การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางอุทกวิทยาและฟลักซ์ของลุ่มน้ำจิวหลงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยการดำเนินการของศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy,RU-CORE) จากสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทั่วทุกภูมิภาคของโลกรวมถึงประเทศไทย ที่ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย โดยเฉพาะภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ในแต่ละประเทศต้องมีการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมแผนรับมือ เช่น การบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์กรสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัย และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำองค์ความร
ประเทศไทยได้จัดตั้ง “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (DBAR)”ในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง อันเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ Chinese Academy of Sciences (CAS) สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นหนึ่งในจำนวน 8 ศูนย์ทั่วโลก ที่ได้มีการจัดตั้งในประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟินแลนด์ อิตาลี ปากีสถาน โมร็อกโก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และแซมเบีย โดยศูนย์ DBAR ที่ วช. เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศนานาชาติแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับเชิญให้กล่าวบรรยาย Keynote Speech ในพิธีเปิดการประชุม “4th Digital Belt and Road Conference” ที่เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสาระสำคัญว่า การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป้าหมายของโครงการ ที่มุ่งเน้นเรื่องการพ