การเพาะพันธุ์ปลา
ปลากดเหลือง เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลักษณะลำตัวกลมยาวค่อนข้างแบนเรียว ลักษณะสีของลำตัวเปลี่ยนไปตามอายุและขนาดตัว ซึ่งปลาที่ตัวโตเต็มวัยลำตัวบริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง และบริเวณท้องมีสีขาว ส่วนฐานครีบอกท้องก้นมีสีเทาเจือชมพู ดวงตามีขนาดปานกลาง เมื่อโตเต็มที่สามารถมีขนาดยาวได้ตั้งแต่ 20-25 เซนติเมตร หรือที่เคยพบมีขนาดใหญ่สุดได้มากกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู จึงทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภค โดย คุณอุดร อรัญโชติ ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการทำตลาดปลากดเหลือง จึงเพาะพันธุ์สร้างรายได้ส่งขายลูกปลาให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คุณอุดร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนพื้นที่ทางการเกษตรทั้งหมดเน้นการทำนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยผลผลิตสมัยก่อนได้ไม่มากและต่อปีทำได้ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้มองหาช่องทางการสร้างรายได้จากทางอื่น ได้หันมาเพาะพันธุ์ปลากดเหลืองและปลาอื่นๆ ขาย โดยมองว่าใช้เวลาไม่นานต่อรอบการผลิตไม่เกิน 30 วัน ก็ได้เงินมาใช้หมุนเวียน ได้ไวกว่าการทำนา “ช่วงนั้นก็ได้เปลี่ยนจากพื้นที่นามาเพาะพันธุ์ปลากด เพราะการเพาะพันธุ์
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดที่ได้รับความนิยมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เพราะเนื้อปลามีรสชาติที่อร่อยราคาขายไม่แพงมาก และหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด จึงทำให้ยังมีคนนิยมบริโภคเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้มีการเลี้ยงปลานิลกันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นอาชีพ การที่จะได้ปลานิลให้เป็นปลาเนื้อที่มีคุณภาพนั้น สิ่งที่สำคัญขาดเสียไม่ได้คือ เรื่องของลูกพันธุ์ปลานิล ต้องมีการเพาะพันธุ์ที่ดี พร้อมทั้งมีการลดต้นทุนในเรื่องของการเลี้ยงเข้ามาช่วยอีกหนึ่งช่องทาง ก็จะส่งผลให้การเลี้ยงปลานิลสร้างผลกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อย่างยั่งยืน คุณจิรทีปต์ คงทอง อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตีนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลานิลที่มีคุณภาพ ทำให้ลูกพันธุ์ปลาที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณจิรทีปต์มากว่า 20 ปีทีเดียว โดยมีการผลิตเป็นแบบปลานิลแปลงเพศและปลานิลแบบปกติที่ลูกค้าสามารถนำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไปได้ จากผู้เลี้ยงปลาเนื้อ สู่ผู้ผลิตลูกพันธุ์ปลานิลคุณภาพ คุณจิรทีปต์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มมาดำเนินการประกอบอ
การขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ทำนายังคงสร้างปัญหาให้แก่พี่น้องเกษตรกรทางภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนาผืนนั้นอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำทางธรรมชาติ หรือไม่ได้อยู่ในเขตชลประทาน ฉะนั้น ทางออกของชาวบ้านที่ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมแบบใช้น้ำน้อย อย่าง คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมที่เคยมีพื้นที่ทำนาเป็น 100 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดแคลนน้ำ แถมยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้สิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพการเกษตรหลายชนิดที่ใช้น้ำน้อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนมาจบที่การเพาะพันธุ์ปลาขาย พ่วงด้วยการเพาะพันธุ์กบและเลี้ยงกบเนื้อ สร้างรายได้รวมแล้วปีละเป็นแสนบาท น้ำน้อย ทำนาไม่ได้ เปลี่ยนมาเพาะปลา-เลี้ยงกบ คุณวีระชัย เจ้าของ “วีระฟาร์ม” เล่าว่า เดิมมีอาชีพทำนาบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ หาเลี้ยงครอบครัว ไม่นานพบว่ามีปัญหาอุปสรรคนานัปการที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งน้ำ ต้นทุนค่าปุ๋ย ยา ค่าแรง รวมถึงราคาข้าวที่ตกต่ำ เพราะยิ่งทำนากลับเพิ่มหนี้สินมากมาย จึงตัดสินใจหยุดชั่วคราวแล้วลองหันมาทดลองเพาะพันธุ์ปลาและเลี้ยงกบ ดังนั้น จึงเริ่
ปลากาดำ ทางภาคเหนือเรียกว่า ปลาเพี้ย ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่า ปลาอีตู๋ หรือ อีก่ำ จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวปลากาดำเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้นๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูง ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ ปลากาดำพบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลทั่วประเทศ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมว่ายแทะเล็มตามหินและชอบกัดเกล็ดของปลาอื่น กินตะไคร่น้ำและซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ในด้านของการนำมาประกอบอาหารนั้นปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยจึงนิยมบริโภคภายในครัวเรือนในภาคเหนือ ทำเป็นประเภทลาบ จากความนิยมนี้เองจึงทำให้ปลากาดำในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันมากขึ้น เพื่อขายเป็นตลาดปลาสวยงามและเลี้ยงเป็นปลาเนื้อเพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน คุณจิรพงศ์ ลือวัฒนานนท์ หรือ คุณจระเข้ เจ้าของลือวัฒนาฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 216 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอ
ปลาหลด หรือ ปลาหลดจุด เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ในบ้านเราปลาหลดจะรู้จักกันดีในการนำมาประกอบอาหาร เพื่อบริโภคเป็นส่วนใหญ่ เมนูที่นิยมคือ ปลาหลดตากแห้ง หรือปลาหลดเค็ม สมัยก่อนปลาหลดค่อนข้างที่จะหาได้ง่ายตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อต้องการบริโภคสามารถที่จะไปหาซื้อได้จากตลาดนัด ต่อมาจำนวนปลาชนิดนี้เริ่มมีน้อยลง ทำให้ปลาหลดราคาที่จำหน่ายก็สูงตามไปด้วย จากปริมาณที่ลดน้อยนี้เองทำให้มีผู้ที่สนใจเพาะพันธุ์เพื่อเป็นการค้า คุณต่อศักดิ์ เล็กชัยรัตน์ หรือ คุณต่อ เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ศึกษาการเลี้ยงปลาหลดมากพอสมควร โดยก่อนหน้านี้เขาได้เห็นถึงปัญหาว่าปลาหลดในแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้มาทำการเพาะพันธุ์จนประสบผลสำเร็จ และสามารถส่งจำหน่ายเป็นทั้งตลาดลูกพันธุ์ปลาและตลาดปลาสวยงาม
คุณธีระกิจ คลื่นลูกใหม่ไฟแรงวัย 30 ปี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีครอบครัวทำสวนส้มอยู่ที่หมู่บ้านสุเม่น ตำบลแม่สิน ซึ่งคนในหมู่บ้านสุเม่นทำสวนส้มกันส่วนใหญ่ เมื่อทำไปนานๆ การทำสวนส้มไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เกิดการขาดทุน ทำให้เป็นหนี้สินมากขึ้น ด้านคุณธีระกิจหลังเรียนจบจึงสมัครงานเป็นพนักงานบริษัท แต่รายได้ที่มีไม่เพียงพอต่อรายจ่ายของครอบครัว จึงหันมามองหาอาชีพใหม่ คือการเพาะพันธุ์ปลาขาย เพราะสมัยศึกษาเล่าเรียน คุณธีระกิจหารายได้เสริมจากการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามขายในระหว่างนั้น ทำให้มีความรู้ด้านนี้พอสมควร คุณธีระกิจ เมณร์กูล (ซ้าย) คุณกริชเพชร อัฐวงศ์ (ขวา) “สมัยก่อนผมเป็นพนักงานบริษัท เมื่อทำไปนานๆ ผมรู้สึกไม่ชอบ จึงปรึกษากันในครอบครัว ว่าเราจะทำยังไงให้เราอยู่ได้ โดยต้องหารายได้หลักก่อน เพื่อให้เรามีเงินใช้จ่ายทุกวัน จึงมองธุรกิจขายปลา เพราะพื้นฐานเดิมสมัยเรียน ผมเพาะปลาสวยงามขาย จึงเริ่มธุรกิจแรก คือขายปลาสวยงามตามตลาดนัด” คุณ ธีระกิจ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของชีวิตในการทำงาน เมื่อมาขายปลาสวยงาม คุณธีระกิจ เล่าว่า รายได้ที่ได้รับสามารถอยู่ได้ แต่ไม่ถึงกับทำเงินได้เท่าที่ควร มีท้อแท้บ้างในบ
คุณวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เล่าให้ฟังว่า ที่ศูนย์แห่งนี้เริ่มมีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึกในบ่อดิน เมื่อ ปี 2541 ปลาบึกที่เลี้ยงมีความยาวต่อตัว เฉลี่ย 1.40 เมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 20 กิโลกรัม ต่อมาจึงนำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ “ปลาบึกที่เราได้มาคือ ได้มาจากภาคเหนือ ผสมพันธุ์ใกล้แม่น้ำโขง ก็แจกกันมาทั่วทั้งหมด ก็มีส่วนหนึ่งที่มาศูนย์แห่งนี้ และก็มาทำการเลี้ยง ซึ่งปลาที่ส่งมาที่นี่ ก็ได้มาจากชาวบ้านที่ได้จากการพระราชทานนำไปเลี้ยง พอตัวใหญ่เขาก็ไม่อยากเลี้ยง ก็ส่งคืนมา ทางกรมประมงก็เก็บคืนมา เราก็มาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ดู” คุณวินัย เล่าถึงความเป็นมา การนำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ คุณวินัย บอกว่า มีความสะดวกในการจัดการ เมื่อปลาบึกถึงระยะผสมพันธุ์ และที่สำคัญประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในบ่อดิน “เราก็ทำการศึกษานำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ แทนที่จะเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ๆ เราก็มาปรับหลายเรื่อง ไม่ว่าจะการให้อาหาร คุณสมบัติน้ำให้เหมาะสมเราดูหมด เพื่อให้การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เป็นธรรมชาติมากที่สุด เหมือนเขาได้อยู่ที่บ้านเขา คือแม่น้ำ มันก็จะทำ
ปัจจุบันแหล่งโปรตีนชั้นดีที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ลดจำนวนน้อยลง ทำให้มีการเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่ายกันมากขึ้น เพราะปลาถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีราคาถูก จึงทำให้การบริโภคสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ซึ่งการเลี้ยงให้ได้ปลาเนื้อที่มีคุณภาพส่งสู่ตลาดได้นั้น การมีลูกพันธุ์ปลาที่ดีถือว่ามีความสำคัญมาก จึงควรเลือกจากแหล่งซื้อขายที่เชื่อถือได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน จงเทพ อยู่บ้านเลขที่ 145/5 หมู่ที่ 15 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้มองเห็นถึงปัญหาในด้านนี้ จึงได้นำวิชาความรู้มาทำการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จึงได้มาทำการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อสร้างรายได้ “เราก็มองว่าเรามีความรู้ด้านนี้ บวกกับภรรยาก็ไม่ได้ทำงานประจำที่ไหน ก็เลยถือโอกาสมาเพาะขยายพันธุ์ปลา เพราะสมัยก่อนนั้น เพาะพันธุ์ปลาคนยังทำไม่มาก ก็เลยเริ่มทำในช่วงประมาณปี 40 เหมือนเป็นการหาอาชีพเสริมไป เพราะคนที่เลี้ยงปลาเอง เขาหาซื้อลูกปลาสำหรับเลี้ยงไม่เพียงพอ เราก็เลยมองเห็นโอกาสนั้นมาลองทำดู” อาจารย์สมาน เล่าถึงความเป็นมา ลูกปลาที่ตลาดต้องการในช่วงนั้น อาจารย์สมาน บอกว่า เป็นพวกลูก
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าปลาที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ลดจำนวนน้อยลง อันเกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ไม่เอื้ออำนวยต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำจืดตามธรรมชาติ ประกอบกับการหาปลาที่เกินกำลังผลิตของสัตว์น้ำ รวมถึงภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบเสียหายอย่างรุนแรง จากสภาพแวดล้อมดังกล่าวกลับเป็นการสร้างโอกาสของใครหลายๆ คน ได้ทำอาชีพทางด้านการประมงคือ การเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มประชากรของสัตว์น้ำให้มีเพียงพอต่อการบริโภค ซึ่งเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงปลานับวันมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้บางครั้งลูกปลาที่เพาะพันธุ์สำหรับนำมาเลี้ยงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเกิดความขาดแคลน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน จงเทพ อยู่บ้านเลขที่ 145/5 หมู่ที่ 15 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้มองเห็นถึงปัญหาในด้านนี้ จึงได้นำวิชาความรู้ มาทำการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับครอบครัว อาจารย์สมาน เล่าให้ฟังว่า เริ่มมาทำการสอ
คุณเดชา ฤทธิเดช ชาวมีนบุรี ก็เข้าใจเช่นนั้นมาตลอด ต่อเมื่อมาเริ่มลงมือเลี้ยงเอง และตั้งเป้าขยายพันธุ์ปลาหางนกยูงขาย ถึงได้รู้แจ่มแจ้งว่า การเลี้ยงปลาหางนกยูงที่ว่าง่าย ต้องเข้าใจวิธีการเลี้ยงด้วย จึงจะเรียกได้ว่าง่าย ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่รอดเหมือนกัน แม้จะมีประสบการณ์จากการเลี้ยงปลามาก่อน ก็ไม่ได้ช่วยให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในระยะเริ่มแรกดำเนินไปด้วยดี เพราะเป็นการเลี้ยงปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย ซึ่งครอบครัวของคุณเดชาทำมานานก็จริง แต่ไม่ประสบความสำเร็จกับการเลี้ยงปลากินเนื้อกลุ่มนี้ การเลี้ยงปลาหางนกยูง จึงเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับคุณเดชา แรงกระตุ้นให้เริ่มเลี้ยงปลาหางนกยูง อยู่ที่การเห็นปลาหางนกยูงวางขายที่ตลาดปลาในตลาดนัดจตุจักร นั่นหมายถึง ปลาหางนกยูงยังคงขายได้อยู่ตลอด แม้ว่าราคาขายค่อนข้างแพง “เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หางนกยูงสายพันธุ์จากต่างประเทศสวยๆ คู่ละ 1,500 บาท ถือว่าแพงมาก เพราะเป็นปลานำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ไม่มีในประเทศไทย ถึงราคาจะแพง แต่ผมก็ตัดสินใจซื้อมา เพราะคิดว่า การเลี้ยงไม่น่าจะแตกต่างไปจากการเลี้ยงปลาหางนกยูงทั่วไปที่ใส่ในกะละมัง กระป๋อง ก็เลี้ยงได้ สุ