การเพาะเลี้ยงปลา
การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว เป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นสัตว์น้ำที่นิยมนำมาประกอบอาหารและส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศ ในลักษณะของปลาแล่เนื้อสร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาสนใจเพาะเลี้ยงจำหน่ายในเชิงธุรกิจในรูปแบบของบ่อดินขนาดใหญ่ และในกระชังตามริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา การเลี้ยงปลาในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจะนิยมและให้ความสนใจ เนื่องจากปลาสามารถหาอาหารกินเองตามธรรมชาติในบ่อเลี้ยง จะมีทั้งวัชพืช ธาตุอาหารต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นอยู่ภายในบ่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยต่อการเติบโตของปลาในบ่อได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารเหมือนกับการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงแต่ละครั้งที่สูง คุณเม่งฉ่อง นิลพัฒน์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/3 หมู่ที่ 5 ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นหนึ่งตัวอย
วช. ร่วม Kick-off ศรีสมเด็จโมเดล ขับเคลื่อนวาระกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเชิงบูรณาการ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโครงการวิจัยท้าทายไทย : Fluke Free Thailand ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงาน “มหกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ที่ รร.โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีนายพจน์ เอกอนันต์ถาวร ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสมเด็จ กล่าวต้อนรับ และนายสุทธินันท์ บุญมี ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพี่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 (กขป.7) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรมและการสนับสนุนของ กขป.7 ในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และลำดับถัดมาได้มีพิธีมอบสื่อให้ความรู้พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเพื่อเผยแพร่ไปยังอำเภอต่างๆ โดย คุณภิรมย์ ตริสกุล ผู้จัดการสาขาร้อยเอ็ด และคุณส