กาญจนบุรี
“กระชาย” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน มีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้หลายอย่าง ขณะเดียวกัน ยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจึงนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังนำกระชายมาจับคู่กับพืชชนิดอื่นทำเป็นเครื่องดื่มจำหน่ายได้รับความนิยมมาก คุณประยุทธ จำนงกุล บ้านเลขที่ 121/1 หมู่ที่ 6 บ้านหนองเตียน ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ปลูกกระชายและพืชอื่นแบบผสมในแปลงเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ผักชี ข้าวโพด อยู่ในพื้นที่ 3 ไร่ แบบปลอดสารโดยใช้น้ำหมักและสารไล่แมลงที่ทำจากสมุนไพร ทั้งยังเป็นแปลงสาธิตมีการตรวจสอบดินอยู่เป็นประจำ ทำให้ดินมีธาตุอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ ลักษณะดินในพื้นที่ปลูกมีสีแดง เป็นชุดดินบ่อพลอย เหมาะกับการปลูกพืชไร่และพืชสวน ก่อนเริ่มลงมือปลูกต้องเตรียมแปลงด้วยการไถพรวนทิ้งไว้ 1 เดือน แปลงปลูกคุณประยุทธได้ตรวจคุณภาพดินก่อนปรับปรุงดินเพื่อให้รู้ว่าควรต้องเติมธาตุอาหารตัวใดลงไปจะได้มีความเหมาะสม ทุกครั้งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยจะปลูกปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยสดทิ้งไว้ 50 วันแล้วจึงไถกลบ โดยหลังจากไถกล
“พี่ธัญญา” เจ้าของสวนอินทผลัมแห่งกาญจนบุรี✨ และยังเป็นคนที่ชอบรับประทานอินทผลัม แต่ด้วยพืชชนิดนี้ในเมืองไทยยังค่อนข้างหาซื้อยาก บวกกับราคาขายต่อกิโลกรัมก็ค่อนข้างแพง จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายให้อยากจะปลูกเอง จนเป็น “อาณาจักรบ้านสวนยาย” มาจนถึงทุกวันนี้ เนื้อหวาน กรอบ เม็ดเล็ก ต้องบ้านสวนยายแห่งนี้ อยากรู้เคล็ดลับ ต้องดูคลิปให้จบน้าา บอกหมดเปลือก #อินทผลัม #บ้านสวนยาย #กาญจนบุรี #เทคโนโลยีชาวบ้าน #อินทผลัมสด
ชุมชนตำบลหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ. กาญจนบุรี ครั้งนึงคนในชุมชนเคยถูกครอบงำจากความเชื่อและค่านิยมที่ผิดๆ จนทำให้เกษตรกรในชุมชนดังกล่าวประสบความล้มเหลวในการทำเกษตรกรรม แต่การลุกขึ้นสู้และริเริ่มแนวคิดของคนในชุมชนกลุ่มเบล็กๆที่อยากจะทำให้ผู้คนในชุมชนให้หลุดพ้นจากวังวนแห่งหนี้สินและความทุกข์ โดยได้น้อมนำปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้เป็นแนวทางและทิศทางในการดำเนินชีวิตเพื่อการหลุดพ้นหนี้สินต่างๆ ในชุมชน
เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ แนวคิดการนำทรัพยากรที่ถูกใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น จากการขยายตัวของประชากรโลกและปัญหาการจัดการขยะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งดำเนินงานภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สร้างมูลค่าเพิ่ม value added และ value creation เป็นฟันเฟืองสำคัญในการวิจัยพัฒนา ต่อยอด คัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างรายได้แก่ชุมชน ผู้ประกอบการและประเทศ ผ่านการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต สู่การนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยทั่วไปการนำวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรมาทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจนั้น มี 4 รูปแบบ ดังนี้ 1.) อาหารสัตว์ เช่น การใช้ฟางข้าวและเปลือกสับปะรดเป็นอาหารปศุสัตว์ 2.) เชื้อเพลิง เช่น การใช้แกลบ ชานอ้อยและเศษวัสดุต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงในโรงสี โรงงานน้ำตาล และโรงงานอุตสาหกรรมเ
สวัสดีครับ คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้เต็มใจพาท่านไปพบกับชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้นำชุมชนและลูกบ้านก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน ในงานสายพัฒนา ที่ทำได้ดีจนถูกยกให้เป็นตัวอย่างในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน ตามผมไปดูกันครับ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ พาท่านมาพบกับ คุณพิเชษฐ์ เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหนองสามพราน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เริ่มต้นเล่าว่า “ผมเองไม่ใช่คนกาญจนบุรี แต่มาอยู่ที่นี่นานแล้ว ตั้งแต่ผมเรียนจบจากคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็มาอยู่ที่กาญจนบุรีเรื่อยมา เมื่อก่อนที่นี่ร้อน แห้งแล้งมาก ผมก็ทำมาหากินอยู่ที่นี่ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนจากผู้หลักผู้ใหญ่ จนถึงวันนี้ที่ต้องรับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำชุมชนที่ต้องช่วยพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของลูกบ้านอีกหลายชีวิต” ผลจากการพัฒนาหมู่บ้านของผู้นำชุมชนรุ่นเก่ารวมทั้งผลงานของผู้ใหญ่พิเชษฐ์ ได้ทยอยออกดอกผลให้คนในชุมชนชื่นใจแล้ววันนี้ พัฒนาแหล่งน้ำ หัวใจสำคัญสำหรับการเ