กัมพูชา
สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of small scale farmers” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ย้อนกลับไปสมัยที่ผมสอนหนังสือชดใช้ทุนรัฐบาลอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มีนักศึกษาชาวกัมพูชากลุ่มหนึ่งเดินทางมาเรียนระดับปริญญาตรี โดยส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ด้านการเกษตรจากมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยในกัมพูชา หลายท่านอายุมากกว่าผมในตอนนั้น จำได้ว่าในชั่วโมงสอนผมต้องใช้ทั้งภาษาไทยใช้ทั้งภาษามือสอนกันสนุกสนาน แต่ผมก็สังเกตได้ว่านักศึกษาชาวกัมพูชาทุกคนล้วนตั้งใจเรียน ยิ่งเวลาได้ออกไปดูงานนอกสถานที่พวกเขายิ่งชอบใจ ผมจึงจัดพาไปดูงานเพื่อให้เขาได้รับความรู้จากภาคปฏิบัติของคนที่ลงมือทำจริงหลายแห่ง วันนี้นักศึกษาชาวกัมพูชาเหล่านั้นหลายคนจบถึงระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและได้กลับไปพัฒนาบ้านเกิด ผมเองก็ยังติดตามติดต่อกับลูกศิษย์หลายคน ในฉบับนี้จึงขออนุญาตพาท่านผู้อ่านไปพบกับธุรกิจของลูกศิษย์ท่านหนึ่งที่ทำเกษตรผสมผสาน ขายกิ่งพันธุ์ ขายผลผลิตมัลเบอร์รี่ที่จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา ครับ นักศึกษาในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา พบก
เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม และ อาจารย์ภาณุพันธ์นัดดา ดำนุ้ยราวัฒน์ นำนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 2 คน คือ นายอนุวัต ศรีมณี และ นางสาวทิชา เถาว์ชู เข้าร่วมกิจกรรม Workshop โครงการค่าย Vernadoc Cambodia ณ จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ระหว่าง วันที่ 30 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีนักศึกษาต่างชาติเข้าร่วมกว่า 30 คน รวมทั้งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Royal University of Fine Arts, Norton University และ National University of Battambong ซึ่งค่าย Vernadoc เป็นการเก็บบันทึกข้อมูลของอาคารเก่าที่ทรงคุณค่าและควรแก่การอนุรักษ์ ซึ่งในโครงการได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอาคารทั้งหมด 3 อาคาร ประกอบด้วย Khor Song Ancient House, Bun Roeung ancient house และ Lum Or ancient house และเข้าปฏิบัติงานเขียนหมึกในสตูดิโอ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม บรรยายเรื่องการปฏิบัติงานด้วยเทคนิคการใช้หมึกในการเขียนงานแก่ผู้เข้าร่วม โดยผลงานทั้งหมดถูกนำไปจัดแสดงยังสถานที่ในชุมชน Wat Kor และสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดพระตะบอง ตลอดจนกรุงพนมเปญ นับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากที่หาไม่ได้จากในห้องเรียนที
นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโคร เปิดเผยว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการเติบโตของแม็คโคร คือ การเปิดสาขาเพื่อขยายฐานลูกค้าในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ที่แม็คโครมีสาขาอยู่แล้วหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา เมียนมา อินเดีย และจีน ซึ่งในปี 2565 ได้วางแผนขยายสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง หลังจากมีผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ การขยายสาขาในต่างประเทศยังเป็นโอกาสสำคัญในการนำพาสินค้าที่ผลิตจากเอสเอ็มอีไทยไปขยายตลาด สร้างชื่อสร้างการเติบโต ซึ่งสินค้าไทยได้รับความนิยมจากลูกค้าในกลุ่ม CLMV เป็นอย่างมาก “กัมพูชา ถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตที่น่าสนใจ โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กัมพูชาได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสำหรับปี 2565 เอาไว้ที่ 5.4% ซึ่งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ได้มีการเปิดประเทศและปล่อยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับอานิสงส์และทำให้ภาคเศรษฐกิจเติบโตได้ดี ที่ผ่านมาเราเปิดสาขาไปแล้ว 2 แห่ง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านค
H.E. Veng Sakhon (ซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมง ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) โดยร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกร และภาคเอกชน เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงการควบคุมป้องกันโรค รวมถึงชี้แจงให้ผู้บริโภคไม่ตื่นตระหนกเนื่องจากโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน และเน้นย้ำเรื่องการบริโภคอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ในงานนี้ รัฐมนตรีได้รับมอบสนับสนุนอุปกรณ์ด้านการควบคุมป้องกันโรค มูลค่าประมาณ 1.2 ล้านบาท จาก นายปรีดา จุลวงษ์ (ขวา) รองประธานกรรมการ บริษัท ซี.พี. กัมพูชา จำกัด ทั้งนี้ ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุกรในอาเซียนและจีน ได้เข้าร่วมบรรยายพิเศษอีกด้วย ณ ห้องประชุมลำดวน กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศกัมพูชา
เมื่อวันที่ 17 มกราคม สำนักข่าว เอเอฟพี รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศนำมาตรการเก็บภาษีนำเข้าข้าวเจ้าจากประเทศกัมพูชาและเมียนมากลับมาใช้ใหม่ เริ่มมีผลเป็นทางการ ในวันที่ 18 มกราคมนี้ เป็นต้นไป หลังจากเห็นว่าการนำเข้าข้าวเจ้าที่มีราคาถูกดังกล่าวเข้ามาในตลาด อียู เพิ่มมากขึ้น ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับผู้ผลิตในยุโรปเอง โดย อีซี เชื่อว่ามาตรการนี้จะสามารถช่วยลดปริมาณนำเข้าข้าวเจ้าราคาถูกเข้ามาในตลาด อียู ลงได้อย่างมากภายใน 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ อียู ได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าข้าวเจ้าจากกัมพูชาและเมียนมาเป็นขั้นบันได ซึ่งในปีแรกจะเก็บ 175 ยูโร (ราว 6,300 บาท) ต่อข้าวเจ้า 1 ตัน ปีที่ 2 เก็บลดลงที่ 150 ยูโร ต่อตัน และ ปีที่ 3 เหลือ 125 ยูโร ต่อตัน การบังคับใช้มาตรการนี้มีขึ้นหลังจาก อีซี สอบสวนพบว่า ข้าวเจ้าที่นำเข้ามาจากกัมพูชาและเมียนมาในตลาด อียู มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเป็น 89 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 5 ฤดูกาลที่ผ่านมา และยังพบว่า ข้าวเจ้านำเข้าดังกล่าวยังมีราคาถูกกว่ามากในตลาด อียู ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตในยุโรปมีส่วนแบ่งในตลาด อียู ลดลงไปมากจาก 61 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 29 เปอ
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ได้ร่วมเดินทางไปกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และสมาคมโรงแรมและรีสอร์ตจังหวัดตราด สำรวจเส้นทางเชื่อมโยงท่องเที่ยวทางน้ำเชื่อมพื้นที่ชายฝั่งทะเล 3 ประเทศ ไทย กัมพูชา เวียดนาม หลังจากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาเชื่อมโยงทางรถยนต์ตามเส้นทางถนน R10 (Southern Coastal Corridor Road) ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวทางด้านจังหวัดตราดเพิ่มขึ้น ซึ่งเส้นทางทางน้ำจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ สำรวจเส้นทาง ทางเรือ 3 ประเทศ คลองใหญ่ (ตราด)-เกาะรง (สีหนุวิลล์)-ฟูก๊วก (เกียนยาง) ด้วยเป็นทริปสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงทางเรือ ต่างจากการทัวร์โดยทั่วไป จะเน้นจุดที่แวะพักระหว่างทาง เริ่มต้นจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด-เกาะกง กัมพูชา เพราะเป็นด่านสากลที่มีตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เข้า-ออก สะดวก โดยใช้พาสปอร์ต ส่วนท่าเทียบเรือที่จะใช้เป็นท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ขนาด 500 ตันกรอส ที่อำเภอคลองใหญ่ อยู่ห่างจากชายแดน 17 กิโลเมตร ที่สร้างเสร็จแล้ว ยังไม่เปิดให้ใช้ การสำรวจจึงใช้เส้นทางรถยนต์เดินทางไป
ตราด – นายประธาน สุรกิจบวร รอง ผวจ.ตราด พร้อมคณะข้าราชการฝ่ายไทย ประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ โอชนานนท์ นายอำเภอคลองใหญ่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมร่วมกับ นางมิถุนา ภูทอง ผวจ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา นายไพฑูรย์ พราหมณ์เกสร รองผวจ.เกาะกง นายอำเภอเกาะกง และข้าราชการ จังหวัดเกาะกง ที่ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพื่อปรึกษาหารือปัญหาชายแดนและการผ่านแดนด้านไทย-กัมพูชา นายประธาน เผยว่า การประชุมดังกล่าว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการเดินทางเข้าออกด้านชายแดนไทย-กัมพูชา หลังเจ้าหน้าที่จับกุมชาวกัมพูชาลักลอบขนอาวุธสงครามมายังฝั่งไทย ส่งผลกระทบให้ทางการไทยได้เพิ่มการเข้มงวดในการเข้าออกของชาวกัมพูชามากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการเข้มงวดเพิ่มขึ้น ไม่อาจกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม การประชุมครั้งนี้ ต้องการจะหารือร่วมกับฝ่ายกัมพูชาถึงมาตรการที่จะร่วมมือกันในการเข้า-ออก ชายแดนด้าน จังหวัดตราด และจังหวัดเกาะกง ด้าน นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาต้องขอบคุณฝ่ายเจ้าหน้าที่ของฝั่งไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออก ของชาวกัมพูชา ที่เดินทางเข้ามายังฝั่งไทยด้วยดี
“เมืองไพลิน” ในอดีตเคยเป็นค่ายอพยพของเขมรแดง เรียกว่า “ฐานภูลำเจียก” และเคยเป็นเหมืองพลอยสีน้ำเงิน (บลู แซฟไฟร์) หรือ “พลอยไพลิน” ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก แต่ทุกวันนี้เมืองไพลินไม่เหลือพลอยให้ขุดอีกแล้ว เมืองไพลินได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางหุบภูเขาสูง มีแหล่งน้ำอุดมสมบรูณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่ดี เอื้อต่อการเติบโตของไม้ผล ทำให้เมืองไพลินกลายเป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของประเทศกัมพูชา หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ลำไยสดจะถูกส่งออกผ่านชายแดน ที่ด่านช่องพรม บ้านโอร์สะกรอม เพื่อนำมาขายล้งจีนที่ฝั่งไทย ผ่านทางด่านถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระยะทางขนส่งสินค้า ประมาณ 17 กิโลเมตร หากใครมีโอกาสผ่านไปแถวด่านถาวรบ้านผักกาด คงจะเคยสังเกตเห็นรถบรรทุกจากฝั่งเขมรที่บรรจุสินค้าลำไยสด รวมทั้ง มันสำปะหลัง และข้าวโพด มาส่งขายพ่อค้าในฝั่งไทยแทบทุกวัน ลุงแยม หรือ “ซา จำเจริญ” เกษตรกรชาวกัมพูชา เจ้าของสวนลำไยสองพี่น้อง ในพื้นที่ฝั่งไทยที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และเป็นผู้ปลูกลำไยมากที่สุดในเมืองไพลิน เนื้อที่ปลูกลำไยมากกว่า 125 ไร่ ปัจจุบัน สวนลำไยในเมืองไพลินแห่งนี้