กลุ่มข้าวหอมมะลิอินทรีย์ดินภูเขาไฟ
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์” เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ปี 2563 ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่ปลูกในฤดูนาปี บนพื้นดินที่มีแร่ธาตุจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ ทำให้ข้าวมีปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียมสูงกว่าข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ เมล็ดข้าวมีลักษณะเรียวยาว เลื่อมมัน มีท้องไข่น้อย เมื่อหุงสุกจะเหนียวนุ่มไม่แข็งกระด้าง มีเอกลักษณ์เด่นในด้านคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะแก่การบริโภคเพื่อสุขภาพและส่งเสริมสินค้าเกษตรในท้องถิ่น เพื่อให้ยกระดับสู่สากล จากการลงพื้นที่ของ สศก.5 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ พบว่า มีพื้นที่ปลูกครอบคลุม 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอละหานทราย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอห้วยราช อำเภอประโคนชัย อำเภอปะคำ และอำเภอนางรอง ซึ่งจากการติดตาม กลุ่มข