การผสมพันธุ์แกะ
คุณรินทร์นภัทร กนกชัชวาล หรือ คุณกานต์ เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรจากพื้นไร่ มาแบ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงแกะ เพราะมองว่าแกะค่อนข้างที่จะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงและกินง่าย โดยที่เธอไม่ต้องเหนื่อยจากการดูแลมากนัก เมื่อเทียบกับการทำเกษตรด้านอื่นๆ จึงทำให้การเลี้ยงแกะนอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ยังสร้างความสุขให้กับเธอเมื่อได้เห็นความน่ารักของแกะที่เลี้ยงในทุกๆ วัน คุณกานต์ เล่าถึงการทำเกษตรให้ฟังว่า เน้นการปลูกพืชไร่เป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ปัญหาในเรื่องของน้ำในพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย เวลาที่ผลผลิตออกมาจึงได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย พร้อมทั้งต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การขายสินค้าทางการเกษตรแต่ละครั้งแทบจะไม่เหลือกำไร หรือบางช่วงขาดทุนเลยก็มี “พอหลังจากที่เรามองเห็นปัญหาของการทำพืชไร่ ก็เลยคุยกันกับแฟนว่าจะทำอะไรต่อดี ที่น่าจะมีรายได้ตอบโจทย์ ด้วยความที่แฟนสนใจในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์ จึงได้ทดลองซื้อแกะมาเลี้ยง สิ่งที่เห็นได้ชัดเลย แกะใช้ทุนเลี้ยงไม่เยอะ น่าจะพอทำได้ ช่วงแรกซื้อแม่พันธุ์มาประมาณ 10 ตัว เลี้ยงไปเลี้ยงมาก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้การเลี้ยงแก
แกะเป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยม เพราะตลาดผู้บริโภคในบ้านเราเริ่มให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งแกะนอกจากจะเลี้ยงดูเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ส่งผลให้เมื่อความต้องการมีมากขึ้น การเลี้ยงเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าจึงเกิดขึ้นตามไปด้วย โดยมีการเลี้ยงแกะในหลายพื้นที่ของประเทศ พร้อมกับเกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งสร้างรายได้อย่างยั่งยืน คุณสุรีพร เซ็นกลาง อยู่บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 15 ตำบลวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้เห็นถึงการสร้างรายได้จากการเลี้ยงแกะ จึงได้นำมาเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ในพื้นที่ของเธอเอง โดยจัดสรรพื้นที่ให้มีความเหมาะสมคือ แบ่งพื้นที่โรงเรือน แปลงหญ้าสำหรับเดินเล่น และที่ขาดเสียไม่ได้นั้นก็คือการปลูกหญ้าอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงสัตว์ภายในฟาร์ม ช่วยให้การเลี้ยงแกะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง เกิดผลกำไร มีเงินเก็บจากการเลี้ยงมากขึ้น คุณสุรีพร เล่าพื้นเพเบื้องหลังของชีวิตเมื่ออดีตให้ฟังว่า กว่าจะมาเป็นเกษตรกรเหมือนเช่นทุกวันนี้ ได้ทำงานเป็นพนักงานโรงแรมมาก่อน โดยในระหว่างนั้นมีความสนใจในเรื่องของการทำเกษตรอยู่