กลไกงบประมาณ
ความช่วยเหลือจากส่วนกลางและการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจไม่ทันท่วงที เมื่อเทียบกับอัตราความเร็วและจังหวะการเข้าจู่โจมอย่างฉับพลันของโรคร้าย ซึ่งทุกคนได้ผ่านประสบการณ์ร่วมกันมาแล้วจากวิกฤตสุขภาพครั้งประวัติศาสตร์ อย่างโควิด-19 ในระหว่างที่ส่วนกลางหรือภาครัฐกำลังตั้งหลัก วิกฤตการณ์ได้รุกคืบและขยายวงกว้างออกไปโดยไม่รีรอ มีคนจำนวนไม่น้อยถูกโรคร้ายบ่อนเซาะ นำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ทว่าในบางชุมชน–บางพื้นที่ ภัยสุขภาพเหล่านั้นกลับไม่สามารถย่างกรายเข้าไปได้เลย หรือถ้ามีหลุดรอดเข้าไปบ้าง มันก็ไม่อาจสำแดงโทษออกมาได้อย่างเต็มฤทธิ์เต็มเดช ส่วนหนึ่งเพราะคนในชุมชนมีศักยภาพ เป็น “พลเมืองตื่นรู้” (Active Citizen) และมีการใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค โดยอาศัย “ทุนทางสังคม” เป็นฐานสำคัญ ผศ.ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หนึ่งในทีมวิจัยโครงการ “ยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (ส