การบริโภคผักพื้นบ้าน
“อนุมูลอิสระ” (Free Radical) เป็นสาเหตุหลักของการเสื่อมสภาพของเซลล์การเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า รอบดวงตา และผิวพรรณ รวมไปถึงโรคจากระบบภูมิคุ้มกัน และโรคมะเร็ง ซึ่งผักท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ของไทยมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระสูง เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารสร้างเสริมสุขภาพ อาจารย์เพลินใจ ตังคณะกุล นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ของผักพื้นบ้านในอาหารเหนือและอาหารอีสานพบว่า ผักพื้นบ้านส่วนใหญ่มีคุณค่าสร้างเสริมสุขภาพ (functional food) เพราะมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง และโรคมะเร็ง เป็นต้น ผักพื้นบ้านภาคอีสาน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผักสะเม็ก หรือ ประทัดดอย (Agapetes lobbii C.B. Clarke) เป็นไม้พุ่ม มีรากขนาดใหญ่อุ้มน้ำ เกาะตามต้นไม้ใหญ่ที่มอสปกคลุม ผักติ้ว (Cratoxylum formosm) ไม้ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ดอกสีชมพูมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กระโดนน้ำ (Careya sphaerica Ro
คนตะวันออกเชื่อว่าการรับประทานอาหารอย่างสอดคล้องกับฤดูกาลเป็นผลดีต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพสมดุลและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สำหรับในสังคมไทย ทัศนะการแพทย์แผนไทย แผนดั้งเดิมเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุ 4 (มหาภูติรูป 4) ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุแต่ละอย่างมีลักษณะและธรรมชาติที่แตกต่างกัน และธาตุทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งกำเนิดของโรค โรคจะบังเกิดกับธาตุใดธาตุหนึ่งจะต้องมีธรรมชาติภายนอกมากระทบหรือมูลเหตุอื่นๆ เช่น อาหาร อิริยาบถ อารมณ์ ฯลฯ ทำให้เสียสมดุล จึงเกิดโรคธรรมชาติภายนอกที่สำคัญคือ ธรรมชาติของความร้อน ความเย็น ความหนาว เมื่อธรรมชาติภายนอก มากระทบธาตุ 4 ภายใน หากร่างกายต้านทานไม่ไหวจะทำให้เจ็บป่วยได้หรือธรรมชาติภายนอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือรุนแรงมากไป จนธรรมชาติภายในเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็จะเจ็บป่วยได้ เมื่อเข้าใจกฎเกณฑ์ดังนี้ เราควรปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จะทำให้หลีกเลี่ยงหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย การเลือกรับประทานอาหารหรือผักพื้นบ้าน ควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว การรับประทานผักพื้นบ้านควรพิจารณาให้สอดคล้องกับฤดูกาลใน 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ในฤด