การปลูกมะพร้าว
ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการเกษตรกรรมไทย โดยเฉพาะในแวดวงการผลิตมะพร้าวกะทิ หนึ่งในผลผลิตที่หายากและมีมูลค่าสูง เกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่แห่งนี้ คือ คุณต้น – สมภพ แซ่ลิ้ม เกษตรกรสวนมะพร้าวกะทิล้วนได้ใช้ความรู้ ความกล้า และความเชื่อมั่นในการต่อยอดสวนมะพร้าวพื้นเมืองเดิม สู่การพัฒนา “มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้” ผ่านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ร่วมมือกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คุณต้น เล่าให้ฟังว่า อดีตเดิมของสวนมะพร้าวในพื้นที่แห่งนี้ ครอบครัวได้ปลูกมะพร้าวแกงแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องเผชิญกับราคาที่ผันผวนและปัญหาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เมื่อได้กลับมาอยู่บ้านและต้องการต่อยอดสวนแห่งนี้ จึงเริ่มตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรให้สวนมะพร้าวของบรรพบุรุษก้าวข้ามข้อจำกัดดังกล่าวได้ คำตอบที่พบคือ “มะพร้าวกะทิ” พืชที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่วัยเด็กและรับรู้ว่ามีความพิเศษในตลาด เป็นของฝากที่หายากและสร้างความตื่นตาให้กับผู้พบเห็น จากการคัดเลือกพันธุ์ สู่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการคัดเลือกสายพันธุ์มะพร้าวให้กลายเป็นมะพร้าวกะทิล้วน ใ
คุณบวร ศาลาสวัสดิ์ ชาวจังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมก้นจีบ บนเนื้อที่ 10 ไร่ มีต้นมะพร้าวอยู่ประมาณ 400 ต้น เรียกง่ายๆ ว่า คร่ำหวอดในเรื่องการปลูกมะพร้าวเป็นอย่างมาก จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจึงทำให้การปลูกมะพร้าวเป็นงานที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี คุณบวร เล่าให้ฟังว่า เดิมทีปลูกพืชจำพวกหอมแดงและพริก ต่อมาเมื่อมีโอกาสได้ลงมือทำอย่างเต็มตัว จึงปรับเปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่นดูบ้างที่ไม่ใช่พืชล้มลุก จึงได้ตัดสินใจพลิกผืนดินมาทำสวนมะพร้าวตั้งแต่ปี 2548 โดยหาซื้อพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมก้นจีบจากอำเภอบ้านแพ้วเข้ามาปลูก “ช่วงนั้นมองว่าดินที่สวนน่าจะปลูกมะพร้าวน้ำหอมได้ดี จึงปรับเปลี่ยนดูบ้าง เลยหาซื้อต้นพันธุ์มา ซึ่งต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกได้ต้องเอามาจากต้นแม่ที่มีอายุอย่างต่ำ 10 ปีขึ้นไป เพราะถ้าเอาอายุน้อยเกินไป จะทำให้ต้นที่ปลูกเมื่อโตเต็มที่ ต้นจะยืดสูงเกินไปและออกลูกช้า มีผลแล้วอาจไม่ดกเท่าที่ควร ดังนั้น สายพันธุ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ” ซึ่งอายุต้นกล้าที่นำมาปลูกควรมีอายุประมาณ 5 เดือน จึงจะเหมาะสม ในขั้นตอนแรกก่อนที่จะปลูกมะพร้าวน้ำหอม คุณบวร บอกว่า เตรียมพื้นที่ปลูกให้เป็นร่องสวนเสียก่
มะพร้าวน้ำหอม เป็นสินค้าที่ตลาดมีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน จึงเป็นสินค้าที่คนจีนนิยมบริโภค และตลาดใหญ่ๆ อีกแห่งที่ตามมาคือ ตลาดในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดใหญ่ไม่แพ้กัน เพราะผู้ที่ชื่นชอบดื่มน้ำมะพร้าวเล็งเห็นถึงคุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับ จึงนิยมบริโภคมากขึ้น ณ เวลานี้มะพร้าวจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทำสวนมะพร้าวในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย เกษตรกรได้มีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตอย่างมะพร้าวที่ส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศมีคุณภาพ เกษตรกรบางรายมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้มากขึ้น จึงช่วยให้การทำสวนมะพร้าวในยุคนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น และได้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการของตลาดอีกด้วย คุณบวร ศาลาสวัสดิ์ อยู่บ้านเลขที่ 138 หมู่ที่ 3 ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมก้นจีบ บนเนื้อที่ 10 ไร่ มีต้นมะพร้าวอยู่ ประมาณ 400 ต้น เรียกง่ายๆ ว่า เป็นผู้คร่ำหวอดในเรื่องการปลูกมะพร้าวกันเลยทีเดียว จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจึงทำให้การปลูกมะพร้าวเป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี คุณบวร เล่าให้ฟั
นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคอีสานโดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ราบสูง ดินปนทราย และขาดแคลนแหล่งน้ำในการเพาะปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่จึงทำการเกษตรล เชิงเดี่ยว อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งผลผลิตจะมีความผันผวนสูงขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศประกอบกับราคาผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดในแต่ละปี ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนในบางปีและภาระหนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของเครือซีพีในการเข้าไปร่วมพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานนำร่องที่ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยร่วมกับมูลนิธิปิดทองพลังพระฯ และภาคีอื่น ๆ ในการศึกษาเชิงลึกด้านการเกษตรมูลค่าสูง ทั้งระบบชลประทาน การวิเคราะห์ดินและธาตุอาหารที่เหมาะสม การเพาะปลูก และการตลาด เพื่อที่จะให้เกษตรกรมีทางเลือกด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มากขึ้นและมีรายได้ที่มั่นคง เพียงพอกับรายจ่าย สามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน “มะพร้าวน้ำหอม” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งสามาร
น้ำมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ มีจุดเด่นคือ ความสะอาดบริสุทธิ์ มีวิตามินและเกลือแร่ การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันหรือบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมองและสุขภาพให้แข็งแรง ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นอันดับ 1 ของโลก ประเทศที่ซื้อมากที่สุดคือประเทศจีน โดยเฉพาะสายพันธุ์ทางราชบุรี เป็นที่ต้องการของต่างประเทศมาก ผศ.ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ บอกว่า แนวทางการปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ในเชิงการค้าคือ เลือกพื้นที่เหมาะสม คัดเลือกพันธุ์มะพร้าวที่ดี ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาดี ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุน จะได้มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพเพื่อบริโภค และยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้นำไปเป็นทุนหมุนเวียน
มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ส่วนใหญ่นิยมบริโภคน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เนื้อมะพร้าวแปรรูปเป็นอาหารคาวหวาน มะพร้าวทั้งต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบในชีวิตประจำวัน ก้านใบหรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาด ใบมะพร้าวนําไปจักสานเป็นหมวก ฯลฯ นอกจากนี้ สามารถนำส่วนต่างๆ ของต้นมะพร้าวไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว ผลิตน้ำกะทิเข้มข้น น้ำตาลมะพร้าว ที่นอนใยมะพร้าว การเผาถ่าน ฯลฯ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล ต่อคน ต่อปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ สำหรับใช้ในประเทศและส่งออก วิธีการปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีการปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วย การเลือกพื้นที่ปลูกดี ใช้พันธุ์ดี ปลูกถูกวิธี ดูแลรักษาต้นมะพร้าวให้สมบูรณ์
ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกมะพร้าวของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2559 มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 1.13 ล้านไร่ ผลผลิตรวมจำนวน 8.58 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 755 กิโลกรัม จากการรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2560 ผลผลิตโดยรวมลดลง เนื่องจากมีการปลูกพืชเศรษฐกิจขึ้นมาทดแทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 28.01,50.23 และ 31.00 นอกจากนั้น แหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญประสบกับแมลงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จนต้องมีการนำมะพร้าวเข้ามาจากต่างประเทศในปี 2559 ได้มีการนำเข้ามะพร้าวผลแห้ง จำนวน 171,848 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,843 ล้านบาท โดยนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมกะทิกระป๋องสำเร็จรูปเพื่อส่งออก ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าภาครัฐโดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวเหล่านั้นได้ในบางพื้นที่ ด้วยความร่วมมือของเกษตรกรบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตมะพร้าวในแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญของประเทศให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเหมือนเดิมได้ในเวลาอันร
มะพร้าวน้ำหอม เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตมาโดยตลอด ปัจจุบัน มะพร้าวน้ำหอม เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 11 แปลง เกษตรกรเข้าร่วม 401 ราย พื้นที่ 5,135 ไร่ จังหวัดที่ดำเนินการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ซึ่งแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ใช้การตลาดนำการผลิต สามารถจำหน่ายได้ทั้งไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังเพิ่มช่องทางตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งมะพร้าวน้ำหอมก็ยังมีความต้องการสูง นายพิทักษ์ พึ่งพเดช หนึ่งในเกษตรกรในระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าของ แบรนด์ “เดี่ยว บ้านแพ้ว” เปิดเผยว่า เริ่มแรกครอบครัวปลูกมะพร้าวสำหรับใช้ทำน้ำตาล ต่อมาพ่อแม่อายุมากขึ้น เก็บมะพร้าวไม่ค่อยไหว จึงหันมาทำสวนพุทรา จำนวน 14 ไร่ แต่มองว่าการทำสวนพุทรามีการใช้สารเคมี ซึ่งอาจไม่ดีต่อสุขภาพประกอบกับขณะนั้นได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร เข้ามาอบรมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ พร้อมกับแนะนำการทำเกษตรปลอดสารเคมี จึงคิดว่าผลผลิตทางการเกษตรตัวไหนที่ไม่ใช้สารเคมีและคำตอบที่ได้ก็คือ “ม