การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ทำเองได้ง่าย เพื่อรักษาสิทธิ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ การขึ้นทะเบียนเกษตรกร เป็นเรื่องจำเป็นที่เกษตรกรทุกคนต้องปฏิบัติ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านพืชกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้ สำหรับผู้จะขึ้นทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติ เป็นเกษตรกรผู้มีสัญชาติไทยและบรรลุนิติภาวะ ต้องเป็นผู้ปลูกพืช ทำไร่นาสวนผสม ทำนาเกลือสมุทร หรือเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ และต้องรับรองข้อมูลของตนเองตามความเป็นจริงทุกครั้งที่มาแจ้ง เกษตรกรควรขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอให้เป็นปัจจุบันทุกรอบการเพาะปลูก จะมีโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากโครงการคุ้มครองทางสังคมของทางภาครัฐ การช่วยเหลือเมื่อเกิดกรณีภัยธรรมชาติ ภาครัฐเองก็จะมีข้อมูลสำคัญ เช่น พื้นที่การเพาะปลูก เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนและวิเคราะห์การดำเนินงานของภาครัฐ การจัดการด้านการผลิตและการตลาด การส่งเสริมและสนับสนุน การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรด้วย ปลูกพืชเท่าไร ถึงขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ ข้าว 1 ไร่ พืชไร่ 1
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการเพิ่มช่องทางการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือ e-Form โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มนำร่องใช้ระบบ e-Form สำหรับเกษตรกรรายใหม่ที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นในพื้นที่มีเอกสารสิทธิประเภทโฉนด น.ส.4 เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำการพัฒนาระบบ e-Form และเปิดให้ใช้งานได้กับเกษตรกรรายใหม่ทุกรายที่ทำการเพาะปลูกหรือประกอบกิจกรรมทางการเกษตร เช่น ปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ ปลูกพืชแบบสวนผสม ทำนาเกลือสมุทร และเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ โดยไม่จำกัดเอกสารสิทธิที่ดิน ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 เป็นต้นไป นายเข้มแข็ง กล่าวเพิ่มเติมว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบออนไลน์ e-Form เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร และตอบโจทย์ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนในการปฏิบัติงาน ซึ่งการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมทั้งความช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ตามโครงการที่หน่วยงานภาครั
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดโชว์ระบบการขึ้นทะเบียนข้อมูลเกษตรกร มั่นใจฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบรับรองและตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังสามารถวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล ได้ประมาณ 100 ล้านไร่ นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึง การขึ้นทะเบียนเกษตรกรถือเป็นหน้าที่ที่เกษตรกรทุกคนควรถือปฏิบัติ โดยหลังจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับสมุดทะเบียนเกษตรกร เพื่อเป็นเอกสารใช้แสดงสถานภาพการเป็นเกษตรกร ยืนยันความเป็นเกษตรกร โดยเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงข้อมูลการทำการเกษตร หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง ตามที่ตั้งแปลงปลูกพืชของตัวเอง หากเกษตรกร และที่สำคัญเกษตรกรจะต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตามกรอบระยะเวลาการปลูกพืช โดยปกติปรับปรุงหลังจากการปลูก ไม่น้อยกว่า 15-60 วัน ตามแต่ละชนืดพืช และหากเกษตรกรไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (นับถัดจาก วันที่ 23 มิ.ย 60 ถึง วันที่ 22 มิถุนายน 2563) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เกษตรกรจำนวนนี้จะสิ้นสถ
นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการแล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาเพาะปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยบางส่วนได้หันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากวิธีการทำนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้งมากขึ้น เนื่องจากขาดแรงงานในการปักดำ อีกทั้งยังประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่จากสถานการณ์ที่มีปริมาณฝนตกน้อยหลายพื้นที่ในระยะนี้ ปัญหาที่จะตามมาจากวิธีการหว่านข้าวแห้ง คือจะทำให้การกระจายและความลึกของเมล็ดข้าวที่ถูกฝังกลบลงดินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดข้าวและอาจมีวัชพืชขึ้นแซมในนาข้าวด้วย ทำให้ผลผลิตและคุณภาพข้าวต่ำ หรือหากฝนทิ้งช่วงนานเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวที่หว่านไม่งอกเลย ซึ่งการเกิดความเสียหายในกรณีนี้จะไม่ได้รับการช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 สำหรับข้อแนะนำการปลูกข้าวในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เกษตรกรควรว