชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน จุดเริ่มต้น กระท้อนอร่อยเมืองลพบุรี เกิดขึ้นเมื่อ 75 ปีก่อน (ปี 2489) ปู่พร้อม ยอดฉุน เป็นผู้นำต้นกระท้อนจากนนทบุรีมาปลูกในพื้นที่ตำบลตะลุง ได้แก่ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์นิ่มนวล ปลูกขยายพันธุ์จนเต็มสวน ริมแม่น้ำลพบุรีซึ่งเป็นดินน้ำไหลทรายมูล ดินทรายหวาน ทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี รสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค เกษตรกรจึงนิยมปลูกขยายพันธุ์กระท้อนครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลริมแม่น้ำลพบุรีในอำเภอเมืองลพบุรี คือ ตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลตะลุง และตำบลงิ้วราย ต่อมา กระท้อนตะลุงเข้าสู่กระบวนการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 ประกาศให้โลกรู้ว่ากระท้อนลพบุรีมีรสชาติดีที่สุดในโลก 3 พันธุ์ คือ อีล่า ปุยฝ้าย และทับทิม ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ระบุว่า กระท้อนตะลุงของจังหวัดลพบุรี มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของ
กระท้อน เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 419 ไร่ อยู่ใน 3 ตำบลของอำเภอเมืองลพบุรี ได้แก่ ตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และตำบลโพธิ์เก้าต้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่น้ำไหลทรายมูล เหมาะสมกับการผลิตกระท้อนคุณภาพดี โดยผลผลิตจะเริ่มออกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนสิงหาคม ราคาผลกระท้อนสดจะอยู่ที่ 35-120 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดผล ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะนี้ผลผลิตกำลังทยอยเข้าสู่ตลาด นายสุชาติ กลิ่นทองหลาง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านวิศวกรรมเกษตร จังหวัดร้อยเอ็ด รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า กระท้อนของจังหวัดลพบุรีได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ในชื่อ “กระท้อนตะลุง”จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีเกษตรกรผ่านการรับรองจำนวน 92 ราย ในพื้นที่ 315 ไร่ กระท้อนตะลุง มีจำนวน 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์อีล่า พันธุ์ทับทิม พันธุ์นิ่มนวล และพันธุ์กำมะหยี่ โดยมีพื้นที่ปลูกในตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และตำบลโพธิ์เก้าต้น ของอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เท่านั้น นายสุชาติ กลิ่นทองหลาง กล่าวเพิ่มอีกว่า สำนัก