การปลูกอ้อย
“ดิน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย การจัดการดินที่ดี โดยเพิ่มอินทรียวัตถุและเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินอย่างเหมาะสม จะทำให้ดินดีมีคุณภาพ ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโต ให้ผลผลิตที่ดีคุ้มค่าการลงทุน “เถ้าแก่บอย – คุณสุภัทรชัย จังวิบูลย์ศิลป์” ชาวไร่มิตรผลด่านช้าง ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงดินว่า เป็นพื้นฐานสำคัญของการเพิ่มผลผลิตอ้อย เถ้าแก่บอยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซอยล์เมต ร่วมกับปุ๋ยเคมีซอยล์เมต เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน สามารถเพิ่มผลผลิตในแปลงอ้อยใหม่ได้มากถึง 20 ตันต่อไร่ และอ้อยตอได้ผลผลิต 17 ตันต่อไร่ เถ้าแก่บอยทำธุรกิจต่อจากพ่อแม่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่นจำนวน 500 ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี การทำไร่อ้อยใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000 บาทต่อไร่ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือผลกำไรประมาณ 8,000 บาทต่อไร่ เทคนิคลับของเถ้าแก่บอย ปลูกอ้อยใหม่ให้แตกกอดี แต่ลดต้นทุน ด้วยการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน เคล็ดลับการทำอ้อยหวานของเถ้าแก่บอย เริ่มจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซอยล์เมตฝังลงดิน ทำให้ดินฟู ประสิทธิภาพดินดีขึ้น ขั้นตอนต่อมา รองพื้นอ้อยปลูก ด้วยปุ๋ยเคมีซอยล์เมต สูตร 1
อ้อย เป็นอีกพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรไทยหลายพื้นที่นิยมปลูก ขั้นตอนการดูแลไม่มีอะไรยุ่งยากในช่วงที่รอผลผลิตเจริญเติบโต แต่จะมีปัญหาในเรื่องของการเก็บเกี่ยวบ้างในระยะหลังมานี้ เพราะขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อยส่งขายให้กับโรงงาน ทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวรวมกลุ่มทำเป็นอ้อยแปลงใหญ่ เพื่อให้สมาชิกภายในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องของแรงงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยเกิดความเข้มแข็งส่งต่อเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไปยังลูกหลาน คุณวีนัด สำราญวงศ์ เกษตรกรไร่อ้อย อยู่บ้านเลขที่ 141 หมู่ที่ 13 ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ยึดอาชีพทำไร่อ้อยเป็นงานหลักสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้ตออ้อยเดิมมาเป็น 10 กว่าปี พร้อมทั้งเน้นตัดอ้อยแบบต้นสดจำหน่าย ทำให้ใบอ้อยที่เหลือจากการตัดนำมาเป็นปุ๋ยอยู่ภายในแปลง สามารถลดต้นทุนการผลิตจำหน่ายอ้อยได้ผลกำไรงามทีเดียว คุณวีนัด เล่าให้ฟังว่า กว่าที่จะมาเป็นเกษตรกรไร่อ้อยเหมือนเช่นทุกวันนี้ ในสมัยก่อนได้ไปเป็นลูกจ้างใช้แรงงานอยู่ต่างประเทศเป็นเวลาถึง 10 ปี เมื่อมีโอกาสกลับมาอยู่ประเทศไทยก็ได้มีครอบครัว ซึ่งในขณะนั้นครอบครั
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพราะในแต่ละรอบปีอย่างที่ทราบกันในหลายจังหวัดของบ้านเรา จะมีช่วงฤดูกาลตัดอ้อยส่งเข้าโรงงานหรือที่เรียกว่าวันเปิดหีบอ้อยนั้นเอง จึงทำให้ผลผลิตอย่างอ้อยที่เกษตรกรรอการเจริญเติบโตมาตลอดทั้งปี ได้ตัดส่งเข้าโรงงานเพื่อสร้างรายได้นำมาเงินมาใช้จ่ายภายในครอบครัว และเกษตรกรบางรายสามารถสร้างเป็นเงินเก็บได้ไม่น้อยทีเดียว อ้อย พืชไร่ที่ดูแลไม่ยาก คุณทวีรักษ์ บุปผา เกษตรกรชาวจังหวัดหนองบัวลำภู มีความชำนาญในเรื่องของการทำเกษตรมาแล้วหลายอย่าง ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมายึดการปลูกอ้อยเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ เพราะอ้อยเป็นพืชที่ไม่ต้องมีการดูแลมากนัก สามารถปล่อยให้เจริญเติบโตได้เองตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เมื่อได้อายุที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล สามารถตัดขายสร้างผลกำไรเกิดรายได้ดี คุณทวีรักษ์ เล่าว่า ปลูกอ้อยมาหลายสิบปีแล้ว สาเหตุที่เลือกปลูกอ้อยเป็นอาชีพเสริม เพราะอ้อยเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว สามารถสร้างเป็นเงินเก็บปลายปีได้ โดยในช่วงแรกที่เริ่มปลูกอ้อยใหม่ๆ เริ่มต้นจากปลูกบนพื้นที่เพียง 50 ไร่ ต่อมาเมื่ออ้อยให้ผลผลิตดีเห็นความสำเร็จทันตา จึงขยายการปลูกเพิ่มขึ้
คุณสุทัศน์ ตันมงคลกาญจน เกษตรกรไร่อ้อย อยู่บ้านเลขที่ 65/2 หมู่ที่ 5 ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเกษตรกรไร่อ้อย ปลูกอ้อยมาแล้ว 50 ปี มีไร่อ้อย 100 ไร่ ซึ่งยังไม่รวมกับลูกไร่ จุดเริ่มต้นของการปลูกอ้อย คุณสุทัศน์เล่าว่า ก่อนที่ตนเองจะมาทำไร่อ้อย ได้ยึดการทำไร่ยาสูบยาเส้นมาก่อน ซึ่งมีประมาณ 50 ไร่ แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำ เพราะพื้นที่ปลูกสภาพดินไม่มีความสมบูรณ์ ไม่สามารถปลูกได้ ปลูกไปก็ได้ผลผลิตไม่สวย จึงหันมาปลูกอ้อยแทน ขอนแก่น 3 พันธุ์อ้อยให้ผลผลิตดี สำหรับพันธุ์อ้อยที่เลือกปลูก คุณสุทัศน์ ตันมงคลกาญจน บอกว่า เลือกเป็นพันธุ์อ้อยขอนแก่น 3 ตอนนี้มีอ้อยพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่ได้ทดลองปลูก เพราะฉะนั้นที่ปลูกตอนนี้ มีพันธุ์ขอนแก่น 3 เพียงอย่างเดียว สภาพดินปนทราย เหมาะสมกับการทำไร่อ้อย ดินที่เหมาะต่อการปลูกอ้อย คือ ดินปนทราย เพราะหากเป็นดินที่เหนียวเกินไปอาจทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดีนัก ดินปนทรายเมื่อปลูกแล้วอ้อยจะแตกกอได้ง่าย หากเป็นดินเหนียวเมื่อเนื้อดินแห้งไวอ้อยจะขึ้นยาก “สภาพดินตอนนี้ถือว่าดีทีเดียว แต่ต้องใส่ปุ๋ยมากหน่อย ปุ๋ยอินทรีย์บ้าง ปุ๋ยเคมีบ้าง ผสมกันไป ต้องรออากาศด้วย ฝน