กล้วยหอมทองปทุม
กล้วยหอมทองปทุม เป็นกล้วยที่นำพันธุ์มาจากจังหวัดเพชรบุรี เริ่มเป็นที่นิยมปลูกในช่วงปี พ.ศ. 2540 โดยปลูกทดแทนส้มรังสิตที่มีผู้ปลูกน้อยลง ด้วยความสมบูรณ์ของดินที่มีความเป็นกรด ลักษณะของพื้นที่ที่มีคลองชลประทานซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปี และการปลูกพืชแบบร่องน้ำที่มีการนำเลนจากร่องคูน้ำมาทับบนแปลงปลูก มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้การเพาะปลูกพืชผักในพื้นที่นี้ มีลักษณะแตกต่างจากพื้นที่อื่น จึงทำให้กล้วยหอมทองปทุม มีลักษณะผล เปลือก และรสชาติที่แตกต่างจากกล้วยหอมพื้นที่อื่น จนมีชื่อเสียงอย่างแพร่หลาย จากความนิยมที่กล่าวจังหวัดปทุมธานี จึงจัดให้มีงานประกวดกล้วยหอมทองปทุม ในทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 กล้วยหอมทองปทุมเป็นกล้วยที่มีผลใหญ่ยาว หน้าตัดค่อนข้างกลม ปลายคอดเล็กน้อย ผิวนวล เปลือกบาง ผลดิบจะมีสีเขียวนวล แต่เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีเหลืองทองนวล เนื้อมีความเหนียวและแน่น รสชาติหอม หวาน ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี คุณพงศ์เชษฐ สร้อยทอง หรือ เฮียเอก หนองเสือ อายุ 37 ปี อาศัยอยู่ที่คลองสิบสาม ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ประกอบอาชีพเกษตรกรปลูกกล้วยหอมทอง
สิบตำรวจตรีบุญส่ง ทศพร ชื่อเล่น “ ปลัดแก้ว” วัย 53 ปี ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย (โทร 0877044453) และแบ่งเวลาทำเกษตรเป็นรายได้เสริมโดยลงทุนทำสวนกล้วยหอมทอง ปลูกแบบผสมผสานร่วมกับพืชผักและไม้ผลอื่นๆ ในพื้นที่รังสิตคลอง 13 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี มีใจรักในอาชีพเกษตร ปลัดแก้ว เล่าให้ฟังว่า เดิมทีผมเคยรับราชการตำรวจอยู่ในกรุงเทพตำรวจ 191 ต่อมาในปี 2540 ผมสอบปลัดอบต. ได้ในจังหวัดปทุมธานี เมื่อ 10กว่าปีก่อน กล้วยหอมขายได้ราคาดี ผมจึงสนใจปลูกกล้วยหอม ในบริเวณรังสิตคลอง 13 แห่งนี้ ปลัดแก้วปลูกกล้วยหอมเป็นพืชเชิงเดี่ยวบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ช่วงแรกๆ ปลูกกล้วยหอมขายได้ราคาดี แต่การปลูกกล้วยหอมมีอุปสรรคสำคัญ คือ ปัญหาภัยธรรมชาติจาก ลมพายุซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ “ ปัญหาลมพายุมา กล้วยเราเสียหาย เป็นความเสี่ยงที่เกษตรกปลูกกล้วย จะท้อในเรื่องนี้กัน ฝนตก ลมมาก็จะนั่งพะวงกันแล้ว กลัวยจะเป็นยังไงน้อ บางทีถ้าลมมาหนักๆ ผมออกจากสวนเลยเพราะว่ามันทำใจไม่ได้ จะรู้ผลตอนเช้าเมื่อลูกน้องลงดูสวนกล้วย จะรู้ว่าต้นกล
จังหวัดปทุมธานี ได้พิจารณาคัดเลือก “กล้วยหอมทองปทุม” ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง รายได้สูง มีคุณภาพและปริมาณโอกาสในการพัฒนาตลอด Value Chain และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตรของจังหวัด ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองทั้งจังหวัดที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร รวม 712 ราย พื้นที่ปลูกรวม 11,098 ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กล้วยหอมทองของจังหวัดปทุมธานีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ ผลใหญ่ยาว เปลือกบาง ผิวนวล เนื้อเหนียวแน่น ผลดิบจะมีสีเขียวนวล เมื่อสุกจะมีสีทองนวล รสชาติหวานหอม จนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างอาชีพ สร้างรายได้งามให้แก่เกษตรกร แปลงใหญ่กล้วยหอมทองตำบลนพรัตน์ แปลงใหญ่กล้วยหอมทองตำบลนพรัตน์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี โดยกลุ่มเกษตรกรแห่งนี้ มีการวางแผนการผลิตและการตลาดอย่างเป็นระบบ ผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP และได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI กล้วยหอมทองปทุม เป็นการผล
“อำเภอหนองเสือ” จังหวัดปทุมธานี เป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกกล้วยหอมเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของไทย เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมถึง 12,000 ไร่ กล้วยหอมทองที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้ ได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค เพราะปลูกในแหล่งดินเหนียวที่มีแหล่งน้ำชลประทานทั่วถึง มีการดูแลจัดการสวนอย่างเป็นระบบ ทำให้กล้วยหอมที่ปลูกได้สามารถส่งออกไปขายถึงประเทศญี่ปุ่น ปี 2558 เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองในพื้นที่ตำบลนพรัตน์ อำเภอหนองเสือ ภายใต้การนำของ “คุณ นุกุล นามปราศัย” ได้รวมตัวกันจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ เพื่อผลิตกล้วยหอมทองพันกว่าไร่ และจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่ตลาดทั้งในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ กล้วยหอมทอง จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้เพื่อสุขภาพ จึงเป็นสินค้าขายดี ตลาดมีความต้องการขึ้นอย่างต่อเนื่อง กศน.อำเภอหนองเสือ ส่งเสริม เกษตรกรปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ผลดีของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง มีโอกาสสร้างอำนาจในการต่อรองราคากับผู้ซื้อสินค้า รวมทั้งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องของการปลูก การดูแลสวนกล้วยหอมท