กะทกรก
ผมเป็นไม้เถาเลื้อยเกี่ยวพันไปได้ยาวหลายเมตร มือเกาะที่คล้ายหนวดม้วนจับต้นไม้ใบไม้อื่นๆ ได้อย่างเหนียวแน่นแข็งแรง ถ้าจับต้นเถาแล้วดึงผมจะยอมหักที่เถาต้น แต่มือจับเกาะเส้นเล็กๆ ของผมไม่ขาดง่ายๆ หรอก ซ้ำพอต้นหักแล้ว ทุกคนก็หาว่าผมมีกลิ่นเหม็นเขียว ขัดแย้งกับชื่อแปลกๆ ของผมที่บางคนเรียกซะหวานจ๋อย ชวนให้คิดว่าผมเป็นผู้หญิง เช่น ชื่อ กระโปรงทอง ฝอยทอง ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตำลึงทอง นี่แหละผมจึงต้องเรียกตัวเองให้ดูขึงขังหน่อยว่า “รกช้าง” เพื่อฟังแล้วจะได้มีคนแหยงๆ บ้าง ชื่อผมที่เขาเรียกกันแปลกๆ คงเป็นเพราะเวลาผมออกผลจะมีตาข่ายเป็นเหมือนกระโปรงห่อรอบผลจนสุกเหลือง ตาข่ายหุ้มผลนี่แหละก็เป็นเสมือน “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” แต่บางคนก็เห็นว่ามันรุงรังเป็นเหมือน “รก” หรือเป็นเส้นๆ หยาบเหมือนขนตาช้าง เขาก็เรียกว่า “เครือขนตาช้าง” ซะอีก คิดๆ แล้วอยากให้เขาเรียก “กะทกรก” เหมือนเดิมดีกว่า จากสิ่งที่ดูรกๆ หยาบๆ นี่ ผมก็มีของดีอวดนะ คือเวลาออกดอกทุกคนจะยอมรับกันว่าสวยน่ารักมาก เพราะขอบวงนอกกลีบดอกจะมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาวทั้ง 10 กลีบ ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ วงในดอกมีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยสีขาวโคนม่วงเข้มอยู่ด้านใน
พืชพื้นบ้านมากมายหลายชนิด ที่ค่อยๆ สูญหายไปจากความทรงจำของคนบ้านเรา หมายถึงว่าพืชบางอย่างเรามักจะลืม ว่ามันมีประโยชน์ โดยเฉพาะที่ว่า เป็นพืชกินได้ และมีหลายอย่างที่เลือนหายไป สูญพันธุ์ไป ทำให้เราไม่ได้พบเห็น ก็เลยทำให้หายไปจากความทรงจำ เมื่อก่อนเคยรู้จัก เดี๋ยวนี้แม้แต่ว่าเคยรักก็จำไม่ได้ “กะทกรก” พืชชนิดหนึ่งที่ยังพบเห็นกันอยู่ทั่วไป ตามไร่ ตามสวน ปลายหนาว ช่วงแล้งนี่ พบเจอบ่อยมาก คงเป็นเพราะมีพืชไม่กี่ชนิดที่จะมีความโดดเด่น ชัดเจนเช่นนี้นะ ออเจ้า “กะทกรก” หากจะนับว่าเป็นวัชพืช ก็อาจจะใช่ เพราะเป็นพืชที่ขึ้นมาคอยแย่งน้ำแย่งอาหาร กับต้นพริก ต้นมะเขือ ต้นผักหวาน ต้นกระถินริมรั้ว ยิ่งในยามที่เกิดความแห้งแล้ง เวลาที่มีน้ำจำกัด กะทกรกกลับชอบชิงพื้นที่เจริญงอกงาม นั่นก็แสดงว่า เป็นคู่แข่งกับพืชปลูกทั่วไป หรือภาษาเกษตรเรียกว่า “วัชพืช” นั่นเอง แต่จะเป็นวัชพืชที่รุนแรงร้าย แบบที่ว่าต้องกำจัดหรือไม่ ยังหาบทสรุปไม่ได้ แต่ด้วยการคาดเดา คงจะอิงเอาเหตุผลต่างๆ สวมอ้างได้ว่า ไม่นะ มองในแง่บวก น่าจะเป็นพืชที่ให้ประโยชน์มากกว่าโทษ เมื่อสมัยความเจริญยังไม่กระจายไปทั่วถึง ตามชนบท คนบ้านไร่บ้านนา รู้จักก
กระพ้อเงาะระงับกระจับบก กระทกรกกระลำพอสมอไข่ ผักหวานตาลดำลำใย มะเฟืองไฟไข่เน่าสะเดานา ( วรรณคดี: ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนลุแก่โทษ ) กะทกรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora foetida L. เป็นไม้เถา เนื้ออ่อน มีมือเกาะ ใบป้อมเรียงสลับ แผ่นใบเว้าเป็น 3 หยัก มีขน ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านใน สีขาว มีกะบังรอบเป็นเส้นฝอยสีขาว โคนสีม่วงเรียง กันเป็นรัศมี ผลค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่มๆ ต้นสดมีสารพิษเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ต้มสุกแล้วใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม ใบใช้ตำพอกแผลเพื่อ ฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง คั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอกใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ผลดิบมีรสเบื่อ ผลสุกหวาน ใช้แก้ปวด บำรุงปอด รากใช้ต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน แก้ไข้ ที่มา : คอลัมน์ อาทิตย์ละต้น