การเลี้ยงจิ้งโกร่ง
ชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดพะเยา จะรู้ว่าในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้จะมีบรรดาจิ้งโกร่ง หรือจิ้งกุ่ง หรือจิ้งหรีดยักษ์ จะพากันออกมาผสมพันธุ์และอยู่ในรูกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านต่างพากันขุดหานำออกมาขาย สร้างรายได้วันละหลัก 100-1,000 กว่าบาท ต่อวัน โดยชาวบ้านที่ขุดหาได้นำมาจำหน่ายให้กับแม่ค้าในหมู่บ้านรับซื้อ ในราคาตัวละ 1.50-2 บาท แม่ค้าก็จะนำไปขายต่อตัวละ 2-2.50 บาท สร้างรายได้เป็นอย่างดี จิ้งโกร่ง เป็นจิ้งหรีดชนิดหนึ่งที่มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุด นิยมใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ จิ้งโกร่ง คั่วเกลือ ป่นจิ้งโกร่ง แกงหน่อไม้ใส่จิ้งโกร่ง จิ้งโกร่ง ชุบแป้งทอด เป็นต้น นอกจากนั้น ยังนิยมใช้เป็นเหยื่อจับปลาหรือเหยื่อปักเบ็ดได้เช่นกัน ชื่อท้องถิ่น ภาคกลาง และทั่วไปเรียก จิ้งโกร่ง จิ้งหรีดหัวโต จิ้งหรีดหางสั้น อีสานเรียก จิโป่ม จิดโป่ม จิ๊หล่อ เหนือเรียก จิ้งกุ่ง แหล่งที่พบและการแพร่กระจาย จิ้งโกร่ง เป็นจิ้งหรีดชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วโลก สำหรับชนิดที่พบในประเทศไทยจะเป็นสกุล Brachytrupes ซึ่งมีเพียงชนิดเดียว คือ Brachytrupes portentosus หรือที่เรียก จิโป่ม หรือ จิ้งหรีดหางสั้น แต่จิ้งหรีดในสกุลนี้
ปัจจุบันประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่ใช้บริโภคก็ต้องเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเงาตามตัว องค์การอาหารและยาของสหประชาชาติมีความกังวลเรื่องว่าอาหารที่ใช้บริโภคอาจขาดแคลนในอนาคต การผลิตโปรตีนจากสัตว์เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก อาจมีต้นทุนสูงขึ้นจนทำให้อาหารโปรตีนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนโดยทั่วถึงกัน แมลงจึงเป็นตัวเลือก ในโลกนี้มีแมลงเกือบ 1,000 สายพันธุ์ที่มนุษย์ใช้บริโภคกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาการบริโภคแมลงเพิ่งเริ่มต้นในปี 2554 และในปี 2558 ก็ได้ทำเป็นธุรกิจ ได้มีการตอบรับอย่างกว้างขวาง ในต่างประเทศแมลงที่นำมาทำเป็นอาหารนี้จะต้องเป็นฟาร์มที่มีมาตรฐานความปลอดภัย GAP เท่านั้นจึงจะนำมารับประทานได้ แมลงที่อยู่ในธรรมชาติไม่สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารได้ ประเทศไทยมีการบริโภคแมลงกันมาช้านานแล้ว ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรพบว่า ประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารร้อยกว่าชนิดที่นิยมบริโภค แมงอินูน แมงกุดจี่ แมงดานา ตัวอ่อนผึ้ง มดแดง ตัวอ่อนของต่อหัวเสือ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงกระชอน แมลงตับเต่าหรือด้วงติ่ง แมลงเม่า หนอน หนอนไหม ด้วงมะพร้าวหรือด้วงสาคู โดยที่อำเภออรัญประเทศ เป็นแหล่