กายภาพบำบัด
นี่คือนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการชาวไทย ภายใต้สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย เพื่อดูแลผู้สูงวัยในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” เรากำลังพูดถึงนวัตกรรมที่ชื่อว่า “Arm Booster” หรือ อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลงานจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ในระยะเวลาอันใกล้นี้ คืออีกไม่เกิน 10 ปี โครงสร้างประชากรในประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้ง กล่าวคือสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นไปแตะ 28% ของประชากรทั้งหมด เรียกสถานการณ์นี้ว่า Super Aged Society หนึ่งในความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ Super Aged Society คือ การตั้งรับกับภัยสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภัยสุขภาพที่ป้องกันได้ และภัยสุขภาพอันเป็นผลพวงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แน่นอนว่า “Arm Booster” ซึ่งได้รับการสนับสน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภครตี ชัยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร และอาจารย์ประจำคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการคลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชนที่ได้ดำเนินมาสู่ปีที่ 15 ว่าได้มีพัฒนาขึ้นตามบริบทชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยได้มีการดำเนินโครงการที่เชื่อมต่องานการศึกษา งานวิจัย และนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนทิศทางที่มุ่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้สามารถดูแลตัวเอง ภายใต้การวางแผนให้เกิดการเข้าถึงบริการลดเวลา และจำนวนครั้งของการบริการทางกายภาพบำบัดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ปัจจุบันการดูแลทางกายภาพบำบัดจะไม่ได้เพียงให้ความสำคัญต่อผู้ป่วย แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อบุคคลรอบข้างด้วย โดยเป็นไปในลักษณะที่ดูแลซึ่งกันและกัน มีการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยจากศูนย์กายภาพบำบัด สู่ชุมชนอย่างเป็นพลวัต จึงทำให้โครงการคลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถเดินหน้าภารกิจเพื่อสร้างเสริม ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาวะเพื่อประชาชนได้ต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด
กภ.สุธิดา สกุลกรุณา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพ และนักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความก้าวหน้าของคณะฯ ซึ่งได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสภากายภาพบำบัดในระดับ “ดีเยี่ยม” ถึง 2 รอบการประเมิน โดยได้ระดับ “ดีมาก” ตั้งแต่เข้ารับการประเมินเพียงครั้งแรก จนปัจจุบันเป็นที่ไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียและไต้หวัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ “HeaRTS” (Health CaRe Tele-delivery Service) ซึ่งเป็น “รอยทาง” ที่ริเริ่มสร้างขึ้นโดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้การปรึกษาและแลกเปลี่ยนแนวทางการให้การบำบัดที่มีประสิทธิภาพระหว่างนักกายภาพบำบัดวิชาชีพจากทั้งในและนอกประเทศ จุดเด่นของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ที่การมี “คลินิกกายภาพบำบัด” ที่มีศักยภาพสูง สามารถรับผู้ป่วยมาเข้ารับการบำบัดได้เองในเบื้องต้น โดยไม่ต้องผ่านโรงพยาบาล ซึ่งนับเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย อีกทั้งได้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการจากการทำงานวิจัยที่ไม่ได้มีเฉพาะจากสายวิชาการ แต่ยังรวมถึงจากสายวิชาชีพที่สามารถหยิบยกโจทย์วิจัยจากการบำบัดอาการของผู้ป่วยได้โดยตรง และแบบ “tailor made”
กภ.ทวีศักดิ์ ปฐม หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ว่าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในผู้สูงวัย แต่อาจพบได้ในผู้ที่มีวัย 40 ปีขึ้นไป สังเกตได้จากลักษณะแขนขาที่ลีบเล็กและอ่อนแรงลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการขาดการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันพบจำนวนไม่น้อยที่เป็นโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ที่มีรูปร่างผอมบางทุกรายจะเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ก่อนอื่นจะต้องเข้ารับการตรวจและประเมินสุขภาพโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ในเบื้องต้นแพทย์จะใช้เครื่องมือประเมินมวลกล้ามเนื้อ Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ซึ่งตามเกณฑ์ของ Asian Working Group for Sarcopenia (AWGS) หากได้ค่าน้อยกว่า 7.0 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในเพศชาย และน้อยกว่า 5.7 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในเพศหญิง จึงจะถือว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) นอกจากนี้ ยังได้มีการส่งต่อให้นักกายภาพบำบัดประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากการทดสอบ