การทำปลาร้า
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบัน ท่านอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้ามากำกับดูแลกรมประมง โดยได้มอบนโยบายให้กรมประมงเร่งขับเคลื่อนการดำเนินมาตรการด้านต่าง ๆ ในเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นระยะยาวในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะในมาตรการที่ 3 คือการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น การหมักปลาร้า ซึ่งล่าสุดสำนักงบประมาณ ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นงบกลางจากรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ภายใต้แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 – 2570 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งมีเป้าหมายในการกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศให้ได้ 200,000 กิโลกรัม เป็นวงเงินทั้งสิ้น 4,900,000 บาท กรมประมงจึงได้เร่งจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้กับองค์กรชุมชนประมง
หลังจากที่ฝนตกโปรยปรายมาสักระยะหนึ่ง ก็เข้าสู่ฤดูกาลทำปลาร้า เนื่องจากช่วงนี้มีปลามาก ในแม่น้ำเชิญ บริเวณท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่ทำช่วงนี้ก็จะไม่มีปลาทำปลาร้า นอกจากนี้ ปลาในช่วงนี้มีราคาถูกและเนื้อมัน ในวันที่เตรียมวัตถุดิบ คุณเดือน เหลาประเสริฐ อายุ 70 ปี เลขที่ 18 หมู่ที่ 2 บ้านกงกลาง ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้ไตรียมปลานานาชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียน (ทางอีสานเรียกว่า ปลาขาว) ปลากระดี่ ปลานิล ไว้ถึง 40 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 25 บาท (รวมราคา 1,000 บาท) คุณเดือน และ คุณทอง พ่อบ้านได้ลงมือขอดเกล็ดควักเครื่องในไปแล้วส่วนหนึ่ง บรรยากาศในการทำปลาร้า ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ขอดเกล็ดปลาจนแล้วเสร็จและนำไปควักเครื่องใน ล้างน้ำจนสะอาด 2-3 น้ำ สำหรับขั้นตอนการทำปลาร้าแบบอีสานพื้นบ้าน คุณเดือนได้แนะนำขั้นตอนการทำปลาร้า ได้น่าสนใจดังต่อไปนี้ วิธีทำ หนึ่ง ขอดเกล็ดควักเครื่องในออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด 2-3 น้ำ คัดใส่กะละมัง สอง ใส่เกลือหมักไว้ก่อน 1 คืน สาม พรุ่งนี้เช้าใส่ข้าวคั่วกับรำข้าวประมาณกิโลกว่า ปลา 40 กิโลกรัม ใส่ไหเก็บไว้ (คุณเดือนประยุกต์ใช้กล่องพลาสติกปิดฝาอย่างมิดชิด)