การจัดการศัตรูพืช
การผลิตพืชผักของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนมากจะผลิตได้ดีในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ทำให้มีผลผลิตมากเกินความต้องการของตลาด แต่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เกษตรกรไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้ เพราะในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูง แดดจัด ขาดแคลนน้ำ ซ้ำยังประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชหลายชนิดเข้าทำลาย ขณะที่ฤดูฝน อากาศมีความชื้นสูงมักประสบปัญหาการระบาดของโรคพืชหลายชนิด รสชาติของผักและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณนฤทัย วรสถิตย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การผลิตพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรเป็นการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เป็นที่พอใจของผู้บริโภคและให้ผลผลิตสูง เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และยังขาดความรู้ในการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัย จากผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระหว่างปี 2554-2556 จำนวน 36 ชนิด 3,025 ตัวอย่าง คุณนฤทัย บอกว่า พบสารเคมีตกค้างร้อยละ 25.7 และเก็บค่า MRL
กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าทำงานเชิงรุกให้คำแนะนำและแก้ปัญหาด้านอารักขาพืชแก่เกษตรกรผ่านการให้บริการคลินิกพืช 968 คลินิก ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเกษตรกรสามารถนำตัวอย่างหรือภาพถ่ายของพืชที่แสดงอาการผิดปกติหรือแมลงที่พบในแปลงปลูกมาขอรับบริการตรวจวินิจฉัยกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พร้อมรับคำแนะนำการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ในพื้นที่ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า การผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบันพบปัญหาการเข้าทำลายของศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีศัตรูพืชอุบัติใหม่ และศัตรูพืชที่เคยระบาดกลับมาระบาดซ้ำอีกในพื้นที่เดิม เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่พักแปลงปลูกหรือปรับปรุงบำรุงดิน และปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำๆ ส่งผลให้พืชอ่อนแอ หรือเจริญเติบโตผิดปกติ ศัตรูธรรมชาติลดลง นอกจากนี้ยังเกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ สัตว์ พืช และตัวเกษตรกรเอง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานคลินิกพืชระดับพื
ความต้องการสินค้าและผลิตภัณฑ์อินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับว่า มีความปลอดภัยสูงทั้งต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อม มีความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ หน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรต่างก็สนับสนุนให้มีการผลิตสินค้า พืชผัก และผลิตภัณฑ์อินทรีย์กันมากขึ้น คุณนฤทัย วรสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น (สวพ. 3) กล่าวว่า ในปี 2560 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นเงิน 1,817 ล้านบาท มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 570,409 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59 ปลูกข้าวอินทรีย์ ส่วนพืชไร่และพืชผสมผสานมีเพียงร้อยละ 15 และ 13 เท่านั้น คุณนฤทัย กล่าวต่อไปว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ทำเกษตรอินทรีย์ยังมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน ในปี 2557 มีการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์เพียง 41 แปลง เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 24 ของจำนวนแปลงที่เข้าตรวจ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก เนื่องจากการผลิตไม่เป็นตามข้อกำหนดของมาตรฐานของสำนักพัฒนาระบ