การดูแลฟื้นฟูสวนผลไม้
จากสถานการณ์น้ำท่วมขังเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบเพิ่มความเสียหายให้กับหน้าดิน ผิวหน้าดินจะถูกชะล้างและมีตะกอนดินขนาดเล็กหรือเลน ที่ถูกพัดพามากับน้ำทับถมอยู่บริเวณผิวดินและอุด ตามช่องว่างในดิน ทำให้ดินมีปัญหาการระบายน้ำและอากาศ ในขณะเดียวกันพื้นที่มีกระแสน้ำหลากจะพัดพาจุลินทรีย์หน้าดินออกไปด้วย และอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ลักษณะการเกิดน้ำท่วมจะมี 3 แบบ • แบบที่ 1 ท่วมแบบน้ำป่าไหลหลาก จะเกิดในบริเวณพื้นที่ริมเชิงเขา จะมีน้ำหลากท่วมอย่างรวดเร็ว 1-2 วัน และหมดไป พืชมักจะเสียหายจากแรงปะทะของกระแสน้ำ • แบบที่ 2 เป็นน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม มักจะเป็นพื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคใต้จะเกิดจากปริมาณน้ำสะสมทั้งจากน้ำฝนและน้ำป่า ความเสียหายจะเกิดจากระดับน้ำและระยะเวลาของการท่วมขัง • แบบที่ 3 เป็นน้ำขังของพื้นที่ริมฝั่งทะเล หรือชายฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะมีน้ำจากแบบที่สองมาสมทบกับระดับน้ำทะเลหนุนทั้งบริเวณทะเลอ่าวไทย ทะสาบ หรือบริเวณแม่น้ำสายต่างๆ ความเสียหายมีมากเนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน และระดับน้ำค่อนข้างสูง วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจึงรวบรวมข้อมูลมาฝากพี่น้องเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาอุทก
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ปีนี้สภาพอากาศแห้งแล้งมาก มีผลกระทบมาถึงสวนผลไม้ของผม ทำให้ต้นไม้โทรมลงไป ปริมาณน้ำที่สำรองไว้ก็เหลือน้อย หากไม่มีฝนมาช่วย การขาดน้ำจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้น ผมขอเรียนถามว่า ผมจะดูแลและฟื้นฟูสวนอย่างไร เพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในสภาวะแห้งแล้งที่กำลังเกิดอยู่ในขณะนี้ ผมขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ขอแสดงความนับถืออย่างสูง วรวิทย์ อุทัยวัฒน์วงศ์ นครพนม ตอบ คุณวรวิทย์ อุทัยวัฒน์วงศ์ ผมเคยนำข้อมูลมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบมาบ้างแล้วว่า ในทุกๆ รอบ 10 ปี จะเกิดภาวะแห้งแล้ง 4 ปี แบ่งเป็นแล้งรุนแรง 2 ปี แล้งไม่รุนแรง 2 ปี น้ำท่วม 3 ปี จะมีสภาวะฝนฟ้าเป็นปกติเพียง 3 ปี เท่านั้น ซึ่งในปีนี้ภาวะแห้งแล้งกลับมาเยือนอีกวาระหนึ่ง กรณีที่ปริมาณน้ำไม่พอเพียงสำหรับการเจริญเติบโต และการพัฒนาการของไม้ผล มีผลทำให้เกิดอาการใบเหลือง ผลหลุดร่วง หรือผลมีขนาดเล็ก รูปร่างบิดเบี้ยว และหากขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจทำให้ต้นไม้ยืนต้นตายได้ ดังนั้น ในระยะนี้ควรคลุมโคลนต้นด้วยฟางข้าว หรือวัสดุอื่นๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินให้ได้ยาวนานขึ้น ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งไม่สมบูรณ์ที