กล้วยหิน
ทรายแมวเป็นของใช้สำคัญสำหรับแมว ผู้คนในปัจจุบันเลี้ยงแมวเป็นสัตว์เลี้ยงภายในที่พักอาศัยมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการไม่มีบุตรหรือมีบุตรน้อยลง การเลี้ยงแมวเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านจึงช่วยให้ผู้เลี้ยงมีกิจกรรมผ่อนคลายจากการทำงาน มีเพื่อนไว้คลายเหงา แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรแออัด มักพักอาศัยอยู่ในอาคารชุด แฟลต คอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัด การเลี้ยงแมวในห้องสี่เหลี่ยมบนอาคารชั้นสูงจึงต้องแก้ไขปัญหาพื้นที่ฉี่และอึตามพื้นดินธรรมชาติของแมวมาเป็นทรายแมวในกระบะทรายแมวที่ไม่เปลืองพื้นที่ ไม่มีกลิ่นรบกวน จัดเก็บและกำจัดมูลที่เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยการทิ้งลงในชักโครกได้ ส่วนความสิ้นเปลืองทรายแมวที่ผู้เลี้ยงแมวต้องจัดหา คือปริมาณทรายแมวต่อแมว 1 ตัว ต้องใช้ประมาณ 5-10 กิโลกรัมต่อเดือน จึงทำให้ปัจจัยเรื่องคุณสมบัติที่พึงพอใจและปัจจัยด้านความประหยัดทรายเป็นสิ่งที่คนรักแมวใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อทรายแมวแต่ละประเภทมาไว้ใช้ในที่พักอาศัย ทรายแมวที่มีการขายในท้องตลาดปัจจุบันมีหลายประเภทและมีคุณสมบัติเด่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น ทรายแมวเบนโทไนท์ เป็นทรายแมวที่ทำจากหิน
สวัสดีครับ พบกับ คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย อีกครั้ง องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ไว้ว่า ปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 อีก 30 ปีข้างหน้านี้ คนจะอพยพไปอยู่ในเขตเมืองมากขึ้นจากเดิม 12% ความต้องการอาหารจะเพิ่มจากเดิม 50% ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนในภาคเกษตรจะลดลง 31.8% ในประเทศที่กำลังพัฒนา คนในภาคเกษตรจะลดลง 32.8% นั่นแสดงว่า หาก FAO คาดไว้ไม่ผิด อาหารอาจจะขาดแคลน หรือกระบวนการผลิตอาหารอาจจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะอย่างไร ตัวเลขชุดนี้ชี้ว่า คนในภาคเกษตรจะลดลง คนตามชนบทจะลดลง เห็นแล้วก็สงสัยต่อว่า ภาคการเกษตรโดยเฉพาะประเทศไทยจะเดินกันไปอย่างไร? แต่ทิ้งความสงสัยไว้ก่อน แล้วตามผมไปพบกับเกษตรกรสาวคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางสวนการคาดการณ์ของ FAO ทิ้งเมืองมาอยู่ชนบท ทำเกษตรอินทรีย์ มีชีวิตดี้ดี ที่หลายคนอิจฉา ตามไปชมกันในฉบับนี้ครับ หันหลังให้ชีวิตคนเมือง พาท่านไปพบกับ คุณพิมพลอย สุขสุวรรณ ที่บ้านเลขที่ 31/7 หมู่ที่ 2 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี คุณพิมพลอย เป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อยที่หันหลังให้กับสภาพชีวิตคนเมือง มาสานต่องานเกษตรที่คุณพ่อเริ่มต้นเ
กล้วยหิน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดยะลา โดยเป็นพืชประจำถิ่นที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indicator : GI) ในชื่อ กล้วยหินบันนังสตา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 โดยมีพื้นที่ปลูกกระจายทั่วทั้งจังหวัด จำนวน 5,760 ไร่ พบปลูกมากในพื้นที่อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง ตามลำดับ ในปี 2558 เกิดปัญหาการระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วยหิน ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเบตง อำเภอธารโต และอำเภอบันนังสตา ต่อมาปี 2561 พบระบาดในทุกอำเภอ ได้แก่ อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง อำเภอกรงปินัง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอเมืองยะลา และอำเภอกาบัง ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงเหลือเพียง 2,704 ไร่ สร้างความสูญเสียรายได้ให้กับเกษตรกร มูลค่า 183,360,000 บาท ต่อปี รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจแปรรูปกล้วยหินเป็นกล้วยหินฉาบและกล้วยหินต้ม ในปี 2559 จังหวัดยะลา มีกลุ่มคลัสเตอร์กล้วยหิน 29 กลุ่ม แปรรูปเป็นกล้วยหินฉาบปริมาณ 20,000 กิโลกรัม ต่อเดือน มูลค่า 4,000,000 บาท ต่อเดือน รวมมูลค่าประมาณ 48 ล้านบาท ต่อปี โดยได้ทำสัญญาซื้อขายกับ Top Supermarket สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่จากปัญหาการ
กล้วยหินบันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นกล้วยพื้นเมืองที่เนื้อแข็งและเมื่อสุกรสชาติจะออกเปรี้ยวเล็กน้อย ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อย โดดเด่นอยู่บนลุ่มน้ำปัตตานี 2 ฝั่งแม่น้ำในเขต ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา จากที่เคยเป็นกล้วยป่า แต่ปัจจุบัน ขึ้นแท่นเป็นโอทอปของ จ.ยะลา ที่มีกลุ่มแม่บ้านหลายกลุ่มผลิตออกจำหน่าย หลายรูปแบบ อย่างเช่น กลุ่มแม่บ้านป่าหวังนอก ต.บันนังสตา ซึ่งมี คุณรุสนี มานะแตหะ เป็นประธานกลุ่ม และคุณไซนะ กามะ รองประธานกลุ่มที่คอยช่วยบริหารงานของกลุ่ม ที่ผลักดันให้ กล้วยหินบังนังสตา ภายใต้การค้าว่า “บาตูวัน” คว้าโอทอป 4 ดาว คุณไซนะ เล่าว่า จากที่แต่ละบ้านมีกล้วยหินอยู่แล้ว เพราะเป็นกล้วยดั้งเดิมของพื้นที่รู้กันอยู่ว่าจะถนอมอาหารกันอย่างไร ตอนแรกก็ทำกินกันในครัวเรือน บางขายให้คนนอกบาง จนกระทั่งเมื่อปี 2544 คิดร่วมกลุ่มกัน ชื่อกลุ่มแม่บ้านป่าหวังนอก ตั้งเป้ากันไว้ว่าจะทำกล้วยฉาบหินออกขายรวบรวมแม่บ้านในหมู่บ้านได้ประมาณ 25 คนตอนนั้นร่วมหุ้นกันคนละ 100 บาท ช่วยกันทำผลิตกันเรื่อยๆ กลุ่มของเราจะมีการหมุนเวียนประธานกลุ่ม 4 ปีครั้ง สับ
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากการนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ในการเยี่ยมชม ศูนย์ขยายพันธ์พืชที่ 1 จ.ชลบุรี ว่า ปัจจุบันปัญหาหนึ่งของการเกษตร คือเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์ดี และ พันธุ์ดียังมีราคาแพง ในขณะที่พืชหลายชนิดเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศอยู่มาก กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดจัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการผลิตและขยายพันธุ์พืชในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายไปสู่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน Young Smart Farmer แปลงใหญ่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่มีความต้องการ ผ่านกลไกงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และยังผลิตรองรับพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาโรคพืชแฝงติดไปกับต้นพันธุ์ เช่น ท่อนมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตรได้ปรับพื้นที่ของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 10 ศูนย์ (เดิม ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ซึ่งมีภารกิจหลักในการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออยู่แล้ว และปรับปรุงให้เป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชให้ครบทุกวิธี ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์ การใช้ท่อนพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อสู่เก
ระหว่างการเดินทางไปอำเภอเบตง คุณขนิษฐา มะลิสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดยะลา พา พลเอกวิษณุ ไตรภูมิ ที่ปรึกษาสำนักงาน กศน. และ พันเอกหญิงสุนทรี ไตรภูมิ ผู้แทน กอ.รมน. ไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของ กศน. อำเภอบันนังสตา ที่ส่งเสริมอาชีพการแปรรูปกล้วยหิน ให้ชาวบ้านในชุมชน ได้มีงานมีอาชีพและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน กล้วยหิน “กล้วยหินบันนังสตา” หรือ “กล้วยซาบา (Saba Banana)” มักขึ้นอยู่ตลอดฝั่งลำน้ำปัตตานี ในเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา กล้วยหิน มีลักษณะผลป้อมสั้น เป็นเหลี่ยม เปลือกหนา เนื้อผลสีขาวครีมละเอียด กล้วยหินมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร เพราะถือกำเนิดจากสายพันธุ์กล้วยป่า ที่มีเนื้อแข็ง เมื่อผลสุกจะมีรสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย สาเหตุที่ถูกเรียกว่า กล้วยหิน เนื่องจากพื้นที่ของอำเภอบันนังสตา ร้อยละ 90 เป็นภูเขา กล้วยป่าพันธุ์นี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณเหมืองแร่ดีบุกร้าง ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหินและดินลูกรัง จึงนิยมเรียกกล้วยสายพันธุ์นี้ว่า “กล้วยหิน” แต่ชาวบ้านบางรายเล่าว่า คนหาแร่ พบกล้วยชนิดหนึ่งขึ้นปะปนกับกล้วยป่า เห็นนกกินได้ จึงเก็บมากิน รสชา
ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย : เชิงเขาภาคใต้ แหล่งที่พบ : จังหวัดยะลา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเทียม สูงประมาณ 3.5-4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว ไม่มีประดำ กาบลำต้นด้านในเขียวอ่อน ก้านใบปิด มีสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว ก้านเครือและปลีห้อยลง ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายสีเหลืองและมน มีไข ไม่ม้วนด้านบน สีม่วงแดง มีนวลมาก ด้านล่างสีแดงเข้ม การจัดเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7-10 หวี ขึ้นไป หวีหนึ่งมี 10-15 ผล ผลรูปร่างคล้ายกล้วยหักมุกและขนาดใกล้เคียงกันแต่จุกสั้นมาก เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อแน่น เหนียว ไม่มีเมล็ด มักนำมาต้มหรือทำกล้วยบวชชีจะอร่อยมาก
วันที่ 30 มีนาคม 2560 นายประถม โอแก้ว ประธานกลุ่มกล้วยหิน อ.ระโนด จ.สงขลา กล่าวว่า แปลงกล้วยหินที่ปรับปรุงสายพันธุ์และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นพันธุ์ที่ให้แป้งมากและน้ำตาลน้อย เหมาะแก่การนำไปผลิตเป็นแป้งกล้วยเพื่อใช้ทำขนม หมู่ที่ 2 ต.แดนสงวน อ.ระโนด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรับการพันธุ์กล้วยจำหน่ายให้แก่สมาชิกกลุ่ม ที่ต้องการปลูกกล้วยหินเพื่อผลิตแป้ง ผลผลิตทางมหาวิทยาลัยรังสิตจะรับซื้อทั้งหมด “กล้วยหินรุ่นแรกกำลังเจริญโตเติบและออกผลผลิต และในระหว่างรอเก็บเกี่ยวตนได้ปลูกพืชระยะสั้นแซมสวนกล้วยและเลี้ยงปลาในร่องน้ำ เพื่อสร้างรายได้เสริมด้วย” นายประถมกล่าว ด้านนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จ.สงขลาได้ลงนามข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยรังสิต ปลูกกล้วยหินเป็นพืชระยะสั้นในเชิงธุรกิจ เพื่อผลิตแป้งกล้วย ผลผลิตทั้งหมดมหาวิทยาลัยรังสิตรับซื้อ มีเกษตรกร อ.ระโนดเข้าร่วมโครงแล้วจำนวนหนึ่งและกำลังรอเก็บผลผลิตอยู่ และส่งเสริมเกษตรกรกล้วยหอมเขียว คาร์เวนดิส และการเลี้ยงปลาช่อนในร่องสวน ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง