กว่าง
ถ้าพูดถึงสัตว์เลี้ยงประเภทสวยงามนั้นทุกท่านคงจะนึกถึงสัตว์จำพวกปลาหรือนก แต่ในประเทศไทยนั้นยังมีสัตว์สวยงามจำพวกแมลงอยู่ชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาเลี้ยง สัตว์จำพวกนี้เป็นแมลงปีกแข็งที่คนไทยรู้จักกันในนามของกว่างหรือด้วงกว่างนั่นเอง ที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ผู้เขียนเข้าไปพูดคุยกับ คุณชิณภัทร บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่สุก ซึ่งผู้เขียนเองเคยรับตำแหน่งเกษตรอำเภอแม่ใจอยู่ประมาณ 6 เดือน ยอมรับว่าไม่เคยเข้าไปในพื้นที่นี้ พอตามจีพีเอสไป ก็ไปไม่ถูก เลยก็ต้องโทร.หาคุณชิณภัทร แต่กำลังติดไลฟ์สดประมูลขายกว่างอยู่ เลยให้คุณพ่อมารับเข้าไปที่บ้านซึ่งทำเป็นฟาร์มเลี้ยงกว่าง ผ่านสันอ่าง ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงฤดูทำนา ทางอ่างได้ปล่อยน้ำลงมาเพื่อให้ชาวนาได้ไถหว่านข้าวกัน ถือว่าเป็นบริเวณที่น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เป็นบริเวณต้นน้ำ เมื่อไปถึงคุณชิณภัทรก็ยังติดไลฟ์สดอยู่เลยต้องคุยกับคุณพ่อไปก่อน คุณพ่อเล่าว่า คุณชิณภัทรชอบกว่างมาตั้งแต่เด็ก สมัยก่อนคนทางภาคเหนือจะนิยมกีฬาชนกว่าง กัน คุณชิณภัทรก็จะไปหากว่างจากธรรมชาติมาขาย มีรายได้ตั้งแต่ ป. 2 จากนั้นก็
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนชุดโครงการวิจัยบูรณาการนวัตกรรมเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาต่อยอดการทำฟาร์มกวางสู่การเกษตรสมัยใหม่ แก่โครงการวิจัย เรื่องนวัตกรรมเพื่อการทำฟาร์มกวางสมัยใหม่ ภายใต้แผนบูรณาการ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ แก่ ดร. มณี อัชวรานนท์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผ่านงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561 และมอบรางวัล Platinum Award ถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงานให้แก่โครงการวิจัยดังกล่าว ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 (Thailand Research Expo 2018) ที่ผ่านมา ผลงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อการทำฟาร์มกวางสมัยใหม่ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่สนใจในธุรกิจการเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์ และเป็นการต่อยอดการทำฟาร์มกวาง สู่การเกษตรสมัยใหม่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและมั่นคง ดร. มณี อัชวรานนท์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ฟาร์มกวาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งมาเกือบ 16 ปี ด้วยการนำผลการวิจัยพื้นฐานที่เป็นองค์ความรู้ครบวงจร ทั้งการเลี้ยงกวางที่มีมาตรฐาน การผลิตอาหารชนิดต่างๆ เพื่อเลี้ยงกวาง การบริหารจัดการฟาร์มกวาง การเพิ่
วันนี้ 19 มกราคม 2560 เวลา 8.20 นาฬิกา นายยรรยงค์ เลขาวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 บ้านโป่ง นำกำลังเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช เจ้าหน้าที่องค์การสวนสัตว์ สัตวแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี ทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครองเดินทางลงพื้นที่วัดป่าหลวงตาบัวญาณสัมปันโน ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค เพื่อเข้าดำเนินการขนย้ายสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งเป็นสัตว์ของกลางที่กรมอุทยานนำมาฝากกับทางวัดไว้ ตั้งแต่ปี 2544 ประกอบด้วยละอง ละมั่ง เก้งและกวางออกจากพื้นที่ของทางวัดเพื่อนำไปดูแลต่อที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี การขนย้ายครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตั้งเป้าขนย้ายละอง ละมั่ง ที่สามารถตรวจนับจำนวนที่แน่นอนแล้ว จำนวน 36 ตัว ออกจากพื้นที่วัดให้แล้วเสร็จภายในวันนี้ ขณะที่เก้ง จำนวน 4 ตัวและกวางจำนวน 83 ตัวนั้น คาดว่าจะต้องใช้เวลาคัดแยกก่อน เนื่องจากกวางของกลางได้มีการผสมพันธุ์และปะปนอยู่กับกวางลูซ่า ซึ่งเป็นกวางที่อนุญาตให้มีการเพาะเลี้ยงได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการขนย้ายในวันแรกค่อนข้างจะติด
เอเอฟพีรายงานวันที่ 10 ม.ค. ว่า คณะนักวิทยาศาสตร์เผยแพร่ผลการศึกษาที่พบกรณีประหลาดอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าลิงตัวผู้พยายามจะมีสัมพันธ์ทางเพศกับกวางตัวเมีย ทั้งที่โดยปกติแล้วการมีเซ็กซ์ของสัตว์ข้ามสายพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์ที่แตกต่างกันมาก จะหาได้ยากมาก งานศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารไพรเมตส์ (Primates) ระบุว่าพบกรณีนี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งที่สอง เมื่อมีผู้บันทึกภาพได้นาทีลิงแสม หรือลิงหิมะตัวผู้ พยายามจะมีเซ็กซ์กับกวางซีกา (Sika deer) ตัวเมีย อย่างน้อยสองตัว ที่เกาะยากุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่กวางมีปฏิกิริยานิ่งบ้าง แต่หลายๆ ครั้งไม่ยอมและวิ่งหนีไป ส่วนเจ้าลิงปล่อยน้ำเชื้อออกมา “มันไม่กำกวมเลย มันเป็นพฤติกรรมทางเพศอย่างชัดเจน” มารี เปเล จากองค์กรวิจัย CNRS ของฝรั่งเศส กล่าว และว่าเจ้าลิงยังแสดงอาการหวงกวางตัวที่มันชอบ และไล่ลิงตัวอื่นๆ ออกไป นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า พฤติกรรมนี้อาจมาจากการที่ลิงถูกทอดทิ้ง การแข่งขันเพื่อชิงตัวเมียไม่ปรากฏ จนเป็นตัวไปเร่งเร้าฮอร์โมนในฤดูผสมพันธุ์ “เจ้าลิงหนุ่มคงไม่มีโอกาสเข้าถึงตัวเมียเลย แต่มันคึกมาก มันเลยหันไปฉวยโอกาสกับเจ้ากวาง” เปเล กล่าว และว่าจำเป็นต้อง
คุณบรรพต ปฐวี หรือ หนานติ้ง (ทางภาคเหนือ จะเรียกผู้ผ่านการบวชพระมาว่า “หนาน”) หนุ่มใหญ่แห่งบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังถึงชีวิตครั้งก่อนว่า สมัยหนุ่มๆ มีโอกาสได้เข้าไปใช้ชีวิตในเมืองหลวง เคยบวชเรียน และเดินทางไปเรียนยังประเทศอินเดีย หากไม่สึกออกมาเสียก่อน ปานนี้คงเป็นเจ้าคุณไปแล้ว เมื่อสิกขาลาเพศบรรพชิต ก็เลยได้ไปใช้ชีวิตในหลายๆ แง่มุม ทั้งบริษัทเอกชน และสวนนงนุช ที่โด่งดังในเรื่องการจัดสวน มีความรู้เหล่านี้ติดตัวมา เมื่อพบรักกับภรรยา มีลูกด้วยกัน 2 คน ก็มีเหตุบังเอิญให้เลิกรากัน เบื่อหน่ายชีวิตเมืองกรุงจึงมุ่งกลับสู่ท้องนา นำความรู้ ประสบการณ์ มาใช้ที่บ้านบัวแห่งนี้ คิดว่ากลับมาอยู่ชนบทแล้วอากาศธรรมชาติจะดี กลับกลายเป็นว่ามาพบการเผาเศษวัสดุหรือตอซังข้าว เกิดอาการแพ้ จึงเริ่มรณรงค์ ให้งดการเผา เมื่อไม่ให้เผา ก็ต้องหาวิธีการที่ทำลายเศษวัสดุเหล่านั้น ครั้นจะรณรงค์หรือชักชวนผู้ใหญ่ก็เป็นไม้แก่ที่ดัดยากเสียแล้ว จึงหันไปรณรงค์ในกลุ่มของเด็กและเยาวชนแทน สังคมในภาคเหนือมีวัฒนธรรมและประเพณีอย่างหนึ่งคือ การเล่นชนกว่าง ซึ่งตัวกว่างก่อนที่จะออกมาเป็นตั